ว่านชักมดลูก สมุนไพรมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนมาปกติ กระชับมดลูก บำรุงผิวพรรณ ดูสดใส อ่อนกว่าวัย

ว่านชักมดลูก สมุนไพร

ว่านชักมดลูกชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย สำหรับการปลูกว่านชักมดลูกในประเทศไทยมีการปลูกมากในจังหวัดเลย และ เพชรบูรณ์ เพื่อนำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุงสตรี ตำรับยาสมุนไพรไทย พบว่าใช้ว่านชักมดลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย และ ว่านชักมดลูกตัวผู้

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
  • ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูกด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเหง้าของว่านชักมดลูก ซึ่งสรรพคุณของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
  • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
  • ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
  • ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของว่านชักมดลูก

ถึงแม้ว่าว่านชักมดลูกจะมีประโยชน์มากมายแต่ต้องระมัดระวังถึงผลข้างเคียง ซึ่งโทษของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ในระยะแรกของการกินว่านชักมดลูก จะมีตกขาวมากกว่าปกติ ไม่ต้องตกใจสามารถกินต่อได้เลย อาการจะดีขึ้นในที่สุด
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยกินมาก่อน เมื่อกินครั้งแรกอาจจะมีอาการไข้ อาการปวดศีรษะ อาการไอ ให้ลดปริมาณการกินลงครึ่งหนึ่ง จนอาการหายดี แล้วค่อยเพิ่มปริมาณเท่าเดิม
  • ในบางรายพบอาการแพ้ โดยจะมีมีผื่นขึ้น บริเวณผิวหนัง และ ตามลำตัว ให้ลองลดปริมาณการกิน จนอาการดีขึ้น จึงกินในปริมาณปกติ หรือ หากไม่หายดีให้เลิกกิน
  • บางรายพบว่ามี อาการปวดหน้าบริเวณอก ตึงแน่นหน้าอก หรือ ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก ภายในช่องคลอด หากพบว่ามีอาการดัง ควรลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้น ค่อยรับประทานในปริมาณมากขึ้น จนถึงที่กำหนดปกติ
  • พบในบางรายว่าสตรีวัยทอง หรือ สตรีวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานว่านชักมดลูก อาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ไม่ต้องกังวล ประจำเดือนที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆหมดไปเอง ตามธรรมชาติ

รากสามสิบ สมุนไพร บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เชื่อกันว่าเมื่อกินรากสามสิบ ทำให้ผิวพรรณดี สวยงามได้ตลอดทุกวัย ช่วยให้มีบุตร และ อ่อนวัยเสมอ

รากสามสิบ สมุนไพร สรรพคุณรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ คือ พอควายเมะ เตอสีเบาะ จ๋วงเครือ สามร้อยราก ผักชีช้าง ผักหนาม เป็นต้น รากสามสิบ มีชื่อเรียกในตำรับยาบำรุงสตรี ว่า สาวร้อยผัว และในตำรับยาบำรุงบุรุษว่า ม้าสามต๋อน สรรพคุณต้านทานโรคต่างๆมากมาย ต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรียได้ดี

รากสามสิบ สมุนไพรไม้ชนิดเถา เป็นไม้เนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นได้ดีและมีหนามแหลม พบมากในประเทศไทย และประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เจริญเติยโตได้ดี ในป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือ ตามเขาหินปูนในเขตแล้ง

วิธีเตรียมน้ำรากสามสิบ นิยมใช้ส่วนราก มาทำเป็นยา ล้างรากให้สะอาด และตากรากจนแห้ง นำราก แห้งประมาณ 90-100 กรัม ใส่หม้อต้มน้ำสะอาด รอจนน้ำเปลี่ยนสี ใช้ดื่มตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชประเภทไม้เถา พบได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อนต่างๆ เช่น ไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสตรี ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน พบสาร steroidal saponins มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้ง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สรรพคุณและประโยชน์ของรากสามสิบ มีดังนี้

  • แก้ปัญหาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ บรรเทาอาการผิดปกติต่างๆจาก ภาวะหมดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการตกขาว
  • สร้างสมดุลระบบฮอร์โมนสตรี แก้อาการวัยทอง ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนมขณะให้นมบุตร ป้องกันการแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • เพิ่มขนาดหน้าอก สรพคุณช่วยช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นคาวปลาในช่องคลอด สรรพคูรช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังคลอด สรรพคุณช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกินตามเอว ต้นแขน ตันขา
  • บำรุงโลหิต
  • บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวสวยใส ช่วยชะลอความแก่ชราก่อนวัยอันควร
  • ลดกลิ่นตัวในผู้ที่กลิ่นตัวแรง ลดกลิ่นปาก
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาชูกำลัง
  • มีฤทธิ์ยากระตุ้นประสาท
  • ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต และ ลดไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  • ใช้รักษาโรคคอพอก
  • นิยมใช้รากต้มกับน้ำดื่มสะอาด ใช้เป็นเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาท้องอืดท้องเฝ้อ แก้อาการอาหารไม่ย่อย อึดอัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
  • รักษาอาการท้องเสีย โรคบิด
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ในผู้ที่ปัสสาวะไม่ออก
  • บำรุงตับและปอดให้ทำงานเป็นปกติ
  • ใช้แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย
  • บรรเทาอาการแพ้ ระคายเคืองต่างๆ
  • แก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • สรรพคุณเป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของรากสามสิบ

แนวทางการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ เป็นยาบำรุงหรือรักษาโรคนั้น ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากสามสิบคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน หากรับประทานจะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนสตรีมากเกินไป
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย