โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที การรักษาทำอย่างไรโรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของการเกิดโรคที่หลากหลาย เช่น กรรมพันธุ ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ทำให้มีอาการชักตามมา ส่วนพบมากในเด็กที่มีสุขภาพปกติ มีพัฒนาการที่ดี ไม่มีปัญหาทางสมองใดๆ แต่ก็อาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในสมอง อาการชักอาจไม่ได้หมายถึงโรคลมชักเสมอไป

ประเภทของอาการชัก

สำหรับอาการชัก เกร็ง กระตุก สามารถแบ่งลักษณะอาการของการชัก ได้เป็น 3 ประเภท คือ อาการชัก อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ และ โรคลมชัก รายละเอียด ดังนี้

  • อาการชัก ( Seizure ) เกิดจากความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมองชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายเองได้หากสามารถรักษาสาเหตุของอาการชักได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคสมองอักเสบ ภาวะการขาดวิตามิน เป็นต้น
  • อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ( Convulsion ) ลักษณะอาการคล้ายกับอาการชัก แต่อาจไม่ใช่อาการเกร็งกระตุกไม่ใช้อาการชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งของคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
  • โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ อาการผิดปรกติของสมองเกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการชัก

สาเหตุโรคลมชัก

สำหรับโรคลมชักในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของสาเหตุที่ชัดเจน มักเกิดจากการที่สมองถูกการกระทบกระเทือน ทั้งนี้ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมี ที่ถูกเรียกว่า สารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายก็อาจทำให้สมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก ซึ่งโรคลมชัก สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้  2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและกลุ่มที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุได้แน่ชัด ( Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ มีความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายเอง
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ( Secondary Epilepsy ) เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง กอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การเสพยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักมีทั้งที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนและไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราสามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุ ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดลมชักมากที่สุด คือ วัยเด็ก และ วัยสูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว หากในครอบครัวนั้นมีประวัติว่ามีผู้ป่วยโรคลมชัก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักในครอบครัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองถูกทำลาย จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชัก
  • ภาวะสมองเสื่อม ( Dementia ) มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  • ภาวะติดเชื้อที่สมอง ( Brain Infections )
  • มีประวัติชักในวัยเด็ก อาจทำให้ความเสี่ยงโรคลมชักเพิ่มขึ้นหากมีอาการชักที่ยาวนาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทอื่น ๆ รวมทั้งมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว

อาการโรคลมชัก

สำหรับอาการของโรคลมชัก จะแสดงความผิดปรกติให้เห็นชัดเจน จากอาการชัก ไม่สามารถควบคุมร่างกายอย่างมีสติได้ โรคนี้หากอยู่คนเดียวจะเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำกิจกรรมหลาย เช่น ทำงานบนที่สูง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถ  เป็นต้น ลักษณะของอาการชัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการชักเฉพาะส่วน และ อาการชักแบบต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้

อาการชักเฉพาะส่วน ( Focal Seizures ) คือ เกิดอาการชักบางส่วนในร่างกาย ซึ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการชักเฉพาะส่วนแบบรู้ตัว และ อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว รายละเอียดดังนี้

  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบชักแบบรู้ตัว (Simple Focal Seizures) ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกวูบ อาจเกิดจากความกลัวอย่างกะทันหัน รู้สึกชาที่แขนและขา หรือ มีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น อาการชักมีสัญญาณเตือนของอาการชักผู้ป่วยและคนรอบมักจะเตรียมรับมือได้ทัน
  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว ( Complex Partial Seizures ) ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอาการชักก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเวลาใด

อาการชักต่อเนื่อง ( Status Epileptics ) อาการชักชนิดนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาที เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสมอง

แนวทางการวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากระบบประสาทและสมอง มีความซับซ้อนมาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และ ใช้เครื่องมือที่มีความพิเศษสูง จึงจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การแสกนเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

แนวทางการรักษาโรคลมชักขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค บางครั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ใช้การรับประทานยาต้านอาการชัก ซึ่งกลไกหลักของยาต้านอาการชักคือ ยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนปริมาณสารเคมีในสมองช่วยลดโอกาสการเกิดอาการชัก ในกรณีที่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการชัก อาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation )  และ กระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation )

  • หากผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก และ ตั้งครรภ์ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ยาลดการชักมีผลต่อทารกในครรภ์ ทางที่ดีให้คุมกำเนิดรอจนอาการชักหายเป็นปกติก่อนดีกว่า
  • หากต้องเดินทางควรรับประทานยาให้ตรงเวลา ไม่ควรเลื่อนการรับประทานยา
  • ในเด็กหากต้องไปโรงเรียนจะต้องแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ เพื่อ ไม่ให้เกิดการแตกตื่น และ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทันเวลา

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค สิ่งที่สามารถป้องกัน คือ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบ โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมป้ายข้อมือทางการแพทย์ ระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบว่าต้องช่วยผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

โรคลมชักEpilepsy ) คือ ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที แนวทางการรักษาทำอย่างไร

พาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้มีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ การรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การป้องกันโรคพาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคพาร์กินสัน เกิดจากระบบประสาทและสมองเกิดการเสื่อม เป็นโรคทางสมองที่พบมากที่สุดอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติของจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกมีร้อยละ 1 ของกลุ่มคนที่มีอายุเกิน 65 ปี และสถิติการเกิดโรคพาร์กินสันในประเทศไทยพบผู้ป่วย 425 คนต่อประชากร 100,000 คน โรคพาร์กินสัน สมัยโบราณเรียก โรคสันนิบาตลูกนก ลักษณะของอาการสังเกตุจากอาการสั่นของร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่โด่งดังที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ มูฮามัดอาลี นักชกมวยระดับโลก

สาเหตุการเกิดโรคพาร์กินสัน

สำหรับสาเหตุของโรคพาร์กินสันเกิดจากก้านสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเสื่อมจนไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของก้านสมองเสื่อมว่าเกิดจากอะไร แต่ทางการแพทย์เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติหรือพี่น้องคนในครอบครัวมีอาการป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าปรกติ
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การกระทบกระเทือนทางสมอง การรับสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น

อาการผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยจะค่อยๆแสดงอาการของโรคและเห็นอย่างชัดเจนจากลักษณะความผิดปรกติของการควบคุมร่างกาย มีลักษณะ 3 อาการเด่น คือ อาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการสั่น จะสั่นขณะที่อยู่เฉยๆ และหากเคลื่อนไหวอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป และ มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการเกร็ง จะมีอาการตึงบริเวรแขน ขาและลำตัว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก และทำให้ปวดตามกล้ามเนื้อ
  • อาการเคลื่อนไหวช้า เนื่องจากอาการอ่อนแรง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ไม่ปรกติเหมือนคนทั่วไป

นอกจาก 3 อาการหลักๆ อาการเหล่านี้ยังส่งผลต่ออาการอื่นๆอีก เช่น น้ำลายไหล ร่างกายแข็งเกร็ง เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา หกล้มง่าย  ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย เหงื่อออกมาก ท้องอืด ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี มึนศีรษะเวลาลุก รวมถึงอาการทางจิตใจ ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจมีอาการโรคซึมเศร้าด้วย

การรักษาโรคพาร์กินสัน

สำหรับการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันยังไม่มีสามารถรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด หรือ หยุดยั้งอาการของโรคได้ ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันเพียงการประคับประครองอาการของโรค โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
  • การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย ช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว ท่าเดิน ท่านั่ง การทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารแก้ไขภาวะอื่นๆ เช่น หลังโกง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดขา เป็นต้น
  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) รักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้า เพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองจะลดลง แนวทางการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน มีดังนี้

  • ต้องมีผู้ที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
  • ป้องกันการลื่นล้ม ดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่ผู้ป่วย
  • ฝึกการก้าวเดินเนื่องจากส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการเดิน อาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  • การออกกำลังกาย บริหารร่างกายส่วนต่างๆอย่างประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นและป้องกันอาการโรคซึมเศร้า
  • ต้องระวังเรื่องท้องผูกเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายเองได้

โรคพาร์กินสัน หรือ สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้ร่างกายมีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ได้ แนวทางการรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย