ทุเรียน ผลไม้ยอดนิยม ราชาแห่งผลไม้ ต้นทเรียนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง รักษาโรคผิวหนัง โทษของทุเรียน มีอะไรบ้างทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ทุเรียน พืชพื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูยน์สูตร เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ บรูไน ผลทุเรียน มีกลิ่นฉุนรสหวาน เปลือกมีหนาม  ชอบดินร่วนซุย มีแสงแดด ต้นทุเรียน ( Durian ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L.

ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับประวัติของทุเรียนในประเทศไทย มีประวัติการเขียนบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ หัวหน้าคณะราชทูตฝรั่งเศสในสมัยนั้น เขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน ว่าเป็น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับการปลูกทุเรียน มีการปลูกในภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่านำมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย

สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี หรอ สุ่น สุนทรเวช ได้กล่าวถึงทุเรียน ว่ามีการนำพันธุ์ทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมากรุงเทพ ปลูกด้วยการใช้การตอนกิ่ง ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ลูกผสมมากมาย สายพันธุ์ทุเรียนมีมากถึง 227 พันธุ์

สายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย มี 6 กลุ่ม สายพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มสายพันธ์กบ กลุ่มสายพันธ์ลวง กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว กลุ่มสายพันธ์กำปั่น กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย และ กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มสายพันธ์กบ จำแนกสายพันธุ์ได้ 46 สายพันธุ์ เช่น ทุเรียนกบตาดำ ทุเรียนกบทองคำ ทุเรียนกบวัดเพลง ทุเรียนกบก้านยาว
  • กลุ่มสายพันธ์ลวง จำแนกสายพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ทุเรียนลวงทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนสายหยุด ทุเรียนชะนีก้านยาว เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ก้านยาว จำแนกสายพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนก้านยาววัดสัก ทุเรียนก้านยาวพวง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์กำปั่น จำแนกสายพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกำปั่นเหลือง ทุเรียนกำปั่นแดง ทุเรียนปิ่นทอง ทุเรียนหมอนทอง เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์ทองย้อย จำแนกสายพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทุเรียนทองย้อยเดิม ทุเรียนทองย้อยฉัตร ทุเรียนทองใหม่ เป็นต้น
  • กลุ่มสายพันธ์เบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ลักษณะสายพันธุ์ไม่แน่ชัด มี 83 พันธุ์ เช่น ทุเรียนกะเทยเนื้อขาว ทุเรียนกะเทยเนื้อแดง ทุเรียนกะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น

ลักษณะของต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง เป็นต้น ลักษณะของต้นทุเรียน มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นทุรียน ลักษณะตั้งตรง ความสูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย เปลือกชั้นนอกของทุเรียนเป็นสีเทา ผิวเปลือกขรุขระเป็นสะเก็ด
  • ใบทุเรียน เป็นใบเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วตามกิ่งของทุเรียน ปลายใบใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบ ใบมีสีเขียว ท้องใบเป็นสีน้ำตาล
  • ดอกทุเรียน ออกดอกเป็นดอกช่อ ดอกออกี่บนกิ่ง กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม คล้ายรูประฆัง
  • ผลทุเรียน ลักษณะกลมรี เปลือกผลเป็นหนามแหลม เปลือกผลทุเรียนสดมีสีเขียว และผลสุกมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเนื้อทุเรียน สีเหลืองอ่อน เนื้อในนิ่ม รสหวาน
  • เมล็ดทุเรียน ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีผิวเรียบ อยู่ภายในผลทุเรียน

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

สำหรับการนำทุเรียน มารับประทานใช้รับประทานผลสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกทุเรียนขนาด 100 กรัม พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 147  กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม การใยอาหาร 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ บีตาแคโรทีน วิตามินบี1 0.16 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.23 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม แคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียน

การใช้ประโยชน์จากทุเรียนด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก เนื้อทุเรียน รากทุเรียน ใบทุเรียน และ เปลือกทุเรียน รายละเอียด สรรพคุณของทุเรียน มีดังนี้

  • รากทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ และ แก้ท้องร่วง
  • ใบทุเรียน สรรพคุณใช้ลดไข้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยรักษาแผลหนอง
  • เปลือกทุเรียน สรรพคุณใช้รักษาตานซาง รักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง ช่วยสมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง
  • เนื้อทุเรียน สรรพคุณช่วยรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ

โทษของทุเรียน

สำหรับการกินทุเรียน ถึงแม้ว่ากลิ่นจะหอม รสจะหวาน แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน มีดังนี้

  • เนื้อทุเรียน ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีแคลอรี่สูง โดยทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงานมากถึง 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับการดื่มน้ำอัดลมถึง 2 กระป๋อง
  • เนื้อทุเรียน ทีน้ำตาลในปริมาณมาก สำหรับผู้ป่วยที่ควรระวังในการกินทุเรียน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคไขมันในเส้นสูง
  • การกินทุเรียน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มผลมแอลกอฮอล์ เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายร้อนเกินไป ทำให้เสียชีวิตได้
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะ ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง

กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้างกระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย