ถั่วเขียว ธัญพืช สมุนไพร พืชโปรตีนสูง สรรพคุณและโทษ

ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

Last Updated on January 28, 2022