ดอกคำฝอย นิยมนำคำฝอยมารับประทานและใช้ทำสีผสมอาหาร สรรพคุณบำรุงโลหิต น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนำมาทำยาได้ ลดการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย

ต้นคำฝอย ภาษาอังกฤษ เรียก Safflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกคำฝอย คือ Carthamus tinctorius L. จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย ได้แก่ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง ดอกคำ หงฮัว คำทอง เป็นต้น คำฝอยมีถิ่นกำเนิดใน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคเหนือ  จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

ดอกคำฝอยในประเทศไทย สำหรับดอกคำฝอยในประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์จากดอกคำฝอยหลากหลาย โดยนำมาแปรรูป เช่น ทำชา ทำสีผสมอาหาร ทำแคปซูน หรือ สะกัดเอาน้ำมันดอกคำฝอย แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญของประเทศไย อยู่ทางภาคเหนือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เจริญได้ดีในที่สูง แต่ไม่เกิน 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี  ไม่ชอบอาการร้อน ประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส อายุสั้น ใช้เวลา 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ขอบใบหยัก ปลายใบเป็นหนามแหลม ใบสีเขียว
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะดอกกลม กลีบดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
  • ผลคำฝอย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลคล้ายรูปไข่ ผลเบี้ยวๆ สีขาว เป็นผลแห้งไม่แตก
  • เมล็ดคำฝอยอยู่ในผลคำฝอย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะยาวรี เปลือกแข็ง สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในการรับประทานคำฝอย นิยมรับประทานดอกคำฝอย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอยมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) และ สารคาร์ทามีน ( carthamine )

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดโอเลอิก (Oleic Acid) กรดปาลมิติก (Palmitic Acid) กรดสเตียริก (Stearic Acid)

เมล็ดของดอกคำฝอย มีสารในกลุ่มลิกแนน ไกลโคไซด์ (Lignan Glycoside) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin)

สรรพคุณของดอกคำฝอย

มีการนำดอกคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งสรรพคุณของดอกคำฝอยมีทั้งการบำรุงสตรี บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และรักษาอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆได้ สรรพคุณของดอกคำฝอย มีดังนี้

  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ นอนหลับสบาย สามารถช่วนรักษาโรคทางจิตรเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโพเมาเนียร์ เป็นต้น
  • ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการป่วย
  • ช่วยขับระดูของสตรี แก้ปัญหาอาการประจำเดือนคั่งค้าง หรือ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • บรรเทาอาการปวด อาการประจำเดือน อาการปวดมดลูก และ ลดอาการอักเสบของมดลูก รักษาอาการตกเลือด ลดอาการปวดหลังคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ลดไขมันในเลือด ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไปล่อเลี้ยงหัวใจมากขึ้น
  • ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ขับของเสียออกทางรูขุมขน
  • รักษาอาการฟกช้ำดำเขียว รักษาอาการแผลกดทับ
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดฟันผุ

วิธีทำน้ำดอกคำฝอย มีวิธีการเตรียม ดังนี้ ใช้ดอกคำฝอยแห้งหาซื้อได้ทั่วไป กะปริมาณให้ได้ประมาณ 2 หยิบมือ ( คิดเป็นน้ำหนัก 2.5 กรัม ) เติมดอกเก๊กฮวย ลงหม้อ ประมาณ 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ครึ่งลิตร เคี่ยวจนงวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชา ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และ แบบเย็น ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง กรณีดื่มยาก สามารถเติมน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำผึ้ง ได้ 2-3 ช้อนชา ต่อน้ำดอกคำฝอย 1 แก้ว

โทษของคำฝอย

การใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจากคำฝอย ดังนี้

  • การรับประทานดอกคำฝอย อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • การรับประทานดอกคำฝอย ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สำหรับสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่รับประทานดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งลูกได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณหลากหลาย บำรุงกำลัง ลดอาการเหนื่อยล้า บำรุงเลือดสำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้นโด่ไม่รู้ล้มเป็นอย่างไร ใช้อย่างไร มีโทษหรือไม่

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly leaved elephant’s foot ชื่อวิทยาศาสตร์ของโด่ไม่ล้ม คือ Elephantopus scaber L. สมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันดี นิยมนำมาดองเหง้า ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย โด่ไม่รู้ล้มมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม หนาดมีแคลน ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม จ่อเก๋ เป็นต้น โด่ไม่รู้ล้ม พบขึ้นตามป่าโปร่งที่ดินค่อนข้างเป็นทรายทั่วๆ ไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าสนเขา ทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเขตร้อนทั่วโลก

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม 

โด่ไม่รู้ล้ม จัดเป็นพืชล้มลุกทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์หรือการแยกหัว ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะสั้นๆและกลม ความสูงประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ในระดับผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ
  • ใบ ลักษณะสาก กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใบรสขม ใบอยู่ระดับพื้นดิน
  • ดอก ลักษณะดอกเป็นช่อ แทงออกมาจากลำต้น ดอกเป็นรูปหลอด สีม่วง ดอกมีเกสรสีเหลือง ปลายดอกแหลม ฐานดอกเป็นติ่งแหลม

สรรพคุณโด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากโด่ไม่รู้ล้ม ด้านสมุนไพรการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น ราก และใบ สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม มีดังนี้

  • ทั้งต้น สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ไอ รักษาวัณโรค บำรุงหัวใจ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้อาการบวมน้ำ แก้เจ็บคอ รักษาแผลมีหนอง รักษาแมลงมีพิษกัดต่อย รักษาแผลปาก
  • ราก สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้อาการไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดู แก้ปวดฟัน รักษาฝี  รักษาแผลมีหนอง ลดอาการบวมอักเสบ เป็นยาบำรุง แก้อาเจียน
  • ใบ สรระคุณรักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง ลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย เป็นยาบำรุง แก้ไอ

โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากโด่ไม่รู้ล้ม ในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมดลูก ไม่ควรใช้ยาจาโด่ไม่รู้ล้ม เนื่องจากโด่ไม่รู้ล้ม มีสรรพคุณในการทำให้มดลูกบีบตัว อาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย