มะเร็งปอด Lung cancer ภาวะเกิดเนื้อร้ายที่ปอด มักเกิดกับคนสุบบุหรี่ อาการน้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุและแนวทางการรักษาโรคทำอย่างไรมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง โรคจากบุหรี่

โรคมะเร็งปอด ( Lung cancer ) การสูบบุหรี่ หรือ สูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการทำลายปอด และ ระบบทางเดินหายใจ โรคนี้นังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน โรคมะเร็งปอดพบมากในผู้ชายแต่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ สำหรับการเกิดมะเร็งปอดสามารถแบ่งชนิดของเซลล์มะเร็งที่ปอดได้ 2 ชนิด คือ

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small Cell Lung Cancer) พบอัตราการเกิดได้บ่อยถึง 80-85%
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 10%-15% อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่เราพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายปอดและ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม จากสถิติพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติพี่น้องที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งปอด มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดเช่นกัน
  • อายุ โรคนี้พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • สภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่สูดเข้าปอดส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ปอดโดยไม่ต้องสงสัย

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด จะแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนที่ระบบการหายใจ และ สภาพร่างกายที่อ่อนแอ ซึ่งเราสามารถระบุอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคด้วยตนเอง ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
  • มีอาการเหนื่อยง่ายๆ
  • มีภาวะโรคปอด เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ
  • เสียงพูดผิดปรกติ พูดได้ไม่เต็มเสียง เสียงแหบ
  • ไอเป็นเลือด รวมถึงไอไม่หยุด และ มีเสมหะจากการไอจำนวนมาก
  • มีอาการแน่นหน้าอก ปวดหน้าอก
  • เสียงหายใจเป็นเสียงนกหวัด หายใจได้ไม่เต็มปอด

ระยะของโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งปอดได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียดของระยะโรคมะเร็งปอดต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งปอดระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่พบอาการผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แต่พบเพียงเซลล์มะเร็งขนาดเล็กที่ปอด เท่านั้น ระยะนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบว่าเกิดโรคมะเร็งปอด
  • มะเร็งปอดระยะสอง เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลือง ขั้วปอด รวมถึงผนังทรวงอก
  • มะเร็งปอดระยะที่สาม เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปทั่วทรวงอก และ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
  • มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งจากปอดกระจายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด แพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยใช้การตรวจต่างๆ รายละเอียดดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจทรวงอก ( thorocoscopy ) ใช้กล้องส่องเข้าที่ผนังทรวงอกเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การตรวจช่องกลางทรวงอก ( mediastinoscopy ) โดยการผ่าเปิดกระดูกทรวงอกส่วนบน สอดกล้องเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ และ น้ำเหลือง เพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การเจาะช่องทรวงอกถึงชั้นเยื่อหุ้มปอด ( thoracentesis ) การเก็บของเหลวบริเวณเยื่อหุ้มปอด เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม ( bronchoscopy ) ใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าหลอดลมเพื่อเข้าสู่ปอด โดยดูดของเหลว และ ตัดชิ้นเนื้อ นำมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • ตรวจชิ้นเนื้อ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านทางช่องอกไปยังปอด เพื่อ ดูดของเหลว และ เนื้อเยื่อมาวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็ง
  • การทำซีทีแสกน ( CT scan ) หรือ ทำเอ็มอาร์ไอ ( MRI ) เพื่อดูตำแหน่งก้อนเนื้อมะเร็ง และ ดูความผิดปกติของปอด
  • การฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ทราบตำแหน่ง และ ขนาดของเซลล์มะเร็งที่เกิดได้อย่างชัดเจน

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ ต้องใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกับ แต่มะเร็งปอดหากพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตันนำเซลล์มะเร็งออก สามารถรักษาได้ผลดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะต้นๆ ที่พบเซลล์มะเร็งขนาดเล็ดและยังไม่แพร่กรจาย
  • การทำเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสี ใช้แสงรังสีเพื่อการทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้ต้องทราบตำแหน่งมะเร็งที่ชัดเจน การรักษาวิธีนี้มีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองตามผิวหนัง อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร
  • การใช้ยาเจาะจงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นภัยต่อระบบการหายใจ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • หมั่นตรวจร่างกายประจำปี และ หากพบอาการผิดปกติต่างๆของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ทันที

โรคมะเร็งปอดLung cancer ) ภาวะเกิดเนื้องอกที่ปอด โรคจากการสุบบุหรี่ หากมีอาการ น้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุของมะเร็งปอด และ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

โรคมะเร็งตับ อาการมีก้อนเนื้อที่ชายโครงด้านขวา ปวดท้อง ท้องบวม ตาเหลือง อ่อนเพลีย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งตับ แนวทางการรักษาและป้องกันมะเร็งตับทำอะไรได้บ้างโรคมะเร็งตับ มะเร็ง การรักษามะเร็งตับ โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งตับ ( liver cancer ) เป็นภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ตับ เป็นโรคที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคมะเร็งตับที่พบมากในคนไทย เป็น มะเร็งตับ ที่เรียกว่า เอชซีซี ( HCC , hepatocellular carcinoma ) มักพบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากตัวเนื้อเยื่อตับเอง และ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อวัยวะอื่น โดยทั่วไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ

สำหรับมะเร็งตับเกิดจากเซลล์ที่ตับเกิดการกลายพันธุ์ จนส่งผลให้เซลล์ที่ตับเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ เนื้องอก แต่สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่สามารถระบุสาเหตุทัี่ชัดเจนได้ แต่สามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ มีดังนี้

  • ภาวะป่วยโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคตับแข็ง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • การดื่มสุรา การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน ( Aflatoxins ) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อรา
  • การสูบบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีอันตรายกลุ่มยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ ( Vinyl Chloride ) และ สารหนู ( Arsenic )
  • การใช้ยากลุ้มยา อนาโบลิคเสตียรอยด์ ( Anabolic steroids ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายซึ่งนักกีฬาชอบใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ

อาการโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับมักจะไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก ซึ่งมักจะแสดงอาการของโรคเมื่อเกิดความร้ยแรงแล้ว ซึ่งลักษณะอาการของโรคมะเร็งตับ สามารถสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร และ อิ่มง่ายถึงแม้ว่ารับประทานเพียงเล็กน้อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บท้อง โดยเจ็บท้องส่วนบนด้านขวา และช้องท้องบวม มีก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา
  • ผิวพรรณผิดปรกติ ผิวเหลืองซีด คันตามผิวหนัง และ ตาเหลือง
  • อุจจาระผิดปรกติ อุจจาระมีสีซีด
  • มีไข้ และ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย

ระยะของโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งระยะของโรค ได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง ถึง ระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะแรงขึ้นเรื่อยๆตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับระยะแรก จะเกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ แต่ไม่แสดงอาการของโรค
  • มะเร็งตับระยะที่สอง ก้อนเนื้อที่ตับมาปริมารมากขึ้น และ มีขนาดใหญ่ขึ้น และ มีการลุกลามมากขึ้น
  • มะเร็งตับระยะที่สาม ลักษณะก้อนเนื้อที่ตับมีขนาดใหญ่มากขึ้น และ ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะข้างเคียง สามารถแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้
  • มะเร็งตับระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย เข้าสู่อวัยะต่างๆที่สำคัญตของร่างกาย ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักถามประวัติ และ การตรวจช่องท้องด้วยการอัลตราซาวด์ การเอกซเรย์ การเจาะเลือด และ การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูเซลล์ว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

การรักษาโรคมะเร็งตับ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตัย สามารรักษาได้หากสามารถตรวจสอบพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้โดยการ ผ่าตัด การเปลี่ยนตับ การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง แต่การพิจารณาการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆและความพร้อมในการรักษาของผู้ป่วย

  • การผ่าตัด ( Surgical Resection ) หากพบเซลล์มะเร็งในระยะเริ่ม สามารถผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก การผ่าตัดแบบนี้อาจไม่ปลอดภัย
  • การผ่าตัดเปลี่ยนตับ การเปลี่ยนตับใหม่ต้องได้รับบริจาค และ ตับต้องสามารถเข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ การรักษาวิธีนี้มีความเสี่ยงการต่อต้านตับใหม่ของร่างกายสูง
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง และ ทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง ซึ่งการฉายรังสี อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อตับและอวัยวะรอบข้างตับได้ ร่างกายอาจมีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน
  • การทำเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เป็นการรับประทาน หรือ ฉีดยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้ผู้ป่วยจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน เช่น ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ผมร่วง ขาบวม เจ็บปาก และ ท้องเสีย
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง ( Targeted Drug Therapy ) เป็นวิธีการรักษาด้วยยา เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงที่เซลล์มะเร็งตับ

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ตับไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งสิ่งที่ทำได้ คือ การลดความเสี่ยงทุกอย่างที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับ รายละเอียด ดังนี้

  • รักษาโรคตับให้หายขาด เนื่องจากโรคตับหากเกิดอาการเรื้อรังมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้
  • เลิกดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดไขมัน แป้ง เพิ่ม กากใย ผัก พลไม้ให้มากขึ้น
  • มั่นตรวจสุขภาพร่ากายประจำปี
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย