โรคเก๊าท์ อาการบวดบวมที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ปวดเท้ามาก มีอาการบวมแดง สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก โรคต่างๆ การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ โรคที่ข้อกระดูก เกิดจากการตะกอนของยูริคที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หัวแม่เท้าบวมแดง ปวดแบบฉับพลัน มักเกิดกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบมากในบุรุษมากกว่าสตรี เป็นอาการป่วยแบบเรื้อรัง ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต

โรคเก๊าท์เทียม คือ โรคที่มีอาการคล้ายโรคเก๊าท์ แต่จะตรวจได้จากการเจาะข้อที่ปวดเพื่อส่องกล้อง หากพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต ( Calcium phosphate ) ที่ไม่ใช่ผลึกยูเรต จะมีอาการไข้ร่วมด้วย แต่กาการจะทุเลาและหายไปเองในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคเก๊าท์ 

สำหรับสาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในเลือดในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ ซึ่งกรดยูริกทำให้เกิดการสะสมของตะกอนยูริคที่ข้อกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง ปวด ที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ อาจเกิดกับกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดดรคเก๊าท์ มีดังนี้ 

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติพ่อแม่ญาติพี่น้องเคยเป็นโรคมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้
  2. เป็นอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต ทำให้ไตขับกรดยูริคออกจากเลือดได้น้อย
  4. เพศ พบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. การดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ ทำให้กรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  6. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก ยอดอ่อนของผักบางชนิด
  7. ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเกิดโรคได้
  8. ผู้ป่วยจะปวดตามข้อต่างๆในเวลาอากาศเย็นมากกว่า
  9. ผู้ใช้ยา เลโวโดปา ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ แอสไพริน ไซโคลสปอริน จะส่งผลต่อการขับกรดยูริคในเลือดของไต

อาการโรคเก๊าท์

สำหรับอาการที่แสดงออกของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ ปวดอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า มักเกิดขึ้นภายใน 1 วัน บริเวณที่ปวดจะมีอาการปวมแดง บวมตึง หากสัมผัสเจ็บมาก เดินไม่สะดวก

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆด้วย โดนภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  1. เกิดปุ่มผลึกยูริค ตามข้อต่างๆและใบหู หากปล่อยเรื้อรัง ส่งผลต่อบุคคลิกภาพ การเข้าสังคม สภาพจิตใจ อาการทางจิต
  2. ข้อพิการหากไม่ได้รักษา เดินไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ นิ่วในไต ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  3. กรรมพันธุ์ร่วมกับ์โรคเก๊าท์ ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์มักเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ร่วมด้วย
  4. หากปล่อยเรื้อรังอาจจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์

สำหรับการวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติการรักษาโรค และ พฤติกรรมของผู้ป่วยก่อน จากนั้นตรวจสภาพร่างกายส่วนที่บวมแดง และ เจาะเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก รวมถึงเอ็กเรย์ดูข้อต่อที่ปวมแดง

การรักษาโรคเก๊าท์ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรค ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ พักผ่อนอย่างเพียงพอ

แนวทางการปฏบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

สำหรับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. เลิกดื่มสุรา
  4. งดการกินอาหารจำพวก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว  ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลา ส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา
  5. สำหรับอาหารสามารถรับประทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เช่น ผักและผลไม้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิดธัญพืช ปลาน้ำจืด
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  7. หลีกเลี่ยงการกระแทกข้อกระดูกเท้า
  8. หากเกิดอาการปวดข้อกระดูกหัวแม่เท้าห้ามบีบหรือนวดข้อต่อที่ปวด เนื่องจากจะทำให้ปวดมากยิ่งขึ้น อักเสบมากขึ้น
  9. ประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำแข็งบริเวณที่ปวด
  10. ดื่มนม วันละ 1 แก้ว เนื่องจากดื่มนมช่วยให้ไตขับกรดยูริคออกจากกระแสเลือดได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โรคเบาหวาน เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ป่วยเบาหวานต้องรักษาอย่างไร ปัจจัยของการเกิดโรค อาการของโรคเบาหวาน และ การป้องกันการเกิดโรค ต้องทำอย่างไรโรคเบาหวาน โรค อาการโรคเบาหวาน เบาหวาน

โรคเบาหวาน ( Diabetes ) คือ โรคแบบเรื้อรังโรคหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดจากความผิดปรกติของตับอ่อน หรือ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรักษาตลอดชีวิต ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย

สาเหตุโรคเบาหวาน 

สำหรับสาเหตุของโรคเบาหวาน คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ โดยเกิดจากความผิดปรกติของการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( insulin ) จากตับอ่อน ซึ่งเป็นฮอร์โมนส่วนที่จะนำน้ำตาลกลูโคส ( glucose ) ที่อยู่ในกระแสเลือดมาสู่เซลล์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย หรือ เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินในปริมาณปกติแต่ เซลล์ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจากอินซูลินได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ภาวะดื้ดต่ออินซูลิน จึงส่งผลทำให้เกิดการสะสมของปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เกิดจากกลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  1. คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  2. คนพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นการนำกลูโคสไปใช้ของเซลล์ต่างๆ
  3. พันธุกรรม กลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีโอกาสเกิดเบาหวานได้
  4. อายุ เพราะ คนที่อายุมากเซลล์จะมีการใช้กลูโคสลดลง
  5. ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง มักพบว่าเป็นโรคที่เป็นร่วมกันกับโรคเบาหวาน
  6. ผู้ป่วยโรคความดันในเลือดสูง มันมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวาน

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่สามารถสังเกตุได้ และ บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน สามารถสังเกตุอาการได้ ดังนี้ 

  1. กระหายน้ำบ่อย
  2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  3. ผิวหนังแตกแห้ง เกิดอาการคันตามผิวหนัง
  4. ตาแห้ง แสบตา
  5. มีอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  6. มีอาการซูบผอมลงอย่างเห็นได้ชัด
  7. หากเกิดบาดแผลจะหายช้ากว่าปกติ
  8. มองเห็นไม่ชัดเป็นภาพพล่ามัว

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แนวทางการวินิจแํยโรค ใช้าการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งต้องอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งหากค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะโรคเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวาน

สำหรับการรักษาโรคเบาหวาน สามารถรักษาโรคด้วยวิธีทานการแพทย์ร่วมกันกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้ยารักษาโรค คือ ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยาลดความดัน การฉีดอินซูลินในรายที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อย และ การปรับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้งน้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผักและผลไม้ และออกกำลังกาย

ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน 

การอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆทุกชนิดในร่างกาย หลอดเลือดต่างๆตีบแคบลงขาดเลือดของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ โรคหัวใจ โรคไตโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และเบาหวานขึ้นตา แผลหายช้าหากดูแลรักษาไม่ดีเป็นอันตรายถึงกับต้องตัดขา ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

การป้องกันโรคเบาหวาน 

สำหรับแนวทางการป้องกัยการเกิดโรคเบาหวาน คือ การลดความเสี่ยงของการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ที่มนุษย์สามารถควบคุมได้ และ หมั่นตรวจเลือดเพื่อดูค่าน้ำตาลในเลือด

  • หากพบว่าปริมาณไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ควรตรวจค่าน้ำตาลในเลือดควบคู่กัน ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงมันพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดอาหารหวาน อาหารมัน บริโภคผักและผลไม้
  • ควรตรวจร่างการเป็นประจำทุกปี หากพบความผิดปกติจะได้รักษาทันท่วงที

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย