จุนสี คอปเปอร์ซัลเฟต เกลือที่เกิดจากสนิมทองแดง เป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผล รักษาเหงือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา ใช้ชุบทองแดง

จุนสี สมุนไพร สมุนไพรไทย

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต สูตรทางเคมี คือ CuSO4  มีชื่อเรียกต่างๆของจุนสี เช่น หินเขียว ต๋าฮ้วง Bluestone เป็นต้น จุนสีเป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถัน และ ออกซิเจน เกลือจุนสี นั้นพบได้หลายรูปแบบมีสีฟ้าสด มีประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวน สารฆ่าเชื้อรา

จุนสี พบได้ในธรรมชาติ พบในเหมืองทองแดง ผลึกจุนสี ใช้โลหะทองแดง หรือ สนิมทองแดง ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่า จุนสี คือ สนิมทองแดง จุนสี เป็นของดี และ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน จุนสีที้เปลี่ยนเป็นสีขาวจะเรียก จุนสีสะตุ การผลิตจุนสีในเชิงอุตสาหกรรมทำได้โดยนำโลหะทองแดงไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หรือนำคอปเปอร์ออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเจือจาง

สรรพคุณของจันสี

จุนสี มี รสเปรี้ยว ฝาด และเย็น ตามตำรายาโบราณ ได้ใช้ประโยชน์จากจุนสี ดังนี้

  • จุนสีผสมกับขี้ผึ้ง ใช้กัดหัวหูด ใช้ทารักษาแผลหนอง
  • จุนสีละลายน้ำอ่อนๆ ใช้หยอดตา รักษาแผลในตา นำมาอมแก้โรคเหงือกและฟัน รักษาอาการปากเปื่อย รักษาคออักเสบ ทำให้อาเจียนขับสานพิษ

โทษของจุนสี

การใช้จุนสีเป็นยารักษาโรคนัั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การกินจุนสีผสมน้ำทำให้อาเจียน หากกินมากเกินไปเป็นอันตราต่อร่างกายได้

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต คือ เกลือปรกติชนิดหนึ่งเกิดจากสนิมทองแดง ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผลหนอง รักษาโรคเหลือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา นอจจากนั้นใช้ในการชุบทองแดง ฆ่าลูกนํ้า ปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลง ฆ่าเชื้อรา

แหล่งอ้างอิง

  • Varghese, J. N.; Maslen, E. N. (1985). “Electron density in non-ideal metal complexes. I. Copper sulphate pentahydrate”. Acta Crystallogr. B. 41 (3): 184–190. doi:10.1107/S0108768185001914.
  • Haynes, p. 4.62
  • Rumble, John, บ.ก. (2018). CRC Handbook of Chemistry and Physics (ภาษาอังกฤษ) (99th ed.). CRC Press, Taylor & Francis Group. p. 5-179. ISBN 9781138561632.
  • Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (2003). “Chalcocyanite” (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. V. Borates, Carbonates, Sulfates. Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209741.
  • Haynes, p. 10.240
  • Kokkoros, P. A.; Rentzeperis, P. J. (1958). “The crystal structure of the anhydrous sulphates of copper and zinc”. Acta Crystallographica. 11 (5): 361–364. doi:10.1107/S0365110X58000955.
  • Bacon, G. E.; Titterton, D. H. (1975). “Neutron-diffraction studies of CuSO4 · 5H2O and CuSO4 · 5D2O”. Z. Kristallogr. 141 (5–6): 330–341. Bibcode:1975ZK….141..330B. doi:10.1524/zkri.1975.141.5-6.330.
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0150”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  • Cupric sulfate. US National Institutes of Health
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 42-43

ประโยชน์ของดินประสิว โพแทสเซียมไนเตรต Potassium Nitrate ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด สรรพคุณต้านเชื้อแบคที่เรีย นำมาทำยาสมุนไพร ช่วยขับลม ถอนพิษ ดินประสิวใช้ถนอมอาหาร

สมุนไพร ดินปะสิว โพแทสเซียมไนเตรต  ประโยชน์ของดินประสิว

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดเกิดจากปัสสาวะของสัตว์หรือคน ปัจจุบัน ดินประสิว ผลิตมาจากอากาศสกัดโดยไนโตรเจนแล้วนำมาทำกรดไนตริก ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม

ลักษณะของดินประสิว

ดินประสิว มีลักษณะเป็น ผงสีขาว ละลายได้ดีในน้ำ ไม่มีกลิ่น รสเค็มเล็กน้อย มีความคงตัวดี อาจมีการเปลี่ยนรูปขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม

ดินประสิวในประเทศไทย

สำหรับดินประสิว นั้นคนไทยเรารู้จักดินประสิว เนื่องจาก นำดินประสิวมากทำดินปืน เป็นส่วนผสมในดินปืน และนำมาถนอมอาหารเป็นสารกันบูด ทำให้สีของเนื้อสัตว์ดูสดอยู่เสมอ กระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย อนุญาตให้ใช้สารกันบูดจากไนเตรตในอาหารได้ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้กำหนดปริมาณการใช้ดินประสิวในอาหาร ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ประโยชน์ของดินประสิว

สำหรับประโยชน์ของดินประสิว และ สรรพคุณของดินประสิว ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ในตำรายาโบราณ เรียกดินประสิวว่า เกลือสุรจระ นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย นำ โพแทสเซียมไนเตรต ต้ม กรอง แล้วเคี่ยวให้แห้ง ใช้เป็นยาขับลม ถอนพิษ ประโยชน์ต่างๆของดินประสิว มีดังนี้

  • ใช้เป็นส่วนขยายสูตรยาฆ่าหญ้า ลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม
  • ใช้เป็นยาฆ่าตอไม้ ( Stump Remover ) ทำให้ตอไม้ใต้ดินเปื่อยยุ่ย
  • ใช้ลดอุณหภูมิ เป็นสารหล่อเย็น นำมาละลายน้ำ จะได้สารละลายที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 8 – 12 องศาเซลเซียส
  • ใช้ทำธูป ดินประสิวเป็นส่วนผสมของเนื้อธูป
  • ใช้ผลิตกระจก และ เลนส์ นำดินประสิวมาเป็นส่วนผสมของน้ำยา เพิ่มความแข็งแกร่งของกระจก และ เลนส์
  • ใช้เป็นผสมของยาสีฟัน เพื่อลดอาการเสียวฟัน
  • ใช้เป็นสารเร่งดอก เป็นปุ๋ยใช้กับพืชสวน เช่น มะม่วง มังคุด เป็นต้น
  • ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ ช่วยถอนพิษ และ ช่วยขับลม

การใช้ประโยชน์จากดินประสิวยังมีการนำเอาดินประสิวมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย เช่น อตุสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟ และ อุตสาหกรรมทองรูปพรรณ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อุตสาหกรรมอาหาร จะใช้ดินประสิว เป็นสารกันบูด และ สารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ นำมาทำให้ เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน ปลาร้า แหนม เป็นต้น ดินประสิว มีคุณสมบัติในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม
  • อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟและพลุ จะนำดินประสิวเป็นส่วนผสมของดินปืน ดินประสิวจะทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไตส์ ให้เกิดแรงขับดันแก่ดอกไม้ไฟ บั้งไฟ ตะไล พลุ ประทัด เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมทองคำรูปพรรณ จะใช้ดินประสิว เป็นตัวลดอุณหภูมิการหลอมละลายของทอง ทำให้ทองหลอมละลายได้ง่าย  สามารถแยกสิ่งสกปรกส่วนเกินออกจากทองคำได้ ดินประสิว ทำให้สีของทองคำรูปพรรณเปล่งปลั่ง สวยงาม

โทษของดินประสิว

ดินประสิว เป็น สารก่อมะเร็ง ดินประสิวเมื่ออยู่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อาจทำให้ท้องร่วงอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หายใจไม่ออกได้ เป็นอันตรายกับเด็ก

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต ( Potassium Nitrate ) คือ ดินที่มีฤทธิ์เป็นกรด มีสรรพคุณช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรีย นำมาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ช่วยขับลม และ ถอนพิษ ดินประสิว ใช้ถนอมอาหาร นำมาทำดินปืน และ เป็นส่วนผสมในการทำทองคำรูปพรรณ

แหล่งอ้างอิง

  • Record of Potassium nitrate in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 2007-03-09.
  • Gustafson, A. F. (1949). Handbook of Fertilizers – Their Sources, Make-Up, Effects, And Use. p. 25. ISBN 9781473384521. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-17.
  • B. J. Kosanke; B. Sturman; K. Kosanke; I. von Maltitz; T. Shimizu; M. A. Wilson; N. Kubota; C. Jennings-White; D. Chapman (2004). “2”. Pyrotechnic Chemistry. Journal of Pyrotechnics. pp. 5–6. ISBN 978-1-889526-15-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05.
  • Kolthoff, Treatise on Analytical Chemistry, New York, Interscience Encyclopedia, Inc., 1959.
  • chem.sis.nlm.nih.gov เก็บถาวร 2014-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • “ไนเตรทและไนไตรท์”. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • “อาหารที่มีดินประสิว”. Healthy Canpus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-11. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 58 – 60
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย