ข่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่วลิสง อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี กากใยอาหาร สรรพคุณบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำหนัก ต้นถั่วลิสงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชาการและโทษมีอะไรบ้าง

ถั่วลิสง สมุนไพร สรรพคุณของถั่วลิสง

ถั่วลิสง ภาษาอังกฤษ เรียก Peanut ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วลิสง คือ  Arachis hypogaea L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วลิสง เช่น  ถั่วคุด  ถั่วดิน ถั่วยิสง ถั่วยี่สง ถั่วลิง ถั่วใต้ดิน เหลาะฮวยแซ ถั่วยาสง เป็นต้น ถั่วลิสงอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี และ กากใยอาหาร มีสรรพคุณ เช่น บำรุงหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน ต้านมะเร็ง ราคาถูกเป็นอาหารที่หากินง่ายและได้ประโยชน์ไปในตัว

ถั่วลิสง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ สำหรับการปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย มีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตถั่วลิสงในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยแหล่งส่งออกถั่วลิสงที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน แอฟริกา อินเดีย อเมริกา

งานวิจัยเกี่ยวกับถั่วลิสง โดยทีมวิจัยของ ศาตราจารย์วอร์เตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่รับประทานถั่วลิสงทุกวันกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน พบว่าผู้ที่รับประทานถั่วลิสงทุกวันจะมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานอย่างมีนัยสำคัญ  และ คนที่กินถั่วลิสงมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้ที่ไม่รับประทานถั่วลิสงมากถึงสองเท่า

ลักษณะของต้นถั่วลิสง

ต้นถั่วลิสง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วลิสง มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วลิสง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขน ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นเลื้อย และ เจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย
  • ใบถั่วลิสง ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก สลับกันอยู่บนข้อลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ปลายแหลม
  • ดอกถั่วลิสง ลักษณะดดอกออกเป็นช่อ ดอกจะเกิดตามมุมใบของลำต้นหรือกิ่ง ดอกมีสีเหลืองส้ม กลีบรองดอกสีเขียว ก้านดอกสั้นมาก
  • ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงจะอยู่ใต้ดิน แพร่กระจายเป็นกระจุก เปลือกของฝักมีลักษณะแข็งเปราะ มีลายเส้นชัด ฝักมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วลิสง อยู่ภายในฝักภั่วลิสง เมล็ดถั่วลิสงจะมีเยื่อหุ้มสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง

สำหรับการบริโภคถั่วลิสงเป็นอาหารนั้น นิยมรับประทานเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 570 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม น้ำ 4.26 กรัม น้ำตาล 0 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 48 กรัม ไขมันอิ่มตัว 7 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 24 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 16 กรัม โปรตีน 25 กรัม วิตามินบี1 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี3 12.9 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี9 246 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 184 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 336 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 332 มิลลิกรัมและธาตุสังกะสี 3.3 มิลลิกรัม

เมล็ดถั่วลิสงมีน้ำมันเป็นองศ์ประกอบ ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ซึ่งน้ำมันถั่วลิสงมีประโยชน์มาก เนื่องจากมีโอเลอีน และกรดอะมิโนมีประโยชน์ในการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยสร้างภูมคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี น้ำมันถั่วลิสงค์ เมล็ดถั่วลิสงสะสมของธาตุอาหารที่มีประโยชน์มากมายน้ำมันถั่วลิสงยังเป็นไบโอดีเซลได้ สามารถเติมเครื่องยนต์ดีเซลได้ ทนแทนการใช้น้ำมันได้

สรรพคุณของถั่วลิสง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ด น้ำมันถั่วลิสง ใบ สรรพคุณของถั่วลิสง มีดังนี้

  • น้ำมันถั่วลิสง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยระบายท้อง ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แก้อาการปวดตามข้อและอาการตามกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
  • ใบถั่วลิสง สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต รักษาแผลฟกช้ำ แผลหกล้มกระแทก และแผลมีหนองเรื้อรัง
  • เมล็ดถั่วลิสง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมองและประสาทตา ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงปอด รักษาอาการไอแห้งเรื้อรัง ช่วยรักษาอาการไอกรน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาพยาธิไส้เดือนที่อุดตันในลำไส้ ช่วยบำรุงม้าม ช่วยห้ามเลือด ช่วยแก้อาการปลายเท้าเป็นเหน็บชา ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ

โทษของถั่วลิสง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสง ต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยโทษของถั่วลิสง มีดังนี้

  • ถั่วลิสงมีสารพิวรีน ( Purine ) ปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ข้ออักเสบมากขึ้น
  • ถั่วลิสงอาจมีสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา คือ สารอะฟลาทอกซิน ( Aflatoxin ) ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ หัวใจ และสมองบวม อาจทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก และตับถูกทำลายได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย