โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที การรักษาทำอย่างไรโรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของการเกิดโรคที่หลากหลาย เช่น กรรมพันธุ ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ทำให้มีอาการชักตามมา ส่วนพบมากในเด็กที่มีสุขภาพปกติ มีพัฒนาการที่ดี ไม่มีปัญหาทางสมองใดๆ แต่ก็อาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในสมอง อาการชักอาจไม่ได้หมายถึงโรคลมชักเสมอไป

ประเภทของอาการชัก

สำหรับอาการชัก เกร็ง กระตุก สามารถแบ่งลักษณะอาการของการชัก ได้เป็น 3 ประเภท คือ อาการชัก อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ และ โรคลมชัก รายละเอียด ดังนี้

  • อาการชัก ( Seizure ) เกิดจากความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมองชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายเองได้หากสามารถรักษาสาเหตุของอาการชักได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคสมองอักเสบ ภาวะการขาดวิตามิน เป็นต้น
  • อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ( Convulsion ) ลักษณะอาการคล้ายกับอาการชัก แต่อาจไม่ใช่อาการเกร็งกระตุกไม่ใช้อาการชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งของคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
  • โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ อาการผิดปรกติของสมองเกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการชัก

สาเหตุโรคลมชัก

สำหรับโรคลมชักในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของสาเหตุที่ชัดเจน มักเกิดจากการที่สมองถูกการกระทบกระเทือน ทั้งนี้ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมี ที่ถูกเรียกว่า สารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายก็อาจทำให้สมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก ซึ่งโรคลมชัก สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้  2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและกลุ่มที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุได้แน่ชัด ( Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ มีความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายเอง
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ( Secondary Epilepsy ) เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง กอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การเสพยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักมีทั้งที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนและไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราสามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุ ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดลมชักมากที่สุด คือ วัยเด็ก และ วัยสูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว หากในครอบครัวนั้นมีประวัติว่ามีผู้ป่วยโรคลมชัก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักในครอบครัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองถูกทำลาย จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชัก
  • ภาวะสมองเสื่อม ( Dementia ) มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  • ภาวะติดเชื้อที่สมอง ( Brain Infections )
  • มีประวัติชักในวัยเด็ก อาจทำให้ความเสี่ยงโรคลมชักเพิ่มขึ้นหากมีอาการชักที่ยาวนาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทอื่น ๆ รวมทั้งมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว

อาการโรคลมชัก

สำหรับอาการของโรคลมชัก จะแสดงความผิดปรกติให้เห็นชัดเจน จากอาการชัก ไม่สามารถควบคุมร่างกายอย่างมีสติได้ โรคนี้หากอยู่คนเดียวจะเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำกิจกรรมหลาย เช่น ทำงานบนที่สูง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถ  เป็นต้น ลักษณะของอาการชัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการชักเฉพาะส่วน และ อาการชักแบบต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้

อาการชักเฉพาะส่วน ( Focal Seizures ) คือ เกิดอาการชักบางส่วนในร่างกาย ซึ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการชักเฉพาะส่วนแบบรู้ตัว และ อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว รายละเอียดดังนี้

  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบชักแบบรู้ตัว (Simple Focal Seizures) ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกวูบ อาจเกิดจากความกลัวอย่างกะทันหัน รู้สึกชาที่แขนและขา หรือ มีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น อาการชักมีสัญญาณเตือนของอาการชักผู้ป่วยและคนรอบมักจะเตรียมรับมือได้ทัน
  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว ( Complex Partial Seizures ) ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอาการชักก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเวลาใด

อาการชักต่อเนื่อง ( Status Epileptics ) อาการชักชนิดนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาที เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสมอง

แนวทางการวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากระบบประสาทและสมอง มีความซับซ้อนมาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และ ใช้เครื่องมือที่มีความพิเศษสูง จึงจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การแสกนเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

แนวทางการรักษาโรคลมชักขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค บางครั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ใช้การรับประทานยาต้านอาการชัก ซึ่งกลไกหลักของยาต้านอาการชักคือ ยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนปริมาณสารเคมีในสมองช่วยลดโอกาสการเกิดอาการชัก ในกรณีที่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการชัก อาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation )  และ กระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation )

  • หากผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก และ ตั้งครรภ์ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ยาลดการชักมีผลต่อทารกในครรภ์ ทางที่ดีให้คุมกำเนิดรอจนอาการชักหายเป็นปกติก่อนดีกว่า
  • หากต้องเดินทางควรรับประทานยาให้ตรงเวลา ไม่ควรเลื่อนการรับประทานยา
  • ในเด็กหากต้องไปโรงเรียนจะต้องแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ เพื่อ ไม่ให้เกิดการแตกตื่น และ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทันเวลา

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค สิ่งที่สามารถป้องกัน คือ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบ โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมป้ายข้อมือทางการแพทย์ ระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบว่าต้องช่วยผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

โรคลมชักEpilepsy ) คือ ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที แนวทางการรักษาทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิด แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไรหัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ ซึ่งปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตรานี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และ เกิดอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่การเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน การหยุดเต้นในบางเวลา สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายสาเหตุซึ่งมีปัจัยการเกิดโรคอยู่ 2 สาเหตุ คือ ความผิดปรกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายละเอียด ตามนี้

  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ  เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแอมเฟตามีน
  • การชอบดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และ น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแสดงอาการ คือ มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้ ซึ่งโรคนี้จำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างใกล้ชิด ซึ่งสำหรับอาการของโรคสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • อาการหน้ามืด
  • อาการใจสั่น
  • อาการหายใจขัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อาการแน่นหน้าอก

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค แพทยจะทำการสอบถามอาการ ประวัติผู้ป่วย และ ประวัติการรักษาโรค และ ตรวจหัวใจ โดย การตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ตรวจขนาดหัวใจ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานต่อมไทรอยด์ และ ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูโครงสร้างหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยารักษาโรค รวมถึงการใช้เครื่องมือรักษาต่างๆ เช่น การกระตุ้นไฟ้า การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาจะเป็นยาคลายเครียด เพื่อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ เป็นยาช่วยกระตุ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของดรค
  • รักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( pacemaker ) เป็นเครื่องมือขนาดเล็กโดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า  และ สอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยในการควบคุมและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอก เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาใช้รักษาสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • การรักษาด้วยการใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ( ablation therapy ) เป็นการสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ และ ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ( implantable cardioverter defibrillator ) เป็นเครื่องมือกระตุ้นหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ( ventricular fibrillation )

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยที่สามารถความคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด และ วิตกกังวล
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และ หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอด หม้ามืด เป็นลม ควรรีบพบแพทย์

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย