ทุเรียน ผลไม้ยอดนิยม ราชาแห่งผลไม้ ต้นทเรียนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง รักษาโรคผิวหนัง โทษของทุเรียน มีอะไรบ้างทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ทุเรียน พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูยน์สูตร เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ บรูไน ผลทุเรียน มีกลิ่นฉุนรสหวาน เปลือกมีหนาม  ชอบดินร่วนซุย มีแสงแดด ต้นทุเรียน ( Durian ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L.

ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับประวัติของทุเรียนในประเทศไทย มีประวัติการเขียนบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ หัวหน้าคณะราชทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น เขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน ว่าเป็น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับการปลูกทุเรียน มีการปลูกในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่านำมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย

สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี หรอ สุ่น สุนทรเวช ได้กล่าวถึงทุเรียน ว่ามีการนำพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมากรุงเทพ ปลูกด้วยการใช้การตอนกิ่ง ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ลูกผสมมากมาย สายพันธุ์ทุเรียนมีมากถึง 227 พันธุ์

สายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย มี 6 กลุ่ม สายพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มสายพันธ์กบ กลุ่มสายพันธ์ลวง กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว กลุ่มสายพันธ์กำปั่น กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย และ กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธ์กบ จำแนกสายพันธุ์ได้ 46 สายพันธุ์ เช่น ทุเรียนกบตาดำ ทุเรียนกบทองคำ ทุเรียนกบวัดเพลง ทุเรียนกบก้านยาว
  • กลุ่มสายพันธ์ลวง จำแนกสายพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ทุเรียนลวงทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนสายหยุด ทุเรียนชะนีก้านยาว เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว จำแนกสายพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนก้านยาววัดสัก ทุเรียนก้านยาวพวง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กำปั่น จำแนกสายพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกำปั่นเหลือง ทุเรียนกำปั่นแดง ทุเรียนปิ่นทอง ทุเรียนหมอนทอง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย จำแนกสายพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทุเรียนทองย้อยเดิม ทุเรียนทองย้อยฉัตร ทุเรียนทองใหม่ เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ลักษณะสายพันธุ์ไม่แน่ชัด มี 83 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกะเทยเนื้อขาว ทุเรียนกะเทยเนื้อแดง ทุเรียนกะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น

ลักษณะของต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง เป็นต้น ลักษณะของต้นทุเรียน มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นทุรียน ลักษณะตั้งตรง ความสูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย เปลือกชั้นนอกของทุเรียนเป็นสีเทา ผิวเปลือกขรุขระเป็นสะเก็ด
  • ใบทุเรียน เป็นใบเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วตามกิ่งของทุเรียน ปลายใบใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบ ใบมีสีเขียว ท้องใบเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกทุเรียน ออกดอกเป็นดอกช่อ ดอกออกี่บนกิ่ง กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม คล้ายรูประฆัง
  • ผลทุเรียน ลักษณะกลมรี เปลือกผลเป็นหนามแหลม เปลือกผลทุเรียนสดมีสีเขียว และผลสุกมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเนื้อทุเรียน สีเหลืองอ่อน เนื้อในนิ่ม รสหวาน
  • เมล็ดทุเรียน ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีผิวเรียบ อยู่ภายในผลทุเรียน

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

สำหรับการนำทุเรียน มารับประทานใช้รับประทานผลสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกทุเรียนขนาด 100 กรัม พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 147  กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม การใยอาหาร 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ บีตาแคโรทีน วิตามินบี1 0.16 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.23 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม แคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียน

การใช้ประโยชน์จากทุเรียนด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เนื้อทุเรียน รากทุเรียน ใบทุเรียน และ เปลือกทุเรียน รายละเอียด สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

  • รากทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ และ แก้ท้องร่วง
  • ใบทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยรักษาแผลหนอง
  • เปลือกทุเรียน สรรพคุณใช้รักษาตานซาง รักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง ช่วยสมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง
  • เนื้อทุเรียน สรรพคุณช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ

โทษของทุเรียน

สำหรับการกินทุเรียน ถึงแม้ว่ากลิ่นจะหอม รสจะหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน มีดังนี้

  • เนื้อทุเรียน ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีแคลอรี่สูง โดยทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงานมากถึง 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการดื่มน้ำอัดลมถึง 2 กระป๋อง
  • เนื้อทุเรียน ทีน้ำตาลในปริมาณมาก สำหรับผู้ป่วยที่ควรระวังในการกินทุเรียน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคไขมันในเส้นสูง
  • การกินทุเรียน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มผลมแอลกอฮอล์ เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายร้อนเกินไป ทำให้เสียชีวิตได้
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะ ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง

ชะคราม ช้าคราม พืชตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้างชะคราม สมุุนไพร วัชพืช สรรพคุณของชะคราม

ต้นชะคราม ( Seablite ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม คือ Suaeda maritime (L.) Dumort. ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม เช่น ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะคราม เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพความเค็มของชายทะเลได้ ถิ่นกำเนิดของชะคราม อยู่ประเทศที่มีภูมิประเทศติดชายทะเล สำหรับประเทศไทย พบได้ตามป่าโกงกาง และ ชายทะเล ในภูมิภาคต่างๆ

ใบชะคราม นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งอาหารไทยที่มีใบชะครามเป็นส่วนประกอบ มีหลายเมนูอาหาร เช่น ยำใบชะครามทะเล แกงเลียง แกงคั่ว ห่อหมก แกงส้ม เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะคราม

ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นชะคราม มีดังนี้

  • ลำต้นชะคราม ลำต้นแตกกิ่งสาขาจำนวนมาก เป็นลักษณะพุ่มขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอ่อนสีเขียว ลำต้นแก่สีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
  • รากของชะคราม มีรากแก้วที่แทงลึกลงดิน เป็นแนวตั้ง และ มีรากแขนง แทงออกตามด้ายข้างขนานกับพื้น
  • ใบชะคราม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบออกตามกิ่งต่างๆ ใบลักกษณะกลมยาว อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบชะครามอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว กลีบดอกแก่มีสีแดง
  • ผลชะคราม ลักษณะทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  เมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะมันวาว

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

การบริโภคชะคราม นิยมรับประทานใบชะครามเป็นอาหาร ซึ่งสามารถรับประทานทั้งแบบใบสด และ ใบลวก ได้ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด และ ใบชะครามลวก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามลวกมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.10% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.58% คาร์โบไฮเดรต 2.49% โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามสดมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.40% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.81% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 2.97% โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม  เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะคราม

การใช้ประโยชน์จากชะคราม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย  สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบชะคราม รากชะคราม และ ลำต้นชะคราม สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • รากชะคราม สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก รักษาแผลฝี แก้น้ำเหลืองเสีย แก้อาการผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง และ รักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
  • ใบชะคราม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลบวมหนอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้ตามัว บำรุงเส้นผมและรากผม รักษาอาการผมร่วง
  • ลำต้นชะคราม สรรพคุณบำรุงเส้นผมและรากผม รักษาผมร่วง

โทษของชะคราม

  • ใบชะคราม มีกลิ่นฉุ่น สำหรับคนที่ไม่เคยชินในการกินใบชะคราม อาจทำให้อาเจียนได้
  • กลิ่นฉุนของใบชะคราม ทำให้กลิ่นตัวและกลิ่นปาก แรง ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ชะคราม ช้าคราม วัชพืช พืชล้มลุกตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณ เช่น บำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย