อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

มะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 45 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อโรค ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็ง โรคของสตรี

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของสตรี โดยลักษณะของอาการ ตกขาวคล้ายหนอง มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ มีเลือดหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีอาการป่วย มะเร็งชนิดนี้มักเกิดกับสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป สตรีอายุ 25 – 49 ปี ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี สำหรับสตรีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma virus ) จากการมีเพศสัมพันธ์  แต่นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์
  • การมีลูกหลายคน
  • การขาดสารอาหาร
  • การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • การสูบบุหรี่
  • โรคเอดส์
  • พฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน และ การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่เด็ก

อาการโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะแสดงอาการที่ท้องน้อย และ อวัยวะเพศ ลักษณะการตกขาวผิดปรกติ อาการเจ็บปวดต่างๆที่บริเวณท้องน้อยและอวัยวะเพศ ซึ่งสัญญาณเตือนของอาการต่างๆมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว สามารถสรุปลักษณะอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • มีประจำเดือนนานผิดปกติ
  • ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์
  • ปวดหลัง และ ปวดก้นกก
  • ปัสสาวะผิดปกติ

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับระยะของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มี 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรายละเอียดดังนี้

  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก ซึ่งระยะนี้ไม่พบคามผิดปกติอย่างชัดเจน พบเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูก และ ยังไม่ลุกลาม
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่2 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามจากปากมดลูกไปยังช่องคลอด
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่3 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังอุ้งเชิงกราน ไททับท่อไตส่งผลต่อการทำงานของไต
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งลุกลามไปอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตับ ปอด สมอง เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และ เลือด เป็นระยะอันตราย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองโรคได้ โดยการตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ปีละ 1 ครั้ง โดยการป้ายเซลล์จากปากมดลุกแล้วนำมาป้ายลงกระจก สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ 50-60% หากต้องสงสัยจะมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคสามารถใช้การผ่าตัด การรักษาด้วยการฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการป่วย ผู้ป่วยมะเร็งระยะแรกจะใช้วิธีการรักษาเป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งที่มากขึ้นมักใช้วิธีการฉายแสงรังสีรักษาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูก ผ่าตัดแบบ Cone Biopsy และ Laser Therapy
  • การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy)
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ เข้ารับวัคซีนเอชพีวี
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่
  • ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร

โรคมะเร็งปากมดลูก โรคของสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ สัญญานเตือนการเกิดโรค การรักษาและแนวทางป้องกันทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย