ชะคราม ช้าคราม พืชตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้างชะคราม สมุุนไพร วัชพืช สรรพคุณของชะคราม

ต้นชะคราม ( Seablite ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม คือ Suaeda maritime (L.) Dumort. ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม เช่น ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะคราม เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพความเค็มของชายทะเลได้ ถิ่นกำเนิดของชะคราม อยู่ประเทศที่มีภูมิประเทศติดชายทะเล สำหรับประเทศไทย พบได้ตามป่าโกงกาง และ ชายทะเล ในภูมิภาคต่างๆ

ใบชะคราม นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งอาหารไทยที่มีใบชะครามเป็นส่วนประกอบ มีหลายเมนูอาหาร เช่น ยำใบชะครามทะเล แกงเลียง แกงคั่ว ห่อหมก แกงส้ม เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะคราม

ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นชะคราม มีดังนี้

  • ลำต้นชะคราม ลำต้นแตกกิ่งสาขาจำนวนมาก เป็นลักษณะพุ่มขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอ่อนสีเขียว ลำต้นแก่สีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ ลำต้นอ่อนอวบน้ำ
  • รากของชะคราม มีรากแก้วที่แทงลึกลงดิน เป็นแนวตั้ง และ มีรากแขนง แทงออกตามด้ายข้างขนานกับพื้น
  • ใบชะคราม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบออกตามกิ่งต่างๆ ใบลักกษณะกลมยาว อวบน้ำ ปลายใบแหลม ใบชะครามอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกชะคราม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว กลีบดอกแก่มีสีแดง
  • ผลชะคราม ลักษณะทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  เมล็ดมีสีน้ำตาล ลักษณะมันวาว

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

การบริโภคชะคราม นิยมรับประทานใบชะครามเป็นอาหาร ซึ่งสามารถรับประทานทั้งแบบใบสด และ ใบลวก ได้ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด และ ใบชะครามลวก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามลวกมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.10% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.58% คาร์โบไฮเดรต 2.49% โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม

ใบชะครามสดมีสารอาหาร ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.40% ไขมัน 0.15% โปรตีน 1.81% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 2.97% โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม  เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะคราม

การใช้ประโยชน์จากชะคราม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย  สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบชะคราม รากชะคราม และ ลำต้นชะคราม สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • รากชะคราม สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก รักษาแผลฝี แก้น้ำเหลืองเสีย แก้อาการผื่นคัน รักษาโรคผิวหนัง และ รักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
  • ใบชะคราม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลบวมหนอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้ตามัว บำรุงเส้นผมและรากผม รักษาอาการผมร่วง
  • ลำต้นชะคราม สรรพคุณบำรุงเส้นผมและรากผม รักษาผมร่วง

โทษของชะคราม

  • ใบชะคราม มีกลิ่นฉุ่น สำหรับคนที่ไม่เคยชินในการกินใบชะคราม อาจทำให้อาเจียนได้
  • กลิ่นฉุนของใบชะคราม ทำให้กลิ่นตัวและกลิ่นปาก แรง ให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ชะคราม ช้าคราม วัชพืช พืชล้มลุกตามชายฝั่งทะเล พบมากที่จังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงคราม ต้นชะครามเป็นอย่างไร สรรพคุณ เช่น บำรุงเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง คุณค่าทางโภชนาการมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลู ต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลูทำให้เป็นนิ่วในไตชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นชะพลู ( Wildbetal leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู คือ Piper sarmentosum Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ผักพลูนก , พลูลิง , ปูลิง , ปูลิงนก , ผักปูนา , ผักแค , ผักอีเลิด , ผักนางเลิด , ช้าพลู , นมวา เป็นต้น ชะพลู พืชพื้นบ้าน ตระกูลพริกไทย ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูง นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร เช่น เมี่ยงคำ แกงกะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือ นำมากินกับน้ำพริก แต่ใบชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือ รับประทานอย่างเป็นประจำ

ลักษณะของต้นชะพลู

ชะพลู พืชตระกลูเดียวกับพริกไทย เป็นพืชล้มลุก พืชคุลมดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่ชะพลูชอบดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ชะพลู สามารถขยายพันธุ์ โดยการแยกเหง้า หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู มีลักษณะตั่งตรง เกาะตามหลักหรือเสา สูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นเป็นข้อๆ
  • ใบชะพลู ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบสีเขียวสด ผิวใบเรียบนูน ลักษณะมันวาว ใบมีกลิ่นหอม ใบออกตามข้อของลำต้น
  • ดอกชะพลู ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกชะพลูเป็นทรงกระบอก ดอกอ่อนชะพลูมีสีขาว ดอกแก่ชะพลูสีเขียว ดอกแทงออกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู ผลชะพลูมีสีเขียว ลักษณะมัน ผลออกบนช่อดอก ลักษณะเล็กกลมฝังตัวในช่อดอก ดอกชะพลูออกในฤดูฝนของทุกปี

คุณค่าโภชนากการของชะพลู

ใบชะพลู นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สารอาหารสำคัญใน ใบชะพูล เช่น แคลเซียม เบต้าแคโรทีน น้ำมันหอมระเหย ( Volatile Oil ) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการชองใบชะพลู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 6.09 กรัม โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม และ เบต้าแคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับชะพลู มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ชะพลู สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้ง รากชะพลู ลำต้นชะพลู ใบชะพลู และ ผลชะพลู สรรพคุณของชะพลู มีดังนี้

  • รากชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงเลือด
  • ลำต้นชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • ใบชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ผลชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร
  • ดอกชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม

โทษของชะพลู

สำหรับการบริโภคชะพลู ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประมานมากเกินไป และ รับประทานติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู มีดังนี้

  • ใบชะพลูมีสารออกซาเลทสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป การสะสมสารออกซาเลทมากๆ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต สำหรับการขับสารออกซาเลท ต้องดื่มน้ำตามมากๆ สารออกซาเลตจะเจือจางลง โดยทางการปัสสาวะ

 

ชะพลู พืชล้มลุก ตระกลูพริกไทย นิยมรับประทานใบชะพลู ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของใบชะพลู ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลู ทำให้เป็นนิ่วในไต

 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย