ภาวะติดเชื้อที่สมองจากโปรตีนพรีออนในเนื้อวัว ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ เคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม เสียชีวิตได้โรควัวบ้า สารพรีออน โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรควัวบ้า ( bovine spongiform encephalopathy ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่สมอง โดยมีเนื้อวัวเป็นพาหะนำโรค ซึ่งการรับประทานเนื้อวัวที่มีเชื้อโรค ทำให้เกิดความผิดปรกติของสมอง จัดเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่ระบาดจากวัวสู่คนได้

โปรตีนพรีออน คือ ต้นเหตุของโรควัวบ้า เป็นสารที่อยู่ในเนื้อวัว ซึ่งสารพรีออนมีคุณสมบัติเป็นโปรตีน แบบไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่กระตุ้นเซลล์ให้สร้างสารพรีออนเพิ่มขึ้นและไปขัดขวางกระบวนการสร้างตัวของโปรตีนอื่นๆในร่างกาย เมื่อสารพรีออนอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตจะทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้สมองฝ่อ

สถานการณ์โรควัวบ้า

พบรายงานการตรวจพบโรควัวบ้าครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ปี พ.ศ. 2529 โดยพบวัวในประเทศอังกฤษมีเชื้อวัวบ้าจำนวนมาก ต่อมาเกิดการระบาดในอีกหลายประเทศแถบยุโรป ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมัน อิตาลี เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ออสเตรีย สเปน สาธารณรัฐเช็ค ฟินแลนด์ กรีซ โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลเวเนีย และลิชเทนสไตน์ รวมทั้งในประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น โอมาน อิสราเอล และหมู่เกาะฟอร์คแลนด์ จากสถานการณ์ในเวลานั้นต้องทำลายวัวมากถึง 4 ล้านตัว และต้องใช้มาตรการควบคุมในการกำจัดอย่างเข้มงวด เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

สำหรับประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อในการเกิดโรควัวบ้า เนื่องจากได้เคยมีการนำเข้าเนื้อและกระดูกป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ถึงแม้ว่าจะมีการออกกฎระเบียบต่างๆในการห้ามนำเข้าและป้องกันการใช้เนื้อและกระดูกป่นจากประเทศที่มีรายงานโรค

สาเหตุของการเกิดโรควัวบ้า

สำหรับสาเหตุการเกิดโรควัวบ้ามาจากความผิดปกติของโปรตีนในเนื้อวัว ชื่อ พรีออน ( Prion ) ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะทำลายโปรตีนชนิดอื่นๆที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และจะทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทและสมอง แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของความผิดปกตินี้ ซึ่งหากคนรัประทานเนื้อที่มีความผิดปรกติของโปรตีนจะทำให้ระบบประสาทและสมองถูกทำลาย มีการศึกษาโปรตีนพรีออน พบว่าโปรตีนพรีออน ทนต่อการทำลายต่างๆแม้กระทั้งความร้อนสูง

กลุ่มเสี่ยงการเกิดโรควัวบ้า

สำหรับโรควัวบ้า กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรควัวบ้า คือ กลุ่มคนที่ชอบรับประทานเนื้อวัว ถึงแม้ว่าปรุงเนื้อวัวให้สุก ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อต่างๆแล้วก็ไม่สามารถทำให้สารพรีออนให้หมดไปได้ เนื่องจากสารพรีออนทนความร้อนได้ การควบคุมการเกิดโรควัวบ้าในวัวจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสวัสดิภาพของมนุษย์

อาการของโรควัวบ้า

ลักษณะของสัตว์ที่เป็นโรควัวบ้าจะมีพฤติกรรมที่ผิดปรกติมีปัญหาการเดิน มีพฤติกรรมที่รุนแรง น้ำหนักตัวลดลง และล้มตายในเวลาต่อมา การรับประทานเนื้อวัวที่มีเชื้อวัวบ้า หรือ มีโปรตีนพรีออน จะส่งผลต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรควัวบ้า มีดังนี้

  • การควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก
  • ลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
  • ระบบสายตาผิดปรกติ เช่น มองเห็นภาพผิดปกติ เห็นภาพหลอน สายตาพร่ามัว หรือ ตาบอด
  • ระบบการรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ
  • พูดได้ลำบาก
  • กลืนอาหารลำบาก
  • มีภาวะเครียด
  • นอนไม่หลับ
  • ความจำเสื่อม
  • อาจเสียชีวิตภายในเวลาประมาณ 13 เดือนหลังจากร่างกายมีอาการผิดปรกติ

การวินิจฉัยโรควัวบ้า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรควัวบ้า แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ อาการต่างๆ ตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง เพื่อตรวจหาโปรตีนที่อาจทำให้เกิดโรค

การรักษาโรควัวบ้า

สำหรับแนวทางการรักษาโรควัวบ้า ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรควัวบ้าโดยตรง ซึ่งการรักษาเพียงบรรเทาอาการของโรค ที่สำคัญ คือ การกักกันสาหตุของการเกิดโรคไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่ม ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันถือว่าประเทศไทยยังปลอดภัยต่อการระบาดของโรควัวบ้า

การป้องกันโรควัวบ้า

เนื่องจากในปัจจุบันจะยังไม่มียาสามารถรักษาผู้ติดเชื้อวัวบ้าได้ การป้องกันจึงมีความสำคัญที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ซึ่งแนวทางการป้องกันโรควัวบ้า มีดังนี้

  • ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัวบ้า
  • หากมีโรควัวบ้าระบาดในประเทศที่อาศัยอยู่ ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามนำเข้าวัวหรือสัตว์อื่น ๆ ที่ติดเชื้อโรควัวบ้า ห้ามเลี้ยงสัตว์ที่อาจเสี่ยงติดเชื้อโรควัวบ้า ห้ามใช้วัตถุดิบที่อาจเสี่ยงติดเชื้อโรควัวบ้าในการประกอบอาหาร เพิ่มความเข้มงวดในกระบวนการจัดการกับสัตว์ที่ป่วย เฝ้าระวังและตรวจสอบเพื่อติดตามสุขภาพของวัว

โรควัวบ้า ภาวะการติดเชื้อที่สมองจากเนื้อวัวที่มีโปรตีนพรีออน ทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้สมองฝ่อ อาการของโรคควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ การเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุก เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม และ ตายใน 13 เดือน

ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาการมีไข้ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก ไม่มียารักษาแต่สามารถหายเองได้ภายใน 2 วัน หากพักผ่อนให้เพียงพอ โรคหวัดป้องกันอย่างไรโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

โรคหวัด ในปัจจุบันเป็นโรคที่คนรู้จักโดยทั่วไปพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เชื้อโรคที่ทำให้เกิดหวัดมีสายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด และเมื่อหายจากอาการไข้หวัดแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดนั้นๆเอง ผู้ป่วยไข้หวัดมักป่วยจากการติดเชื้อเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ๆ จนบางครั้งเราอาจเกิดไข้หวัดหลายครั้งในหนึ่งปี

โรคหวัด ทางการแพทย์เรียก common cold คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และ กล่องเสียง ซึงเมื่อเกิดอาการติดเชื้อจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น ตัวร้อน ไอ จาม เจ็บคอ และ มีน้ำมูก เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งหากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ ภายในสองวัน

โรคหวัด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น โรคหวัดจึงพบว่าเกิดมากในกลุ่มเด็ก คนชรา และ ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งจากน้ำมูก การไอ การจาม

สาเหตุการเกิดโรคหวัด

สาเหตุของการเกิดโรคหวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งมีหลายสายพันธ์ที่ทำให้เกิดหวัด แต่เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรงของโรค ซึ่งติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีน้ำมูก มีเสมหะ เจ็บคอ ซึ่งปัจจัยที่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัด คือ

  • ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ พบว่าในเด็กและผู้สูงอายุจะตืดเชื้อหวัดได้ง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่มักจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหรือฤดูหนาว
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่าย และหากเป็นก็จะอาการรุนแรงกว่าปกติอีกด้วย
  • การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดได้ง่าย

อาการของโรคหวัด

สำหรับอาการของโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง หากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ใน 2 วัน อาการของไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของไข้หวัในเด็กและอาการไข้หวัดในผู้หญ่ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการไข้หวัดในเด็ก มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสไข้สูงต่อเนื่องมากกว่า 2 วัน โดยอาการไม่ดีขึ้นปวดหัว ไออย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด ง่วงนอนมากผิดปกติ เบื่ออาหาร
  • อาการไข้หวัดในผู้ใหญ่ มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณไซนัส

การรักษาโรคหวัด

สำหรับแนวทางการรักษาไข้หวัด ไม่จำเป็นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสทุกชนิด ซึ่งการรักษาให้รักษาโดยการประคับประครองตามอาการของโรค เช่น กินยาลดไข้ พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัด

โรคหวัดสามารถกายเองได้ในสองวันหากพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ็อนจากไข้หวัด เนื่องจากอาจทำให้อาการของไข้หวัดรุนแรงมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดไข้หวัด มีดังนี้

  • ภาวะติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่แก้วหู ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในหู สังเกตอาการจากอาการปวดหู และในบางกรณีอาจมีน้ำหนองออกมาจากหู หากปล่อยไว้อาจทำให้แก้วหูทะลุได้
  • โรคหอบหืด หรือ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาการไข้หวัด ทำให้โรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
  • โรคไซนัสอักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่โพรงไซนัส จะทำให้เกิดอาการติดเชื้อจนกลายเป็นไซนัสอักเสบได้
  • คออักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่ลำคอ จะทำให้เกิดอาการคออักเสบ เจ็บคอและไอรุนแรง
  • หลอดลมอักเสบ หากเชื้อโรคลงมาที่หลอดลม อาจทำให้หลอดลมอักเสบ ไอมากขึ้น
  • ปอดบวม หากเชื้อโรคแพร่เข้าสู่ปอดจะทำลายปอด หากไม่รีบรักษาเป็นอันตรายได้

การป้องกันไข้หวัด

สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัด มีแนวทางการป้องกันจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้ร่างกายรับมือต่อเชื้อโรคต่างๆ และ ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือ สัมผัสสิ่งต่างๆ
  • ใช้เครื่องป้องกับ ผ้าปิดปาก หากต้องเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงให้ทำให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย