บัวหลวง พืชมหรรศจรรย์ ไม้ประดับ ดอกสวยงาม นิยมใช้บูชาพระ

ต้นบัวหลวง พืชน้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นบัวหลวง สรรพคุณเช่น บำรุงกำลัง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของบัวหลวง มีอะไรบ้างบัวหลวง สมุนไพร สรรพคุณของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวหลวง คือ Nelumbo nucifera Gaertn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค เป็นต้น ต้นบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมีการปลูกบัวหลวงเพื่อการพาณิชย์ในประเทศและส่งออก และ ยังได้รับการเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และ หนองบัวลำภู

สายพันธุ์บัวหลวง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของบัวหลวง สามารถแบ่งได้ 4 สายพันธ์ตามลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน โดย ประกอบด้วย บัวหลวงดอกสีชมพู บัวหลวงดกอสีขาว บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน และ บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน รายละเอียด ดังนี้

  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพู ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมคล้ายรูปไข่ ปลายดอกเรียว กลีบดอกสีชมพู โคนกลีบดอกสีขาวนวล กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาว ลักษณะดอกใหญ่ ดอกทรงรี ปลายดอกเรียว กลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว และกลีบในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพู กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นๆ
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมเป็นทรงรี ปลายดอกแหลม สีชมพู กลีบดอกเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีเขียวอมชมพู กลีบดอกด้านในสีชมพู
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมทรงรี ปลายแหลม ดอกสีขาวและกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นในสีขาว

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก มีอายุยาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ที่อยู่ในแหล่งน้ำที่มีควาทลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นบัวหลวง มีดังนี้

  • ลำต้นบัวหลวง เหง้าอยู่ใต้ดินและลำต้นเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลำต้นเป็นปล้องๆสีเหลืองอ่อนกลมๆ ลำต้นอวบน้ำ
  • ใบบัวหลวง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบกลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น และใบมีขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นนวล
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว สีต่างๆตามสายพันธ์ กลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ล้อมรอบฐานรองดอก ดอกบัวหลวงจะบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ฝักบัวหลวง คือ ส่วนฐานรองดอก ฝักอ่อนสีเขียวนวล รูปกรวย ฝักเมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้น และจะมีผลสีเขียวอ่อนอยู่ในฝัก
  • ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ลักษณะรี เป็นเม็ดๆอยู่ในฝักบัว ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก
  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวจะมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

สำหรับการบริโภคบัวหลวง นิยมรับประทานเมล็ดบัวหลวง และ และ รากบัวหลวง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล้ดบัวและรากบัว รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 332 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 64.47 กรัม น้ำ 14.16 กรัม ไขมัน 1.97 กรัม โปรตีน 15.41 กรัม วิตามินเอ 50 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.640 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.150 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.600 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.629 มิลลิกรัม วิตามินบี9 104 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 163 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.53 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 210 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 626 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,368 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.05 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม น้ำ 81.42 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.58 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ เช่น Demethylcoclaurine , Isoliensinine , Liensinine , Lotusine , Methyl corypalline , Neferine , Nuciferine , Pro Nuciferine และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Galuteolin , Hyperin , Rutin

ดอกมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ คือ nelumbine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin , isoquercitrin , luteolin , luteolin glucoside

รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรรพคุณของบัวหลวง

สำหรับการใช้ประโยชน๋จากบัวหลวง เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุดส่วนของบัวตั้งแต่รากบัว ใบบัว ดอกบัว สรรพคุณของบัวหลวง มีดังนี้

  • กลีบดอกบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • เมล็ดบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงประสาทและสมอง ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ใบบัวอ่อน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • ใบบัวแก่ สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยลดไข้
  • รากบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้หลับสบาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ดีบัว สรรพคุณลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไข้ แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • เกสรบัว สรรพคุณบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล บำรุงปอด แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยสมานแผล

โทษของบัวหลวง

สำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค มีข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เกสรบัวหลวงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ค่อย ไม่ควรรับประทานเม็ดบัว เนื่องจากเม็ดบัวอาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น

Last Updated on April 19, 2023