โรคหน้าเบี้ยว อัมพาตเบลล์ Bell’s palsy ความผิดปรกติของเส้นประสาทคู่ที่7 ทำให้ ใบหน้าผิดรูป ปากเบี้ยว ข้างใดข้างหนึ่ง พบได้ทุกเพศทุกวัย  สาเหตุและรักษาอย่างไร  

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท

โรคหน้าเบี้ยว ( Bell’s palsy ) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ อัมพาตชั่วขณะ สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ  ซึ่งสาเหตุของความผิดปรกติมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม ( Herpes simplex virus ) งูสวัด ( Herpes zoster ) ที่แฝงอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เกิดภาวะความผิดปรกติของการควบคุมประสาทของใบหน้า สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ปกติแล้วโรคนี้จะหายได้ 80% ขึ้นไป ใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์หรือนานที่สุด สามเดือน รักษาด้วยยาและการผ่าตัด

สาเหตุของการเกิดโรคหน้าเบี้ยว 

สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยความผิดปรกตินั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • โรคเนื้องอกในสมอง และก้อนเนื้อไปกดทับเส้นประสาทควบคุมใบหน้า
  • เส้นประสาทคู่ที่ 7 ผิดปกติ อักเสบหรือกระทบกระเทือน
  • ความผิดปกติของก้านสมอง แต่พบเป็นส่วนน้อย
  • การติดเชื้อไวรัสเริม HSV1

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย และหลังคลอดบุตร
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสูง ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับอาการเบื้องต้นที่พบส่วนมาก คือ หลับตาได้แต่ไม่สนิทควบคุมไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา ข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว ดื่มน้ำไม่ได้ มีน้ำไหลออกจากข้างปากควบคุมไม่ได้ ลิ้นรับรสได้ไม่ดีเหมือนก่อน หูอื้อข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • แขนขาอ่อนแรงโดยเป็นข้างเดียวกันกับปากที่เบี้ยว
  • เห็นภาพไม่ชัด เกิดภาพซ้อน
  • ทรงตัวไม่ได้ วินเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
  • ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุมปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
  • บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู
  • ระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
  • รับรสชาติได้น้อยลง

การรักษาโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น โดยมากผู้ป่วยจะดีขึ้น และสามารถหายได้เองภายใน 6 เดือน แต่หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณเพียงร้อยละ 65 หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึงร้อยละ 97 โดยการรักษา จะเป็นการให้ยารักษาโรค เช่น ให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวให้ปลอดจากการเกิดโรคหน้าเบี้ยว มีวิธีดังนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เช่น รับประทานอาหารรสไม่จัด ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผักและผลไม้ ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
  • สำหรับกรณีที่เกิดอาการ ถ้าหากไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ไม่ต้องตกใจ สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์เพราะจะเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ดูแลสุขลักษณะเบื้องต้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease ภาวะเซลล์สมองเสื่อมตามวัย หลงๆลืมๆ เกิดกับคนสูงอายุ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย โรคระบบประสาทและสมอง การรักษาและป้องกันทำอย่างไร

อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease ) คือ ภาวะเซลล์สมองเสื่อมลง เนื่องจากภาวะเสื่อมตามวัย ส่งผลให้เกิดอาการหลงๆลืมๆ เกิดกับคนอายุ 60 ปี ขึ้นไป โรคระบบประสาทและสมอง โรคที่รักษาไม่หาย แต่ชะลอการเสื่อมของสมองได้ โรคสมองเสื่อม ที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ผู้ค้นพบเป็นชาวเยอรมัน ชื่อ Alois Alzheimer ค้นพบในปี 1956 โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเกิดอาการหลงลืม ความทรงจำต่างๆ อาการจะค่อยๆเกิดขึ้น จนอาจจะรุนแรงถึงขนาดลืมการทำกิจวัตรประจำวันเบื้องต้น จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่อายุเกิน 60 ปีจะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนิดหน่อย หากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็เหมือนเดิมได้เพียงแต่สามารถชะลอหรือบรรเทาอาการให้เกิดขึ้นช้าลง หรือ รุนแรงน้อยลงได้ เมื่อป่วยมักจะมีอายุต่อไปได้อีกประมาณสิบปีและจะเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมยังไม่มีความชัดเจนมากนั้น แต่ มีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเสือมของสมองเร็วขึ้น มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์ โรคนี้ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยป่วยโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป
  • ผู้ป่วยดาว์ซินโดรม หรือ ปัญญาอ่อน เมื่อมีอายุมากขึ้น มากกว่า 40 ปีจะมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ร่วมด้วย
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อสมองจะเสื่อมลงตามการเวลาทำให้ความสามารถเรื่องความจำลดลงตามอายุ
  • การได้รับการกระทบกระเทือนที่สมองจากแรงกระแทก เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่สมองต่างๆ
  • โรคอ้วน และโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว
  • การได้รับสารโลหะต่างๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น  ปรอท อะลูมิเนียม ตะกัว
  • การรวมตัวของกลุ่มโปรตีนที่ล้อมรอบเซลล์สมอง ทำลายเนื้อสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส และ เอนโทรินอลคอลเทค ซึ่งมีความสำคัญในเรื่องของความจำ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเคลื่อนไหวร่างกาย จะลดถูกประสิทธิภาพการทำงานลงเรื่องๆ
  • การเกิดเส้นใยโปรตีนรวมตัวกันมากผิดปกติ เกิดโปรตีนที่เป็นพิษต่อสมอง ทำให้เซลล์ประสาทค่อยๆตายไป จนเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

อาการเริ่มต้นของความเสื่อม มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ รับข้อมูลใหม่ๆไม่ได้ ลืมง่าย แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ยังสามารถคิดเรื่องซับซ้อนได้ เมื่อทดสอบสภาพจิตและความจำจะยังไม่สามารถตรวจพบได้ อาการเหล่านี้จะยังคงอยู่ประมาณยี่สิบปีก่อนการป่วยระยะถัดไป

  • โรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น คือ มีความทรงจำที่สั้น การหลงลืมสิ่งของภายในบ้านแม้จะใช้ประจำ การพูดซ้ำ ถามซ้ำ การใช้ชีวิตเริ่มไม่ปกติ เช่น ลืมสถาณที่ที่จะไป ลืมเส้นทางการกลับบ้าน เริ่มเก็บตัวไม่อยากออกนอกบ้าน แต่ยังสามารถสื่อสารได้ แต่การเคลื่อนไหวร่างการเริ่มไม่คล่องตัว ติดขัด อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความวิตกกังวลมาก
  • โรคอัลไซเมอร์ระยะกลาง คือ ความจำเสื่อมถอย จดจำชื่อคนรู้จักเพื่อนฝูงไม่ได้ การสื่อสารบกพร่อง สื่อสารไม่เข้าใจ เริ่มอ่านเขียนไม่ได้ มีปัญหาการทำกิจวัตรประจำวัน มีความกระวนกระวายใจตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว ซึมเศร้า หลงลืมตัวตน ไม่เข้าใจมารยาททางสังคม การไม่รู้เนื้อรู้ตัวในการกระทำของตน
  • โรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย คือ ไม่สามารถจดจำการทำกิจวัตรประจำวันได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแล สื่อสารไม่ได้ จำภาษาไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ การขับถ่าย การกิน ต้องมีผู้ช่วยตลอดเวลา อาจจะเสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เพราะการดูแลที่ไม่ดีพอ เช่น การติดเชื้อ การขาดสารอาหาร ขาดน้ำ ขาดเกลือแร่

การตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจสมองโดย เอกซเรยย์
  • การตรวจเลือดดูภาวะฮอร์โมน
  • การตรวจสภาพจิต
  • การตัดชิ้นเนื้อสมองตรวจทางพยาธิวิทยา
  • ผู้ป่วยมักไม่รู้ตนเองว่าป่วยดังนั้นญาติที่ใกล้ชิดเมื่อสังเกตุว่าผู้ป่วยมีอาการหลงลืมบ่อย และพฤติกรรมต่างๆเปลี่ยนไปตามที่กล่าวข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อการเตรียมการแต่เนิ่นๆ

การรักษาโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่สามารถชะลออาการได้ โดยแนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยา Galantamine Donezpezil Memantine Rivastigmin ช่วยบรรเทาอาการ
  • การเสริมวิตามินอี
  • การทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง เช่น ศิลปะ ดนตรี
  • การรวมกลุ่มระลึกถึงอดีต การพูดคุยกันในกลุ่ม
  • การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยญาติ จะต้องอดทนและเสียสละเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และหากปล่อยให้ออกสู่ภายนอกอาจจะสร้างปัญหาแก่บุคคลอื่นจึงต้องการการดูแลด้วยความอดทน และกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

  • อย่าทิ้งผู้ป่วยไว้คนเดียว
  • หมั่นพาผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ การรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
  • อย่าให้ผู้ป่วยทำธุระกรรมต่างๆเพียงลำพังควรมีผู้ใกล้ชิดไว้ใจได้เป็นผู้ดูแล
  • ควรเขียนป้ายชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อห้อยคอ หรือ ใส่ไว้ในกระเป๋าผู้ป่วย ป้องกันการพลัดหลง
  • จัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และปลอดภัย ไม่ควรวางอุปกรณ์อันตรายใกล้มือผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์ติดไฟ ของมีคม ต่างๆ
  • ครอบครัวควรร่วมมือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อลดความเครียดวิตดกังวลทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติผู้ดูแล

การป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  • ลดอาหารหวานมันเค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคอัลไซเมอร์  
  •  ทำกิจกรรมการฝึกการใช้สมองให้มาก เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นเกมส์ใช้สมองต่างๆ การฝึกเล่นดนตรี การเรียนภาษาใหม่ๆ
  • การรักประทานผักผลไม้ วิตามินต่างๆ อาหารที่มีประโยชน์ เช่น ธัญพืช วิตามินบี12 วิตามินซี
  • การให้ฮอรโมนเอสโตรเจน มีการวิจัยพบว่าฮอร์โมนหญิงช่วยชะลอการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย