โรคหน้าเบี้ยว อัมพาตเบลล์ เส้นประสาทคู่ที่7ผิดปรกติ

โรคหน้าเบี้ยว อัมพาตเบลล์ Bell’s palsy ความผิดปรกติของเส้นประสาทคู่ที่7 ทำให้ ใบหน้าผิดรูป ปากเบี้ยว ข้างใดข้างหนึ่ง พบได้ทุกเพศทุกวัย  สาเหตุและรักษาอย่างไร  

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท

โรคหน้าเบี้ยวBell’s palsy ) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ อัมพาตชั่วขณะ สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ  ซึ่งสาเหตุของความผิดปรกติมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม ( Herpes simplex virus ) งูสวัด ( Herpes zoster ) ที่แฝงอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เกิดภาวะความผิดปรกติของการควบคุมประสาทของใบหน้า สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ปกติแล้วโรคนี้จะหายได้ 80% ขึ้นไป ใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์หรือนานที่สุด สามเดือน รักษาด้วยยาและการผ่าตัด

สาเหตุของการเกิดโรคหน้าเบี้ยว 

สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยความผิดปรกตินั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • โรคเนื้องอกในสมอง และก้อนเนื้อไปกดทับเส้นประสาทควบคุมใบหน้า
  • เส้นประสาทคู่ที่ 7 ผิดปกติ อักเสบหรือกระทบกระเทือน
  • ความผิดปกติของก้านสมอง แต่พบเป็นส่วนน้อย
  • การติดเชื้อไวรัสเริม HSV1

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย และหลังคลอดบุตร
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสูง ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับอาการเบื้องต้นที่พบส่วนมาก คือ หลับตาได้แต่ไม่สนิทควบคุมไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา ข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว ดื่มน้ำไม่ได้ มีน้ำไหลออกจากข้างปากควบคุมไม่ได้ ลิ้นรับรสได้ไม่ดีเหมือนก่อน หูอื้อข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • แขนขาอ่อนแรงโดยเป็นข้างเดียวกันกับปากที่เบี้ยว
  • เห็นภาพไม่ชัด เกิดภาพซ้อน
  • ทรงตัวไม่ได้ วินเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
  • ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุมปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
  • บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู
  • ระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
  • รับรสชาติได้น้อยลง

การรักษาโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น โดยมากผู้ป่วยจะดีขึ้น และสามารถหายได้เองภายใน 6 เดือน แต่หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณเพียงร้อยละ 65 หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึงร้อยละ 97 โดยการรักษา จะเป็นการให้ยารักษาโรค เช่น ให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวให้ปลอดจากการเกิดโรคหน้าเบี้ยว มีวิธีดังนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เช่น รับประทานอาหารรสไม่จัด ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผักและผลไม้ ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
  • สำหรับกรณีที่เกิดอาการ ถ้าหากไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ไม่ต้องตกใจ สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์เพราะจะเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ดูแลสุขลักษณะเบื้องต้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

Last Updated on February 28, 2024