การบูร พืชมีผลึกสีขาว กลิ่นหอม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ต้นการบูรเป็นอย่างไร สรรพคุณของการบูร เช่น ช่วยกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว แก้เวียนหัว แก้มึนเมา โทษของการบูร

สมุนไพร การบูร

การบูร คือ ผลึกธรรมชาติที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ซึ่งจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ต้นการบูร และพบมากที่สุดในแก่นของราก และ แก่นของต้น ส่วนในใบและยอดอ่อนของต้นการบูร มีผลึกการบูรน้อย ลักษณะของผลึกการบูร เป็นเกล็ด กลม ขนาดเล็ก  สีขาว จับกันเป็นก้อนร่วนๆแตกง่าย หากทิ้งเอาไว้ผลึกที่มีกลิ่นหอมของการบูรจะเหิดไปหมด การบูรที่พบในท้องตลาดลักษณะเป็นของแข็งสีขาวขุ่นมีกลิ่นแรง เป็นสารประกอบกลุ่มเทอร์พีนที่มีสูตรทางเคมีเป็น C10H16O พบได้จากต้นการบูร ( Cinnamomum camphora ) การบูรสังเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดนั้นเป็นการบูรสังเคราะห์ขึ้นจากน้ำมันสน

การบูร ( Camphor ) ชื่อวิยาศาสตร์ของการบูร คือ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl เป็นพืชตระกูลอบเชย ชื่อเรียกอื่นๆของการบูร เช่น การะบูน  อบเชยญวน  พรมเส็ง เจียโล่ จางมู่ จางหน่าว เป็นต้น ซึ่งข้อมูลทางเภสัชวิทยาได้ศึกษาการบูร พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยของการบูร และ การบูร มีสารเคมีประกอบด้วย acetaldehyde , betelphenol , caryophyllen , cineole , eugenol , limonene , linalool , orthodene , p-cymol , และ salvene การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง และ ลดระดับคอเลสเตอรอล การบูรมีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้การหายใจถี่ขึ้น

ลักษณะของต้นการบูร

ต้นการบูร เป็นไม้ยืนต้น เป็นพื้นเมืองของประเทศในเขตอบอุ่น อย่างประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ลักษณะของต้นการบูรเป็นทรงพุ่ม ขนาดกว้างและทึบ

  • ลำต้นการบูร มีความสูงประมาณ 30 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลักษณะผิวหยาบ เปลือกของกิ่งการบูรเป็นสีเขียว และ สีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เป็นส่วนที่สามารถนำมาทำ การบูร ที่มีกลิ่นหอม
  • ใบการบูร เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเหนียว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลักษณะมัน ท้องใบมีสีเขียวอมเทา ไม่มีขน ใบเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม การบูร
  • ดอกการบูร ต้นการบูรออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมสีเหลือง การบูรจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลการบูร มีลักษณะกลมรูปไข่ ผลเป็นสีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ของการบูร

สำหรับการบูร สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ด้านใช้เป็นยารักษาโรค และ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง อาหาร และ ยารักษาโรค เนื่องจาก กลิ่นหอม ช่วยกระตุ้นความรู้สึก บรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้เมารถ เมาเรือ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตกในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้น มีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และ ขนม ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก เป็นต้น

นำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ โดยนำมาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้า และ ยังช่วยลดกลิ่นอับชื้นได้ นอกจากนี้ มีการใช้เป็นส่วนผสมของยาหอม เช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำมาใช้ทำน้ำมันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของการบูร

การใช้ประโยชน์ของการบูร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลึกการบูร เมล็ด เปลือกลำต้น รากการบูร กิ่งการบูร เนื้อไม้การบูร สมุนไพร โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของการบูร สรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดท้องน้อย
  • เปลือกการบูร สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ธาตุในร่างกาย ช่วยสมานแผล รักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลเน่าเปื่อย
  • เนื้อไม้การบูร สรรพคุรบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ผลึกการบูร สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ยาบำรุงหัวใจ เป็นยากระตุ้นหัวใจ ยาระงับประสาท ช่วยแก้เลือดลม แก้ปวดฟัน ช่วยในการขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม ทำให้คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง บำรุงกำหนัด ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง แก้อาการคันตามผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ปวด ช่วยแก้อาการชัก
  • กิ่งของการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก
  • รากการบูร สรรพคุณทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้เคล็ดขัดยอก

โทษของการบูร

การใช้ประโยชน์จากการบูรมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากการบูร มีดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินการบูร เนื่องจากจะเป็นพิษ
  • สำหรับคนที่อยู่ในภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด ป่วยโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งและแห้ง ไม่ควรกินการบูร เพราะ จะทำให้ไม่หาย
  • การบูรที่มีสีสีเหลืองและสีน้ำตาล ห้ามกิน เนื่องจากเป็นพิษ
  • การกินการบูรในปริมาณเกิน 0.5 กรัมจะทำให้เวียนหัว แสบร้อนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง เป็นอันตรายถึงชีวิต

แหล่งอ้างอิง

  • The Merck Index, 7th edition, Merck & Co., Rahway, New Jersey, 1960
  • Handbook of Chemistry and Physics, CRC Press, Ann Arbor, Michigan, USA
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0096”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
    “Camphor (synthetic)”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). 4 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  • Mann JC, Hobbs JB, Banthorpe DV, Harborne JB (1994). Natural products: their chemistry and biological significance. Harlow, Essex, England: Longman Scientific & Technical. pp. 309–11. ISBN 978-0-582-06009-8.
  • “การบูร ไม้หอมมากประโยชน์ สร้างรายได้น่าลงทุน”. kaset.today.

อบเชย สมุนไพร เปลือกอบเชยเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และ ปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นอบเชย ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

อบเชย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นอบเชย ( Cinnamon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ  สะวง กระดังงา ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น อบเชย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อบเชยสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และ ราคาแพงที่สุด คือ อบเชยศรีลังกา ซึ่งในอบเชยมีสารเคมีและน้ำมันระเหยที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

ลักษณะของต้นอบเชย

ต้นอบเชย เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของอบเชย ลักษณะของต้นอบเชย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นอบเชย ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 ถึง 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีเทา ลักษณะหนา มีกลิ่นหอม
  • ใบอบเชย เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบอบเชยคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกอบเชย ออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกอบเชยมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกอบเชยมีกลิ่นหอม
  • ผลอบเชย ลักษณะทรงไข่ สีดำ

ชนิดของอบเชย

สำหรับอบเชย ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด และ แต่ละชนิดมีคุณภาพที่แตกต่างกัน  เปลือกของอบเชยมีน้ำมันหอมระเหย และ ให้กลิ่นหอม โดย อบเชยมีมากกว่า 16 สายพันธ์ทั่วโลก และ มีสายพันธ์หลักๆ 5 สายพันธ์ คือ อบเชยไทย อบเชยชวา อบเชยญวน อบเชยจีน และ อบเชยเทศ รายละเอียดของอบเชยสายพันธ์ต่างๆ มีดังนี้

  • อบเชยไทย พบได้ในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือ ป่าดงดิบทั่วไป ทรงพุ่มกลม อบเชยไทย เป็น พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง
  • อบเชยชวา หริือ อบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นอบเชยที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยญวน ลักษณะลำต้นคล้ายอบเชยจีน มีกลิ่นหอม แต่กลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีในประเทศไทย
  • อบเชยจีน พบในประเทศจีนแถบมณฑลกวงสี ยูนนาน และ กวางตุ้ง
  • อบเชยศรีลังกา พบมากในประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นอบเชยที่มีราคาแพงที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

อบเชยนำเอาเปลือกตากแห้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหาร โดยนำเปลือกมาตากแห้ง และให้กลิ่นหอมในอาหาร และ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาใช้อย่างยาวนานมาก ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอบเชย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผงอบเชย พบว่า อบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงาน 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

น้ำมันสกัดจากเปลือกของอบเชย มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae น้ำมันระเหยจากอบเชย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Cinnamic aldehyde , Cinnamyl acetate , Phenyl-propyl acetate , Tannin, Latax และ ยาง เป็นต้น

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับการนำเอาอบเชยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ซึ่งโดยส่วนมากคนจะรู้จักอบเชย จากเปลือกอบเชย นำมาบดผสมในเครื่องเทศ และ นำมาต้มพะโล้ หรือ แกงกะทิต่างๆ แต่ สรรพคุณของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ดอก ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เปลือกอบเชย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก
  • ใบอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม

โทษของอบเชย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอบเชย มีข้อควรระวังในการบริโภค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • น้ำมันอบเชบ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายสำหรับกลุ่มคนต่างๆ เช่น คนมีไข้ คนที่มีปัสสาวะเป็นเลือด คนมีภาวะปัสสาวะขัด คนอุจจาระแข็งแห้ง ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร เด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ และ สตรีมีครรภ์ กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ควรกินน้ำมันอบเชย
  • การกินอบเชยในปริมาณที่มากเกินไป มีผลอันตรายต่อตับ เนื่องจากอบเชยมีสารคูมาริน ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังการคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานอบเชยในปริมาณมากเกินไป
  • อบเชยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหล ควรหลีกเลี่ยงการกินอบเชย
  • อบเชยทีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก สำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร หรือมีิอาการท้องผูก ไม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอบเชย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย