กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้างกระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

พริกขี้หนู ผลพริกขี้หนูนิยมนำมาทำอาหารให้รสเผ็ด ต้นพริกขี้หนูเป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้างพริก สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของพริก

ต้นพริกขี้หนู ( Chili pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกขี้หนู คือ Capsicum annuum L. ชื่อเรียกอื่นๆของพริกขี้หนู คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด พริกชี้ฟ้า ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว  มือซาซีซู มือส่าโพ เป็นต้น ต้นพริกขี้หนู เป็นพืชตระกลูมะเขือ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน สำหรับประเทศไทย พบได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู

สำหรับพริกขี้หนู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สำหรับยอดและใบอ่อนของพริกขี้หนู มีสารอาหาร เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบี แต่การบริโภคพริกนิยมบริโภคผลพริก เพื่อให้รสเผ็ด เป็นหลัก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลพริกขี้หนู มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 กิโลแคลอรี โดยมาสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 82 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 44 มิลลิกรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม

สรรพคุณของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ ราก และ ลำต้น โดย สรรพคุณของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ผลพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย รักษาโรคลำไส้ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง ทำให้สดชื่น บรรเทาอาการปวด แก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาอาการอาเจียน แก้อาการเจ็บคอ รักษาอาการเสียงแหบ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี รักษากลาก รักษาเกลื่อน ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการบวม แก้ปวดตามข้อ
  • ใบพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ช่วยขับลม แก้ปวดหัว ช่วยแก้หวัด แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลเปื่ิอย
  • ลำต้นพริกขี้หนู สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับปัสสาวะ
  • รากพริกขี้หนู สรรพคุณช่วยฟอกเลือด

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริกขี้หนู คือ พืชพื้บ้าน ผลพริกขี้หนู นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ด ลักษณะของต้นพริกขี้หนู เป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกขี้หนู เช่น แก้หวัด แก้อาเจียน ต้านเชื้อโรค โทษของพริกขี้หนู มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย