หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง พบบ่อย ในกลุ่มคนำงานออฟฟิต ปวดหลังแปร็บๆ รักษาอย่างไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดอาหารปวดคอ ปวดหลัง และปวดตามร่างกายหลายๆจุดตามเส้นประสาทที่ถูกกระดูกกดทับ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่าผิดทาง เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟน นั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก เป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต่างๆจากอาการปวดแบบทั่วไป ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ อาการปวดที่ตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลัง
หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดบ่อยในคน 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก โดยรายละเอียด ดังนี้
- กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม หากออกแรงหรือใช้แรงมากๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้ในทันที
- กลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายหนัก โลดโผน ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่าย รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน การนั่งทำงานนานๆเป้นสาเหตุของการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทับส้นประสาทได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะการกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน มักพบว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนมากพบในวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป
สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้น สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นจนไปไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอักเสบของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงเส้นประสาท ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervertebral Disc ) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลางจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่ ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น และ ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง
หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้
- การได้รับการกระทบกระเมือนจากแรงกระแทก แรงอัด เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ
- การนั่งนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
- การทำงานที่ต้องก้มบ่อยๆ
- การทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
- น้ำหนักตัวมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สำหรับอาการของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก แบ่งอาการต่างๆได้ดังนี้
- อาการปวดช่องเอว อาการปวดเอวเป็นๆหายๆ
- ก้ม เงย นั่งนานๆ มักจะมีอาการปวดมาก
- ปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง เท้า
- อาการปวดช่องคอจนลามไปถึงแขน
- อาการชาที่มือและปลายนิ้ว
- อาการปวดร้าวที่แขน
- ปวดคอ สะบักเรื้อรัง
- เคลื่อนไหวผิดปกติ
การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สำหรับแนวทางการรักษาสามารถทำได้ด้วยการรักษาตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาโรค และ ผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาของแพทย์
- ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นสาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เร็วกว่าปรกติ เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเป็นมากกว่าเดิม และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
- การทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย
- การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
แนวทางการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- อย่าปิดตัวแรงๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มขึ้นได้
- เมื่อจำเป็นต้องยกของหนักควรย่อเข่าแล้วยก ไม่ควรยกโดยการก้ม หรือ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรยกของหนักเลย
- เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ ควรลุกเดินบ้าง สลับกันไป
- ควรมีหมอนหนุนหลังในเก้าอี้ที่ทำงาน
- เวลาลุกจากจากการนอนให้ค่อยๆลุก หรือ นอนคว่ำแล้วใช้แขนดันให้ลุกขึ้น
- ลดหมอนให้เตี้ยลง
- นอนตะแคงมากขึ้น
- พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- เมื่อมีอาการชา ตามมือ ตามเท้า ให้ปรึกษาแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อความเสี่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม
- งดยกของหนักหากไม่จำเป็น
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนัก
- อย่านั่งนานๆ ให้ยืน เดิน สลับกันไป
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้