อบเชย สมุนไพร เครื่องเทศ เครื่องหอม ประโยชน์และโทษ

อบเชย สมุนไพร เปลือกอบเชยเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และ ปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นอบเชย ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

อบเชย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นอบเชย ( Cinnamon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ  สะวง กระดังงา ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น อบเชย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อบเชยสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และ ราคาแพงที่สุด คือ อบเชยศรีลังกา ซึ่งในอบเชยมีสารเคมีและน้ำมันระเหยที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

ลักษณะของต้นอบเชย

ต้นอบเชย เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของอบเชย ลักษณะของต้นอบเชย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นอบเชย ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 ถึง 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีเทา ลักษณะหนา มีกลิ่นหอม
  • ใบอบเชย เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบอบเชยคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกอบเชย ออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกอบเชยมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกอบเชยมีกลิ่นหอม
  • ผลอบเชย ลักษณะทรงไข่ สีดำ

ชนิดของอบเชย

สำหรับอบเชย ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด และ แต่ละชนิดมีคุณภาพที่แตกต่างกัน  เปลือกของอบเชยมีน้ำมันหอมระเหย และ ให้กลิ่นหอม โดย อบเชยมีมากกว่า 16 สายพันธ์ทั่วโลก และ มีสายพันธ์หลักๆ 5 สายพันธ์ คือ อบเชยไทย อบเชยชวา อบเชยญวน อบเชยจีน และ อบเชยเทศ รายละเอียดของอบเชยสายพันธ์ต่างๆ มีดังนี้

  • อบเชยไทย พบได้ในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือ ป่าดงดิบทั่วไป ทรงพุ่มกลม อบเชยไทย เป็น พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง
  • อบเชยชวา หริือ อบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นอบเชยที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยญวน ลักษณะลำต้นคล้ายอบเชยจีน มีกลิ่นหอม แต่กลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีในประเทศไทย
  • อบเชยจีน พบในประเทศจีนแถบมณฑลกวงสี ยูนนาน และ กวางตุ้ง
  • อบเชยศรีลังกา พบมากในประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นอบเชยที่มีราคาแพงที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

อบเชยนำเอาเปลือกตากแห้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหาร โดยนำเปลือกมาตากแห้ง และให้กลิ่นหอมในอาหาร และ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาใช้อย่างยาวนานมาก ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอบเชย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผงอบเชย พบว่า อบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงาน 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

น้ำมันสกัดจากเปลือกของอบเชย มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae น้ำมันระเหยจากอบเชย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Cinnamic aldehyde , Cinnamyl acetate , Phenyl-propyl acetate , Tannin, Latax และ ยาง เป็นต้น

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับการนำเอาอบเชยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ซึ่งโดยส่วนมากคนจะรู้จักอบเชย จากเปลือกอบเชย นำมาบดผสมในเครื่องเทศ และ นำมาต้มพะโล้ หรือ แกงกะทิต่างๆ แต่ สรรพคุณของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ดอก ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เปลือกอบเชย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก
  • ใบอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม

โทษของอบเชย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอบเชย มีข้อควรระวังในการบริโภค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • น้ำมันอบเชบ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายสำหรับกลุ่มคนต่างๆ เช่น คนมีไข้ คนที่มีปัสสาวะเป็นเลือด คนมีภาวะปัสสาวะขัด คนอุจจาระแข็งแห้ง ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร เด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ และ สตรีมีครรภ์ กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ควรกินน้ำมันอบเชย
  • การกินอบเชยในปริมาณที่มากเกินไป มีผลอันตรายต่อตับ เนื่องจากอบเชยมีสารคูมาริน ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังการคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานอบเชยในปริมาณมากเกินไป
  • อบเชยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหล ควรหลีกเลี่ยงการกินอบเชย
  • อบเชยทีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก สำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร หรือมีิอาการท้องผูก ไม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอบเชย

Last Updated on April 19, 2023