กระท้อน นิยมทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อนเป็นอย่างไรกระท้อน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Santol ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน เช่น สะตู สตียา สะโต เตียนล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง เป็นต้น ต้นกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย จากนั้นมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในเขตร้อน เช่น อินเดีย เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์

กระท้อนในสังคมไทย

สำหรับกระท้อนกับสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์มาช้านาน นิยมนำผลกระท้อนมาทำอาหารรับประทาน เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน เป็นต้น นอกจากนั้นไม้จากต้นกระท้อน สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น

สายพันธุ์กระท้อน

สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนมีหลายสายพันธ์ แต่กระท้อนที่ได้รับความนิยมสูงสูด ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง รายละเอียด ดังนี้

  • กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือที่นิยมบริโภคมากที่สุด ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย คือ ผลมีรสหวาน เปลือกนิ่ม ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่
  • กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี  ลักกษณะของกระท้อนอีล่า คือ มีผลขนาดใหญ่ เมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กระท้อนพันธุ์อีล่ามักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์
  • กระท้อนพันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมของ ตำบลตะลุง จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ทับทิม คือ ผลกลม ขนาดไม่ใหญ่มาก มีรสหวาน สีเหลืองนวล ผิวเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม กระท้อนพันธุ์ทับทิม ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก
  • กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธ์นิ่มนวล คือ รสหวานจัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์กระท้อนที่นิยมบริโภคมากที่สุด เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ผลกลมแป้น ขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระท้อน มีดังนี้

  • ลำต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
  • ใบกระท้อน ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบรี ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
  • ดอกกระท้อน ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล
  • ผลกระท้อน ลักษณะกลมแป้น ผิวของผลมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนมีสีเขียว และผลมีน้ำยางสีขาว ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งผลแก่จะมีน้ำยางน้อยลง ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

สำหรับการบริโภคกระท้อนจะนิยมบริโภคผลสุก นักโภชนาการไดคศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระท้อนขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ธาตุแคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระท้อน ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชนืจาก รากกระท้อน ใบกระท้อน ผลกระท้อน เปลือกผลกระท้อน และ เมล็ดของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน มีดังนี้

  • รากกระท้อน สรรพคุณใช้ทำเป็นยาธาตุ ช่วยแก้ปวดท้อง ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกระท้อน สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสีียออกจากร่างกาย
  • ผลกระท้อน สรรพคุณช่วยสมานแผล แก้อาการอักเสบ
  • เปลือกของผลกระท้อน สรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • เมล็ดกระท้อน สรรพคุณมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง

โทษของกระท้อน

ผลกระท้อน มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตไม่คสรรับประทานกระท้อนเป็นอาหาร นอกจากนั้น ในผลกระท้อนที่มีการนำมาทำอาหาร ตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ สารฟอกขาว ปนเปื้อน หากรับประทานมากเกิดไปอาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

กระท้อน สมุนไพรไทย นิยมรับประทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน เช่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อน เป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

แห้ว Water Chestnut แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้วแห้ว สมุนไพร สรรพคุณแห้ว

ต้นแห้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของแห้ว คือEleocharisdulcis Trin. สำหรับแห้วมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่สามารถรับประทานหัวแทนข้าวได้ แห้วจีน มีเนื้อมาก สีขาว รสหวาน จึงมีการแพร่กระจายปลูกในประเทศเขตอบอุ่น เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกาใต้ แห้ว นิยมรับประทานหัว และ ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง  หรือ แปรรูปเป็นแป้งสำหรับทำอาหารด้วย

ชนิดของแห้ว

สำหรับต้นแห้ว สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ แห้วหมู แห้วไทย และ แห้วจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู ลักษณะเด่นของแห้วหมู คือ ลำต้นขนาดเล็ก กลมสั้น แตกใบสูง หัวมีขนาดเล็ก เปลือกสีดำอมน้ำตาล หัวมีเนื้อแข็ง สีขาว รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
  • แห้วไทย ลักษณะเด่นของแห้วไทย คือ หัวมีขนาดเล็กกว่าแห้วจีน เนื้อหัวมีสีขาว เปลือกสีดำ แต่เมื่อต้มจนสุกเนื้อหัวจะเป็นสีเหลืองอ่อน ลักษณะใบเป็นสามเหลี่ยม ลำต้นสูงประมาณ 80 เซ็นติเมตร
  • แห้วจีน ลักษณะเด่นของแห้วจีน คือ หัวกลม มีเนื้อมาก เนื้อสีขาว แห้วจีนเป็นแห้วชนิดที่นิยมรับประทานมากที่สุด เนื่องหัวมีรสหวาน หัวขนาดใหญ่ เนื้อสีขาว

แห้วในประเทศไทย

สำหรับแห้วในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำหัวแห้วมาแปรรูปบรรจุกระป๋องและทำแป้ง โดยมีการนำแห้วจีนมาปลูกในประเทษไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการทดลองปลูกแห้วในนาข้าว โดยกำนันวงษ์ ต่อมามีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแหล่งปลูกแห้วในประเทศไทยมีการปลูกในแถบแม่น้ำท่าจีน ภาคกลางของประเทศไทย และ ปลูกที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาที่สุด

ลักษณะของต้นแห้ว

ต้นแห้ว เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงหนึ่งปี มีหัวอย่ใต้ดิน ชอบพื้นที่น้ำขัง ที่มีดินเป็นสภาพโคลนตมดี สามารถขยายพันธ์โดยการ แยกหน่อ แตกไหล ลักษณะของต้นแห้ว มีดังนี้

  • รากและหัวของห้ว แห้วมีรากเป็นแบบไรโซม มีการแตกไหล หัวแห้วมีลักษณะทรงกลม เปลือกของหัวแห้วในช่วงแรกจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำ ต้นแห้ว 1 ต้นจะมีหัวแห้ว 7 ถึง 10 หัว
  • ลำต้นแห้ว ลักษณะเป็นกก ลำต้นคั้งตรง ทรงกลม ลำตันแข็ง อวบน้ำ ความสูงของลำต้นประมาณ 1 เมตร
  • ใบแห้ว เป็นใบเดี่ยว ใบลักษณะยาวเหมือนใบหญ้า มีสีเขียว
  • ดอกแห้ว ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกแห้วออกบริเวณยอดของลำต้น ดอกแห้วจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ผลแห้ว แห้วมีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว นิยมรับประทานเนื้อของหัวแห้ว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแห้วขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 730 กิโลจูล มีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย น้ำ 48.2 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 32.1 กรัม กากใยอาหาร 14.9 กรัม น้ำตาล 3.3 กรัม แคลเซียม 17.6 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โซเดียม 0.8 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม

สรรพคุณของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแห้ว ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ด้านสมุนไพร ใช้ประโยชน์จาก หัวแห้ว และ ใบแห้ว สรรพคุณของแห้ว มีดังนี้

  • หัวแห้ว สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับน้ำนม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ท้องผูก แก้เมาสุรา รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยให้หูดอ่อนนิ่มลง
  • ใบแห้ว สรรพคุณแก้ปวดเหงือก แก้ปวดฟัน แก้ฟันผุ รักษาแผลในช่องปาก รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการปวดบวม

โทษของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว หรือ ใช้แห้วด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค นั้นเนื่องจากเนื้อแห้วมีความแข็ง การรับประทานแห้วที่เนื้อแข็งมาก จะส่งผลการระบบย่อยอาหาร ของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร หรือ ผู้ป่วยที่พึ่งผ่าการผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหาร

แห้ว ( Water Chestnut ) แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณของแห้ว ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้ว

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย