โรคโลหิตจาง ตัวเหลืองซีด เหนื่อยง่าย สัญญาณเตือนโลหิตจาง

โลหิตจาง ( Anemia )  ภาวะเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ ทำให้เหนื่อยง่าย ตัวซีด อ่อนเพลีย มักเกิดกับสตรี สามารถรักษาได้อย่างไร แนวทางการป้องกันทำอย่างไร

โลหิตจาง โรคเลือด โรคต่างๆ

โรคโลหิตจางAnemia )  คือ ภาวะร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดง ในเลือดที่น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การนำเอาออกซิเจนไปยังเซลล์ และ เนื้อเยื่อต่างๆ มีประสิทธิภาพที่น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ หากเกิด-าวะโลหิตจางรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจและสมองได้

เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงของคน ประกอบไปด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งถือว่า เป็น องค์ประกอบหลัก และ มันมีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นจะผลิต เม็ดเลือดแดง ที่ไขกระดูกตามความต้องการ ใน การลำเลียงออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือด จะมีอายุเพียง 120 วันก่อนที่จะถูกกำจัดไป ก่อนที่มันจะถูกกำจัดออกไป โดย ตับ ม้าม และ ไขกระดูก จากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง

เช็กสัญญาณภาวะโลหิตจาง

ลักษณะอาการผิดปรกติที่เป็นสัญญานเตือนว่า ท่านอาจมีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวซีด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • เวียนหัว มึนงง
  • เจ็บหน้าอก มีอาการใจสั่น
  • เป็นลม หมดสติ

หากท่านมีอาการดังกล่าว ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และ หาแนวทางการรักษาต่อไป

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจากมี 3 สาเหตุ คือ ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย และ ภาวะการสูญเสีียเลือดอย่างกระทันหัน โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

  • ภาวะร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย อาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามิบบี12 กรดโฟลิค หรือ อาจเกิดจากผลกระทบจากการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคตับ ข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคไตวายเรื้อรัง หรือ ภาวะการเกิดโรคของไขข้อกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย มักเกิดจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบางโรคที่ส่งผลต่อเม็ดเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักแสดงอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ภาวะร่างกายสูญเสียเลือดอย่างกระทันหัน  มักเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การตกเลือด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหารเป็นเวลานาน แผลในกระเพาะ เป็นต้น

 อาการของโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคโลหิตจากจะแสดงอาการต่างๆ เช่น มีภาวะหายใจลำบากในขณะที่ออกแรง หายใจไม่ทัน เหนื่อยหอบง่าย ทำงานหนักไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และ มึนงง เจ็บบริเวณหน้าอกใจสั่น ตัวซีด อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ในบางรายที่อาการรุนแรง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง

  • การตรวจวิเคราะห์ชนิด และ ปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจแบบนี้นั้นมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเภทของภาวะโลหิตจาง
  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะเป็น การนับปริมาณเม็ดเลือดแดงว่า จัดอยู่เกณฑ์ที่ปกติหรือไม่
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน จะตรวจดู การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่ไขกระดูกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
  • การตรวจระดับธาตุเหล็ก ในเลือดและร่างกาย เป็น การตรวจหาธาตุเหล็ก ในร่างกาย

การรักษาโรคโลหิตจาง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง วิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน การให้ออกซิเจน โดยผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ใช้การรักษาตามอาการ คือ ให้กินยาบำรุงโลหิตรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางต้องตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันโรคโลหิตจาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาก ต้องป้องกันโดยลดความเสี่ยงจากสาเหตุของโรค แนวทางการป้องกันโลหิตจาง มีดังนี้

  • พยายามออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินกำลัง เริ่มจากการเดินเบาๆก่อน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู กวางตุ้ง เป็นต้น พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพราะ จะช่วยให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Last Updated on March 21, 2023