โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระบบฮอร์โมนผิดปรกติ อาการคอบวม ไม่มีอาการเจ็บ มีไข้บ่อยๆ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นอาการของโรค แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไรอาการคอบวม โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่ระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานทั่วร่างกาย สามารถรักษาได้หากพบในระยะต้นๆ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค โดยอาการเบื้องตน เช่น มีไข้บ่อยๆ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย คอบวมโตแต่ไม่เจ็บ แขนขาอ่อนแรง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง

ประเภทของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เราสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ 2 ประเภท คือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กินNon-Hodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์  ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินHodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์ ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดได้ แต่ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ เชื่อว่าเกิดจาก DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์ เกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม ระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย และ การติดเชื้อโรคต่างๆ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีปัจจัยต่างๆที่เป็นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • สภาพสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย หากเป็นแหล่งที่สะสมมลพิษต่างๆ มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป
  • ระบบภูมิต้านทานโรคของบุคคล
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยโรคนี้ มีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าคนอื่น
  • ภาวะการติดเชื้อโรคอย่างเรื้อรัง เช่น โรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคเอดส์มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

อาการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะแสดงให้เห็นความผิดปรกติที่ลำคอ เนื่องจากลำคอเป็นแหล่งของต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย จะแสดงอาการที่ คอ รักแร้ ขาหนีบ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ลักษณะของโรคต่อมน้ำเหลือง สามารถสังเกตุได้จากอาการ ดังนี้

  • มีไข้บ่อยๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ติดเชื้อง่ายและมีความรุนแรงของอาการ
  • เลือดออกง่ายและเป็นแผลง่าย

ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามามารถแบ่งได้ 4 ระยะ คือ ระยะทีหนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรก อาการยังไม่ลุกลาม เป็นเฉพาะบริเวณต่อนน้ำเหลืองนั้น เช่น คอ รักแร้ อัตรารอด 80-90 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สอง อาการเริ่มลุกลามไปบริเวณใกล้เคียง อัตรารอด 70-80 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สาม ต่อมน้ำเหลืองใหญ่ที่ส่วนบน ใต้กระบังลม ลำคอ ขาหนีบ ติดเชื้อมะเร็ง อัตรารอด 50-70 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย อวัยวะอื่นได้รับเชื้อมะเร็ง เช่น ตับ สมอง และเสียชีวิตในที่สุด อัตรารอด 0-50 เปอร์เซนต์

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีแนวทาง คือ สอบถามประวัติการรักษาโรค รวมถึงประวัติการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของญาติพ่อแม่พี่น้อง ตรวจร่างกายทั่วไปและตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) และ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant) โดยวิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก ( Active Surveillance ) ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะใช้วิธีการติดตามอาการเป็นระยะๆ
  • การใช้เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) ใช้ยาทางเคมีรับประทานหรือยาฉีดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การใช้รังสีรักษา ( Radiation Therapy ) เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ( Bone Marrow Transplant ) การถ่ายไขกระดูกนำสเต็มเซลล์ที่ดีเซลล์ใหม่ ที่ได้มาจากการบริจาคฉีดเข้าไปในเลือดเพื่อสร้างไขกระดูกใหม่

อาการแทรกซ้อนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการต่างๆของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย และ แสดงอาการแทรกซ้อน ดังนี้

  • ระบบหายใจผิดปรกติ เช่น อาการไอ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เกิดจากการกระทบต่อต่อมไทมัส เป็นระบบน้ำเหลืองตรงหน้าอก
  • ระบบสมองและสาตตาผิดปรกติ มีอาการปวดหัว มีอาการชัก เห็นภาพซ้อน ชาตามใบหน้า มีปัญหาการพูด
  • ผิวหนังผิดปรกติ เช่น มีอาการคัน มีก้อนนูนแดงใต้ผิวหนัง เป็นต้น

การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคจึงต้องป้องกันปัจจัยยเสี่ยงของการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • เลิดดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่

โรคเบาหวาน เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ป่วยเบาหวานต้องรักษาอย่างไร ปัจจัยของการเกิดโรค อาการของโรคเบาหวาน และ การป้องกันการเกิดโรค ต้องทำอย่างไรโรคเบาหวาน โรค อาการโรคเบาหวาน เบาหวาน

โรคเบาหวาน ( Diabetes ) คือ โรคแบบเรื้อรังโรคหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดจากความผิดปรกติของตับอ่อน หรือ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรักษาตลอดชีวิต ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย

สาเหตุโรคเบาหวาน 

สำหรับสาเหตุของโรคเบาหวาน คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ โดยเกิดจากความผิดปรกติของการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( insulin ) จากตับอ่อน ซึ่งเป็นฮอร์โมนส่วนที่จะนำน้ำตาลกลูโคส ( glucose ) ที่อยู่ในกระแสเลือดมาสู่เซลล์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย หรือ เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินในปริมาณปกติแต่ เซลล์ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจากอินซูลินได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ภาวะดื้ดต่ออินซูลิน จึงส่งผลทำให้เกิดการสะสมของปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เกิดจากกลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  1. คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  2. คนพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นการนำกลูโคสไปใช้ของเซลล์ต่างๆ
  3. พันธุกรรม กลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีโอกาสเกิดเบาหวานได้
  4. อายุ เพราะ คนที่อายุมากเซลล์จะมีการใช้กลูโคสลดลง
  5. ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง มักพบว่าเป็นโรคที่เป็นร่วมกันกับโรคเบาหวาน
  6. ผู้ป่วยโรคความดันในเลือดสูง มันมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวาน

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่สามารถสังเกตุได้ และ บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน สามารถสังเกตุอาการได้ ดังนี้ 

  1. กระหายน้ำบ่อย
  2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  3. ผิวหนังแตกแห้ง เกิดอาการคันตามผิวหนัง
  4. ตาแห้ง แสบตา
  5. มีอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  6. มีอาการซูบผอมลงอย่างเห็นได้ชัด
  7. หากเกิดบาดแผลจะหายช้ากว่าปกติ
  8. มองเห็นไม่ชัดเป็นภาพพล่ามัว

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แนวทางการวินิจแํยโรค ใช้าการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งต้องอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งหากค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะโรคเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวาน

สำหรับการรักษาโรคเบาหวาน สามารถรักษาโรคด้วยวิธีทานการแพทย์ร่วมกันกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้ยารักษาโรค คือ ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยาลดความดัน การฉีดอินซูลินในรายที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อย และ การปรับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้งน้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผักและผลไม้ และออกกำลังกาย

ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน 

การอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆทุกชนิดในร่างกาย หลอดเลือดต่างๆตีบแคบลงขาดเลือดของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ โรคหัวใจ โรคไตโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และเบาหวานขึ้นตา แผลหายช้าหากดูแลรักษาไม่ดีเป็นอันตรายถึงกับต้องตัดขา ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

การป้องกันโรคเบาหวาน 

สำหรับแนวทางการป้องกัยการเกิดโรคเบาหวาน คือ การลดความเสี่ยงของการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ที่มนุษย์สามารถควบคุมได้ และ หมั่นตรวจเลือดเพื่อดูค่าน้ำตาลในเลือด

  • หากพบว่าปริมาณไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ควรตรวจค่าน้ำตาลในเลือดควบคู่กัน ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงมันพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดอาหารหวาน อาหารมัน บริโภคผักและผลไม้
  • ควรตรวจร่างการเป็นประจำทุกปี หากพบความผิดปกติจะได้รักษาทันท่วงที
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย