ถั่วเหลือง ธัญพืช คุณค่าทางโภชนาการสูง สรรพคุณมีอะไรบ้าง

ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง ต้นถั่วเหลืองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของถั่วเหลืองถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว สรรพคุณของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก Soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง คือ Glycine max (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง เช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง เถ๊าะหน่อ ตบยั่ง อาทรึ่ม โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า และ เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

ถั่วเหลืองได้รับฉายาว่า ราชาแห่งถั่ว จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดของโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ ประเทศบราซิลและจีน การปลูกถั่วเหลืองแพร่หลายในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ถั่วเหลืองในประเทศไทย

การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการปลูกครั้งแรกเมื่อใด สันนิษฐานว่ามาจากชาวจีนที่มาอาศัยหรือค้าขายในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกถั่วเหลืองทั่วไป และ ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ถั่วเหลือง จสมีถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก มีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ เช่น สจ.4 สจ.5 สุโขทัย1 สุโขทัย2 สุโขทัย3 นครสวรรค์1 เชียงใหม่60 เชียงใหม่2 เชียงใหม่3 เชียงใหม่4

สำหรับสายพันธ์ถั่วเหลืองที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ สายพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่60 ประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองประมาณ 60-110 วัน

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

สำหรับต้นถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ต้นถั่วเหลือง มี 2 ประเภท คือ ถั่วเหลืองชนิดทอดยอด และ ถั่วเหลืองชนิดไม่ทอดยอด ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีดังนี้

  • ลำต้นต้นถั่วเหลือง ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่ม กิ่งก้านแตกแขนง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
  • ใบถั่วเหลือง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นนรูปไข่เรียวยาว ใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วใบ
  • ดอกถั่วเหลือง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นกระจะ สีขาว กับ สีม่วง ดอกออกตามก้านใบและยอดของลำต้น กลีบดอกมีขนปกคลุม
  • ฝักถั่วเหลือง ฝักออกเป็นกลุ่มๆ ลักษณะยาวกลม ฝักมีขนสีเทาปกคลุมทั่วฝัก ฝักยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ดฝักอ่อนสีเขียว ฝักสุกสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเหลือง อยู่ภายในฝักถั่วเหลือง เมล็ดลักษณะกลมรี ผิวเรียบ เมล็ดมีหลายสี เช่น เหลือง เขียว น้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วเหลือง สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง นักโภชนาการได้ศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัม น้ำตาล 7.33 กรัม กากใยอาหาร 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเหลือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นถั่วเหลือง สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือกเมล็ด กากเมล็ด เมล็ด ใบ และ ดอก สรรพคุณของถั่วเหลือง มีดังนี้

  • เปลือกเมล็ด สรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด แก้ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย ลดอาการเหงื่อออก
  • กากเมล็ด สรรพคุณช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
  • ใบถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษางูกัด
  • ดอกถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก รักษาต้อกระจก
  • เมล็ดถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงโรคความดัน ลดคอเรสเตอรัล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ช่วยขับรอน ช่วยถอนพิษ รักษาโรคโลหิตจาง รักษาตานขโมย กระตุ้นกระเพาะอาหาร แก้โรคบิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ปรับสมดุลย์ออร์โมนเพศหญิง แก้ปวดตามข้อกระดูก

โทษของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลือง มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเหลือง ดังนี้

  • สำหรับบางคนพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง เช่น เกิดผื่นคันหลังจากรับประทานถั่วเหลือง หากพบอาการผิดปรกติ ให้หยุดรับประทานทันที
  • ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก แน่นท้องได้
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โดยหากพบอาการ เช่น เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วนง่าย ให้หยุดการรับประทานถั่วเหลือง

Last Updated on March 18, 2021