พยาธิในช่องคลอด ทริโคโมแนส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากในผู้หญิง คันในช่องคลอด แสบตอนปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ ตกขาวสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเหม็น รักษาอย่างไร

พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

พยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis หรือ Trich ) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis  โรคนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่แสดงอาการ และจะแสดงอาการเพียลร้อยละ 30 โรคนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบรักษา เพราะสามารถติดต่อสู่คู่นอนได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีหลายปัจจัย ที่สำคัญคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรค ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดโรคนี้ ได้แก่ เปลี่ยนคู่นอนบ่อย คนที่มีประวัติในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ คทที่มีประวัติในการเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดมาก่อน และ คนที่ใช้สิ่งของร่วมกับคนที่มีเชื้อโรค

โรคพยาธิช่องคลอดไม่ได้เกิดกับเพศหญิงเท่านั้น สามารถเกิดกับเพศชายได้ ซึ่งเพศชายหากติดเชื้อจะมีอาการแสบเมื่อปัสสาวะ อาการคัน ระคายเคือง ที่ปลายอวัยวะเพศ เพราะ ติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่อันตราย ถึงกับทำให้เสียชีวิต แต่จะกระทบการดำรงชีวิตมาก เพราะ จะมีความรำคาญใจ ส่งผลต่อ สุขภาพจิตของผู้หญิง และ ผู้ชาย ที่ได้รับเชื้อ และยังสามารถเป็นพาหะ นำเชื้อไปติดผู้อื่นต่อได้อีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคพยาธิในช่องคลอด

สาเหตุของโรคนี้มาจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ซึ่งสามารถติดได้จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน (การสวมถุงยาอนามัย) การมีเพศสัมพันธ์ ทางปาก ทวารหนัก ไม่รักษาความสะอาด ในจุดซ่อนเร้น และสุขภาพโดยรวมอ่อนแอ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ครบ 5 หมู่

อาการผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอดนั้นจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศและจุกซ่อนเร้น มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงอาการอักเสบขั้นรุนแรง ผู้ป่วยบางรายจะแสดงอาการป่วยต่างๆภายใน 28 วันหลังจากได้รับเชื้อติดเชื้อ บางรายแสดงอาการหลังจากนั้นและบางรายอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ ได้ ซึ่งอาการต่างๆ สามารถแสดงได้ดังนี้

  • ตกขาวผิดปรกติ ตกขาวเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือสีเทา
  • มีกลิ่นเหม็นมาจากช่องคลอด
  • มีอาการคัน และแสบภายในช่องคลอดหรือบริเวณช่องคลอด
  • ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกระคายเคืองหรือแสบขณะปัสสาวะ

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เริ่มจากการตรวจประวัติการรักษา การพูดคุย ซักประวัติ พฤติกรรมทางเพศ ที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ทั่วไป ตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศอื่นๆเพิ่มเติม เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม โรคโลน โรคหนองใน โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน และ ตรวจภายใน เก็บตัวอย่างตกขาว ตรวจหาพยาธิ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันเชื้อได้ถูกตัว จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่อง 7-10 วัน ใช้ยาฆ่าพยาธิ มีสองชนิด คือ Metronidazole และ Tinidazole แต่ถึงแม้จะได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคนี้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เมื่อรู้สึกแสบขณะปัสสาวะ แสบปลายองคชาต หรือ ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น คันช่องคลอด รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย อย่าปล่อยเรื้อรัง
  • รักษาความสะอาด ชุดชั้นใน เสื้อผ้า อย่าใส่ซ้ำ
  • ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยสบู่ ทุกครั้งที่อาบน้ำ
  • สวมทุกยางอนามัย ทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย งดมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • รักษาสุขภาพเบื้องต้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่หมกมุ่นเรื่องทางเพศมากเกินไป หากิจกรรมอื่นๆทำ เช่น จิตอาสา รวมกลุ่มออกกำลังกาย ค่ายอาสา เข้าวัดทำบุญ

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้สูงอย่างกระทันหัน ตัวแดงเป็นผื่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อันตรายหากรักษาไม่ทัน ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รักษาอย่างไร

ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไข้กาฬ หมายถึง โรคที่มีความรุนแรงที่มีผื่นสีดำขึ้นตามร่างกาย ส่วนคำว่า หลังแอ่น หมายถึง การอาการหลังแข็งเกร็ง มีอาการชัก

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Meningitis ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เป็นเชื้อโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสสารคัดหลังของคนที่มีเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นการจาม การไอ ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแิอ่นมักพบ 2 ลักษณะ คือ คือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด

  • ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อเชื้อโรคเจือปนในเลือดและไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและปวด ซึ่งลักษณะอาการค่อนข้างรุนแรง
  • ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะต่อจากการติดเชื้อในการแสเลือด เมื่อเชื้อโรคไหลเวียนเข้าสู่สมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองเกิดการติดเชื้อ ทำให้สมองอักเสบ ส่งผลถึงกระดูกสันหลังด้วย

ไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย

สถานการณ์โรคไข้กาฬหลังแอ่นในประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นทุกปี ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2536 – 2552 มีรายงานผู้ป่วย 15 ถึง 74 รายต่อปี โรคนี้ไม่มีรูปแบบของการเกิดโรคตามฤดูกาลที่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่มอายุ แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุตํ่ากว่า 5 ปี มักพบในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นและแออัด สุขอนามัยไม่ดีนัก

สาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นๆได้ จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่เป็นพาหะนำโรคผ่านระบบทางเดินหายใจ จากการไอ การจาม การสัมผัสเสมหะ สัมผัสน้ำมูก สัมผัสน้ำลาย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็น โรคกาฬหลังแอ่น จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ เพราะ สูดอากาศ และ เอาเชื้อแบคทีเรียที่มันกระจายอยู่ในละอองเสมหะ หรือ แม้กระทั่งน้ำลายของผู้ป่วย เมื่อจาม ไอ
  • การอยู่ใกล้แหล่งที่มีผู้ป่วย และ อยู่ในสถานที่แออัด ทำให้เชื้อแพร่กระจายง่าย
  • การใช้ของใช้ร่วมกับ ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มีพาหะ เช่น แก้ว ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ( Neisseria meningitides ) เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ย 3 – 4 วัน ซึ่งโรคไข้กาฬหลังแอ่น จะมีลักษณะอาการที่สำคัญ อย่าง คือ มีไข้ มีผื่น และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

ลักษณะอาการทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีไข้ประมาณ 2-3 วันและมีผื่นขึ้น ลักษณะเป็นจ้ำเลือดคล้ายกับอาการฟกช้ำ ลักษณะผื่นมีรูปคล้ายดาวกระจาย มักเกิดผื่นบริเวณลำตัวส่วนล่าง ขาและเท้า หากมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง ผู้ป่วยจะค่อยๆซึมลง และไม่ค่อยรู้สึกตัว หากเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้การเสียชีวิตได้

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น เมื่อแพทย์ตรวจเลือดและพบเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค สามารถใช้การรักษาด้วยการใช้ยาปฎิชีวนะ เพื่อไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

แนวทางการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น 2 วิธีหลัก คือ การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการฉีดยาต้านจุลชีพ ซึ่งนอกจากนั้นสามารถป้องกันโรคได้อย่างง่ายด้วยตนเอง คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ดูแลความสะอาดของร่างกาย ไม่เอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสในการติดเชื้อโรค แนวทางการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับ ผู้อื่น หรือ ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยให้สวมหน้ากากอนามัย หรือ ใช้ถุงมือยางเมื่อต้องสัมผัส
  • เมื่อทราบว่าตนเอง หรือ บุตรหลาน เป็นไข้สูง ให้รีบพบแพทย์
  • ดูแที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย