หัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติของเด็กตั้งแต่ในท้องแม่ อาการตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันทำอย่างไร
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปรกติของหัวใจโดยกำเนิด เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งจากสาเหตุนี้ส่งผลต่อร่างกายต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง อัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 80 ของเด็กที่ป่วยโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่ความผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้นตั้งแต่การสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกในครรภ์ของมารดา และอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือ การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ดังนี้
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากมารดา
- ความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
- ภาวะการผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งพบมากในเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม
- การติดเชื้อโรคในระหว่างการตั้งครรภ์
- การได้รับสารเคมีตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น สารเคมี ยาเสพติดต่างๆ
ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ หัวใจพิการชนิดเขียว และ หัวใจพิการชนิดไม่เขียว รายละเอียด ดังนี้
- หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดเขียว เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดภาวะขาดออกซิเจนทำให้ผิวเป็นสีเขียวคล้ำม่วง ซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน คือ ขณะเด็กร้องไห้ หรือ เด็กดูดนม จะเขียวมากขึ้น
- หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดไม่เขียว เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ อาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท หรือไม่กว้างเท่าปกติ
อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สำหรับอาการของโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จะแสดงอาการให้เห็นจากลักษณะการหายใจและผิวพรรณ โดยสามารถสังเกตุอาการผิดปรกติเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ผิวเป็นสีเทา หรือ สีเขียว โดยเฉพาะ ริมฝีปาก ผิวหนัง นิ้วมือ และเท้า
- อาการหายใจผิดปรกติ หายใจเร็ง เจ็บหน้าอก และ หายใจลำบาก
- มีอาการบวม โดยเฉพาะ ขา ท้อง และ รอบดวงตา
- ไม่ยอมกินอาหาร
- การเจริญเติยโตของเด็กช้า ไม่เป็นตามปรกติ
- เหนื่อยง่าย
- เวียนหัว หรือ หมดสติ
- หัวใจเต้นผิดปกติ
การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความรุนแรงของอาการป่วย โดยวิธีที่แพทย์อาจนำมาใช้ในการรักษา มีดังนี้
- การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
- การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ
- การสวนหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปิดหลอดเลือดหรือผนังหัวใจที่มีรูเปิดผิดปกติ เป็นต้น
- การผ่าตัดหัวใจ ต้องผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปิดรอยรั่วในหัวใจ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
- การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หากปัญหามีความซับซ้อนและการรักษาไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ควรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จากการวางแผนการตั้งครรภ์ และ ดูแลทารกตั้งแต่ในครรภ์ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้
- ควรปรึกษาแพทย์ เรื่องการใช้ยา และ การรับประทานอาหาร ในระหว่างการตั้งครรภ์
- หากคนในครอบควรมีประวัติโรคหัวใจพิการ ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
- เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์
โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติตั้งแต่ในท้องแม่ ควรดูแลร่างกายในขณะตั้งครรภ์ ลักษณะอาการเด็กตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้