โลน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยบนขน กินเลือดมนุษย์ ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง คันตามขนต่างๆ เช่น ขนหน่า ขนรักแร้ คิ้ว หนังศรีษะ ตุ่มบวมแดงคัน เกิดแผลอักเสบ
โลน ติดเชื้อโลน โรคติดเชื้อ
ตัวโลน
Pthirus pubis ) คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ชอบอาศัยอยู่ที่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ เป็นต้น ตัวโลนมีขนาดประมาณ 2 มม. สีเหลืองเทา รูปร่างคล้ายปู มักจะวางไข่บนขน ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นเม็ดๆสีน้ำตาลกระจัดกระจาย โลนจะมีวงจรชีวิตคล้ายตัวเหาแต่เป็นสิ่งมีชีวิตคนละกลุ่มกัน

การที่โลนอาศัยบนขนของมนุษย์ทำให้เกิดการติดเชื้อโลน และ สามารถแพร่กระจายสู่คนอื่นๆได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อโลน ไม่เกี่ยวกับความสกปรก หรือ การดูแลความสะอาดของร่างกายที่ไม่ดีพอ แต่เกิดจากการเจริญเติบโตของโลนบนขนของมนุษย์ ซึ่งชอบอยู่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง ขนบริเวณท้อง ขนหน้าอก และเครา เป็นต้น ตัวโลนไม่สามารถกระโดดได้แต่มันจะค่อยๆ คืบคลานไปตามขนและพื้นผิว ดังนั้น การนอนเตียงเดียวกันคนที่มีตัวโลนอาศัยอยู่มีโอกาสการติดเชื้อโลนได้

ตัวโลนที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ มีทั้งหมด 3 ลักษณะ คือ ไข่โลน ตัวอ่อนโลน และ โลนตัวเต็มวัย รายละเอียดของลักษณะโลนในร่างกายมนุษย์ มีดังนี้

  • ไข่โลน ( Nit ) ลักษณะเล็กมากจนมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ของโลนมีสีขาว มักเกาะตามเส้นขน ซึ่งไข่โลนใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 6-10 วัน ก่อนจะเป็นตัวอ่อน
  • ตัวอ่อนโลน ( Nymph ) จะอาศัยอยู่ที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยกินเลือดของมนุษย์เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะคล้ายกับโลนตัวโตเต็มวัยแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์กว่าจะโตเต็มวัย
  • โลนตัวเต็มวัย ( Adult ) ตัวโลนจะมีสีน้ำตาลอ่อน ขาหน้า 2 ขาจะใหญ่ลักษณะคล้ายก้ามปู โลนตัวเมียตัวจะใหญ่กว่าโลนตัวผู้

สาเหตุการติดเชื้อโลน

สำหรับสาเหตุการติดเชื้อโลน เกิดจากการมีตัวโลนอาสัยบนขนของมนุษย์ และ โลนดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหารทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ ซึ่งโลนสามารถแพร่สู่คนอื่นๆได้โดยผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การกอด จูบ แต่ที่มักพบได้บ่อยที่สุด คือ การติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโลนอาศัยบนขน ซึ่งการติดโลนไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย หรือ การใช้ยาคุมกำเนิด

นอกจากนี้ การใช้ผ้าร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกันก็สามารถทำให้มีโอกาสติดโลนได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก ปัจจัยเสียงที่ทำให้มีโอกาสติดโลน มีรายละเอียด ดังนี้

  • การอยู่อาศัยใกล้คนที่มีโลนอาศัยขนขน
  • การนอนร่วมเตียงกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน
  • การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน

อาการของโรคโลน

ลักษณะอาการของคนที่ติดโลน ลักษณะอาการที่เด่นชัด คือ คันบริเวณขนที่มีโลนอาศัยอยู่ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ใต้รักแร้ บริเวณที่มีขน เช่น ขา หน้าอก ท้อง หรือหลัง หนวด เครา คิ้ว หรือขนตา เป็นต้น หลังจากที่โดนโลนดูดเลือดและติดเชื้อจะมีอาการผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • อ่อนแรง ไม่มีแรง
  • มีรอยช้ำเล็ก ๆ จากการกัดบนผิวหนังบริเวณต้นขา หรือหน้าท้องส่วนล่าง
  • มีผงลักษณะสีดำติดที่กางเกงชั้นใน
  • รู้สึกคันมากบริเวณที่มีตัวโลนอาศัยอยู่
  • มีผลหรือตุ่มแดง

การรักษาโรคโลน

แนวทางการรักษาโลน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพู โลชั่น หรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงจำพวกโลนหรือเหา  แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างใกล้ชิิด แต่วิธีการรักษาที่ง่ายที่สุด คือ การกำจัดขนส่วนที่มีโลนเกาะอยู่โกนขนออกให้เกลี้ยง เพียงเท่านี้ตัวโลนก็ไม่สามารถจะเกาะอะไรได้

การป้องกันโรคโลน

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโลน คือ การไม่ให้มีตัวโลนอาศัยขนขนของเรา ซี่งแนวทางการป้องกันการติดโลน มีดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น โรคโลน
  • ดูแลความสะอาดตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นทำความสะอาด เตียงนอน ซักผ้าห่ม และ ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ
  • นำเครื่องนอนออกมาตากแดด อยู่สม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยง การใช้สิ่งของร่วมกับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลนอยู่ เช่น เสื้อชั้นใน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • หากรักษาโรคโลน จนหายเป็นปกติแล้ว ควรนำของใช้ทั้งหมดไปทิ้ง หรือ ไม่ก็เอาไปต้มในน้ำร้อน และ นำไปตากแดด เพื่อ ฆ่าตัวโลนให้ตาย ตัวโลน หากอยู่นอกร่างกายมนุษย์เกิน 2 วัน มันจะตายทันที
  • ทำความสะอาดร่างกาย และ บริเวณซ่อนเร้น ก่อน และ หลังมีเพศสัมพันธ์

โรคนอนไม่หลับ Insomnia ภัยใกล้ตัวของทุกคน นอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร

โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนึ่งของมนุษย์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจกังวล ส่งผลต่อการคิดการตัดสินใจในการทำงานในช่วงกลางวัน จากการศึกษาการเกิดโรคนอนไม่หลับพบร้อยละ 30 ของผู้ใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนของคนโดยปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งการต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดต้องการนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ปี ต้องการนอน 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 2 ปี ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 6-13 ปี ต้องการนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • คนอายุ 14-17 ปี ต้องการนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับผู้สูงวัยจะต้องการนอนที่สั้นลง เพราะ ร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

โรคนอนไม่หลับInsomnia ) อาการนอนไม่หลับถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจจะมาจากหลายสาเหตุ การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายนั้นมีความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกายอื่นๆต่อมา เช่น ขาดสมาธิในเวลาทำงาน

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับ สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) และ นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) รายละเอียดของประเภทต่างๆ มีดังนี้

  • นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันแบบกระทันหัน มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน การดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ( Time zone ) เป็นต้น
  • นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) อาการลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะความเครียดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการนอน
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) ลักษณะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นปีๆ อาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางโรคที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ

สำหนับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ มีหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยทางด้านร่างกาย ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงอุปนิสัยการนอน ( Sleep hygiene ) ของแต่ละคน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการนอนไม่หลับได้ดังนี้

  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน ภาวะระบบประสาทตื่นตัวมากกว่าปกติ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการความเครียด ความวิตกกังวล ในช่วงเวลานั้นๆ หรือ โรคที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเสียงรบกวน หรือแสงไฟรบกวน ทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยจากอุปนิสัยการนอน ลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือ การทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลกระทบต่อการนอนทั้งสิ้น

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
สำหรับอาการของโรคนอนไม่หลับนี้ มีหลายลักษณะแต่ลักษณะเด่นชัด คือ นอนไม่หลับ ในช่วงเวลาที่ต้องนอนพักผ่น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ ได้ดังนี้

  • ใช้เวลานานในการทำให้ตัวเองหลับ
  • ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
  • อาการหลับๆตื่นๆ นอนไม่ต่อเนื่อง
  • ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับการรักษาโรคะนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วย 2 หลักๆ คือ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การรักษาด้วยการใช้ยารักษาทำให้นอนหลับ ซึ่งในระยะสั้นการใช้ยาจะช่วยให้นอนหลับได้ แต่ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุในเกิดอาการนอนไม่หลับ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แนวทางการปรับพฤติกรรมให้นอนหลับ มีดังนี้

  • ควรอย่างมากที่จะต้องค้นหาสาเหตุ ที่มาที่ไปของการนอนไม่หลับ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เชื่อว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนได้
  • การจัดห้องนอนให้เหมาะต่อการนอน การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และที่สำคัญบรรยากาศต้องเงียบ ส่งผลให้สมองผ่อนหลาย และ นอนหลับได้ดี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มันกระตุ้นสอง อย่างเช่น กาแฟ ชา หรือแม้กระทั่ง น้ำอัดลม
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย