ว่านหางจระเข้ สมุนไพร พืชล้มลุก ประโยชน์และโทษ มีอะไรบ้าง

ว่านหางจระเข้ สมุนไพร นิยมใช้ประโยชน์จากวุ้นที่ใบว่านหางจระเข้ ต้นว่านหางจระเข้เป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ รักษาแผลผุพอง โทษของว่านหางจระเข้ มีอะไรบ้างว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทย สมุนไพร

ต้นว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe vera (L.) Burm.f. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ภาคเหนือ เรียก ว่านไฟไหม้ ภาคกลาง เรียก หางตะเข้ เป็นต้น ต้นว่านหางจระเข้ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอาฟริกาและชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก อายุยืน มีสายพันธ์มากมายกว่า 300 สายพันธุ์

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ ได้โดยการแตกหน่อ พืชชนิดนี้ อวบน้ำ ลักษณะลำต้นสั้น ใบหนาอวบ สีเขียว ขอบใบมีลักษณะเหมือนฟันเล็กๆ เนื้อในใบว่านหางจระเข้ เป็นเหมือนเจล ใสๆ เป็นเมือก ดอกของต้นว่านหางจระเข้ ออกเป็นช่อ ออกดอกช่วยฤดูร้อน กลีบดอกสีเหลือง

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก เนื้อในของใบว่านหางจระเข้ โดย สรรพคุณของว่านหางจระเข้ สรุปได้ดังนี้

  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว
  • ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
  • เป็นยาระบาย ช่วยรักษาโรคท้องผูก ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ
  • ช่วยรักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลสด รักษาแผลที่ริมฝีปาก รักษาแผลถลอก ช่วยสมานแผล รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ช่วยปกป้องผิวพรรณจากแสงแดด ลดอาการผิวแห้ง รักษาฝ้า รักษาโรคเรื้อน

รากและเหง้าของวานหางจระเข้ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน แก้ตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา

โทษของว่านหางจระเข้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ม มีคำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้ ดังนี้

  • วุ้นจากใบว่านหางจระเข้ ที่จะนำมาใช้รักษาแผล ต้องล้างให้สะอาดก่อน และล้างยางจากใบออกก่อน เพราะ ยางของว่านหางจระเข้ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากเกิดอาการแพ้ ให้ล้างออกทันที
  • ว่านหวางจะระเข้ สรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสรีระหว่างมีประจะเดือน ไม่ควรใช้
  • ไม่ควรรับประทานสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะ เป็นอัยตรายต่อร่างกาย อาจทำให้มีผลข้างเคียงต่างๆ เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และ ภาวะไตวายฉับพลัน
  • ไม่ควรใช้สารสะกัดจากว่านหางจระเข้ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

Last Updated on March 18, 2021