หนองใน Gonorrhea ติดเชื้อเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae มีหนองในอวัยวะสืบพันธ์ คันช่องคลอด ช่องคลอดเหม็น ฉี่แล้วแสบ ปัสสาวะขัด รักษาโรคนี้อย่างไร

หนองใน โกโนเรีย โรคติดต่อ

หนองใน หรือ โกโนเรีย ภาษาอังกฤษ เรียก Gonorrhea เป็นภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae มักเป็นภาวะการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย โรคนี้จะแสดงอาการผิดปรกติที่จุดซ่อนเร้น เช่น ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ช่องคลอด ท้อปัสสาวะ ทวารหนัก อวัยะเพศรวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา เยื่อลำคอ เยื่อบุช่องปาก พบมากในกลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มคนที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน กลุ่มคนที่ชอบซื้อบริการทางเพศ หากผู้ป่วยมีภาวะตั้งครรภ์สามารถถ่ายทอดเชื้อโรคสู่ลูกได้

โรคหนองในกับประเทศไทย

รายงานจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคหนองในจำนวน 6,168 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.43 ของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 9.76 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ลดลงมากเนื่องจากมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันมากขึ้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองใน

กิจกรรมที่ทำให้ติดเชื้อหนองใน คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองในโดยไม่ใช้ถุงยางป้องกัน หรือ สัมผัสเนื้อเยื่อของผู้ติดเชื้อเช่น ทางช่องปาก ทางทวารหนัก มารดาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกได้

กิจกรรมที่ไม่ทำให้ติดเชื้อหนองใน เช่น การสัมผัสมือ การกอด การใช้แก้วร่วมกัน การใช้จานชามร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน การนั่งฝาโถส้วมเดียวกัน การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน

สาเหตุการเกิดโรคหนองใน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหนองใน คือ การสัมผัสเชื้อโรคของผู้ทีีมีเชื้อโรค ซึ่งผู้ป่วยหลายคนมักไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคการป้องกันโรคหากไม่ป้องกันจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ดังนี้

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า โดยไม่ป้องกันโรค ไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศแบบหมู่ สวิงกิ้ง เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา เรื่องเพศศึกษา สุขศึกษา

อาการของโรคหนองใน

สำหรับโรคหนองในมีระยะฟักตัวของโรคหลังจากได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการภายใน 2-10 วัน โดยทั่วไปแล้วมักจะแสดงอาการภายใน 5 วัน ซึ่งอาการของโรคจะแตกต่างกัน ทั้ง ชาย หญิง และ ลักษณะอาการที่แสดงทั้งสองเพศ ซึ่งลักษณะอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการหนองในสำหรับเพศชาย จะมีอาการแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ระยะแรกๆอาจมีมูกใสๆ เล็กน้อย ต่อมามูกใสๆจะกลายเป็นหนองสีเหลืองข้น บางรายมีอาการปวดและบวมที่อัณฑะ การอักเสบบริเวณหนังหุ้มปลายองคชาต
  • อาการหนองในสำหรับเพศหญิง จะมีอาการตกขาวผิดปกติ ลักษณะเป็นหนองสีเหลืองหรือสีเขียว มีกลิ่นเหม็น มีอาการแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ปวดท้องน้อย เลือดออกกะปริดกะปรอยในระหว่างมีรอบเดือน มีการอักเสบของมดลูก มีไข้สูง หนาวสั่น ปวด เจ็บตรงท้องน้อย
  • อาการทั่วไปของโรคหนองใน เป็นอาการที่แสดงในทุกเพศที่มีภาวะติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการเจ็บคอ มีไข้ ปวดหน่วง น้ำหนองออกมาเวลาปัสสาวะ อาจติดเชื้อที่เยื่อบุตา ระคายเคืองตา มีหนองไหลออกจากตา อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม และเจ็บ

โรคหนองในจำเป็นต้องได้รับการรักษา หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

โรคหนองในนอกจากการรักษาภาวะการเกิดโรคแล้ว หากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือรักษาช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนแบ่งได้ตามการแสดงอาการของเพศต่างๆ ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย เชื้อหนองในอาจลุกลามเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะตีบตัน อาจทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ ทำให้มีบุตรได้ยากหรือกลายเป็นหมันได้
  • ภาวะแทรกซ็อนในเพศหญิง เชื้อหนองในอาจลุกลามทำให้ต่อมบาร์โทลิน ( Bartholine’s gland ) ทำให้เยื่อบุมดลูกอักเสบ  ปีกมดลูกอักเสบ ท่อรังไข่ตีบตันกลายเป็นหมัน ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้ทั้งสองเพศ คือ เชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือดที่ข้อกระดูก ทำให้เป็นโรคข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว และ หัวใจวาย

การรักษาโรคหนองใน

แนวทางการรักษาโรคหนองในในปัจจุบัน สามารถรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งผลการรักษาค่อนข้างได้ผลดี พบว่ามากกว่าร้อยละ 95 สามารถรักษาให้หายได้ แต่ควรรับการรักษาเร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะตามมา ภายหลังการรักษาหากพบว่ามีอาหารอยู่ควรรีบพบแพทย์อีกครั้ง

นอกจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและ ต้องปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ปรับพฤติกรรมทางเพศ การรักษาความสะอาด การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และ หยุดกิจกรรมทางเพศทุกชนิดจนกว่าจะหายดี

การป้องกันโรคหนองใน

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคหนองในมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ผู้ที่ป่วยโรคนี้ ไม่แพร่เชื้อ หยุดกิจกรรมทางเพศทั้งหมด จนแน่ใจว่าหายดี
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอน ควรมีแค่คู่เดียว
  • หากเกิดอาการ แสบ ปัสสาวะขัด มีผื่นแดงที่อวัยวะเพศ ให้หยุดกิจกรรมทางเพศก่อน รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา จนกว่าจะหายขาด
  • หากิจกรรมยามว่าง เพื่อไม่ให้หมกมุ่นเรื่องเพศมากจนเกินไป

โรคนอนไม่หลับ Insomnia ภัยใกล้ตัวของทุกคน นอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร

โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนึ่งของมนุษย์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจกังวล ส่งผลต่อการคิดการตัดสินใจในการทำงานในช่วงกลางวัน จากการศึกษาการเกิดโรคนอนไม่หลับพบร้อยละ 30 ของผู้ใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนของคนโดยปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งการต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดต้องการนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ปี ต้องการนอน 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 2 ปี ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 6-13 ปี ต้องการนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • คนอายุ 14-17 ปี ต้องการนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับผู้สูงวัยจะต้องการนอนที่สั้นลง เพราะ ร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

โรคนอนไม่หลับInsomnia ) อาการนอนไม่หลับถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจจะมาจากหลายสาเหตุ การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายนั้นมีความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกายอื่นๆต่อมา เช่น ขาดสมาธิในเวลาทำงาน

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับ สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) และ นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) รายละเอียดของประเภทต่างๆ มีดังนี้

  • นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันแบบกระทันหัน มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน การดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ( Time zone ) เป็นต้น
  • นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) อาการลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะความเครียดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการนอน
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) ลักษณะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นปีๆ อาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางโรคที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ

สำหนับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ มีหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยทางด้านร่างกาย ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงอุปนิสัยการนอน ( Sleep hygiene ) ของแต่ละคน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการนอนไม่หลับได้ดังนี้

  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน ภาวะระบบประสาทตื่นตัวมากกว่าปกติ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการความเครียด ความวิตกกังวล ในช่วงเวลานั้นๆ หรือ โรคที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเสียงรบกวน หรือแสงไฟรบกวน ทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยจากอุปนิสัยการนอน ลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือ การทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลกระทบต่อการนอนทั้งสิ้น

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
สำหรับอาการของโรคนอนไม่หลับนี้ มีหลายลักษณะแต่ลักษณะเด่นชัด คือ นอนไม่หลับ ในช่วงเวลาที่ต้องนอนพักผ่น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ ได้ดังนี้

  • ใช้เวลานานในการทำให้ตัวเองหลับ
  • ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
  • อาการหลับๆตื่นๆ นอนไม่ต่อเนื่อง
  • ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับการรักษาโรคะนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วย 2 หลักๆ คือ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การรักษาด้วยการใช้ยารักษาทำให้นอนหลับ ซึ่งในระยะสั้นการใช้ยาจะช่วยให้นอนหลับได้ แต่ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุในเกิดอาการนอนไม่หลับ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แนวทางการปรับพฤติกรรมให้นอนหลับ มีดังนี้

  • ควรอย่างมากที่จะต้องค้นหาสาเหตุ ที่มาที่ไปของการนอนไม่หลับ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เชื่อว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนได้
  • การจัดห้องนอนให้เหมาะต่อการนอน การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และที่สำคัญบรรยากาศต้องเงียบ ส่งผลให้สมองผ่อนหลาย และ นอนหลับได้ดี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มันกระตุ้นสอง อย่างเช่น กาแฟ ชา หรือแม้กระทั่ง น้ำอัดลม
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย