กระเจี๊ยบเขียว Lady’s finger รับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus (L.) Moench สำหรับชื่อเรียกอ่อนๆของกระเจี๊ยบเขียว เช่น ถั่วเละ (ภาคอีสาน)  กระต้าด (สมุทรปราการ) มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ ทวาย มะเขือทะวาย  (ภาคกลาง) มะเขือพม่า มะเขือมอญ มะเขือขื่น มะเขือละโว้ มะเขือมื่น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย

สำหรับกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ โดยแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย คือ เขตหนองแขม กทม นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรีราชบุรี จันทบุรี ตราด สระแก้ว และ สมุทรสาคร มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 2000 ไร่ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น มากถึง ร้อยละ 95 ปริมาณการส่งออกในปี 2535 ส่งออกกระเจี๊ยบเขียวสด 2436 ตัน มูลค่ารวม 113 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกรองจากญี่ปุ่น คือ ยุโรป ส่งออกไปยัง เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ มีการส่งออกเป็นกระเจี๊ยบเขียวกระป๋อง ด้วย

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น นิยมรับประทานฝักอ่อน โดยนำมาลวก และ รับประทานเป็นผัก ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน และ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • รากกระเจี๊ยบเขียวมีระบบรากแก้ว และ รากฝอย ลึกลงใต้ดิน 30 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นไม้เนื้ออ่อน ตังตรง สูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย และมีกิ่งสั้นๆ
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นชนิดใบเดี่ยว สีเขียว ใบทรงกลม เป็นแฉกๆ ปลายใบแหลม ใบหยักคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเป็นรูเว้าเหมือนหัวใจ ผิวใบหยาบ และ สากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีม่วง และดอกจะพัฒนาเป็นฝักอ่อนในเวลาต่อมา
  • ฝักและเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตมาจากดอก ลักษณะของฝักยาวเรียว ปลายฝักแหลม มีสีเขียว ภายในฝักมีเมล็ด สีขาว

สายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกัน สายพันธ์กระเจี๊ยบที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 3 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ของไทย เป็นสายพันธ์ที่ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธ์ที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ ลักษณะเด่น ฝักสีเขียวเข้ม ปลายฝักไม่มีงอยยาว สายพันธ์นี้ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมาก
  • กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ผสมจากต่างประเทศ เช่น สายพันธ์เคลมสัน สายพันธ์สปายน์เลส ลักษณะเด่น คือ ฝักกลมป้อม ใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว มีการนำฝักอ่อน และ เมล็ดของกระเจี๊ยบเขียวมาศึกษา โดยผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.215 มิลลิกรัม
วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม แร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแห้งกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 21.18% ไขมัน 33.53% โปรตีน 25.28% โพแทสเซียม 328.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 152.42 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 323.67 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเจีี๊ยบเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เมล็ด และ ผล สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรคุณช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลพุพอง รักษาโรคซิฟิริส ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้พอกแผลรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกระเจี๊ยเขียว นำมาตากแห้งบดผสมนม ใช้รักษาอาการคัน
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาไข้หวัด ป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยล้างสารพิษตกค้างในลำไส้ เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด รักษาโรคหนองใน ช่วยบำรุงตับ รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดอาการอักเสบปวดบวม ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

ในเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) พืชมหัศจรรย์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น บำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถั่งเช่า ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้างถั่งเช่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ถั่งเช่า ( chóng cǎo) ตังถั่งเช่า ( dōng chóng cǎo ) ตังถั่งแห่เช่า ( dōng chóng xià cǎo ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่งเช่า คือ Ophiocordyceps sinensis พืชที่พบในทิเบต แถบเทือกเขาหิมาลัย ตามตำราแพทย์แผนจีน นำมาทำยาบำรุงร่างกาย ถั่งเช่า เป็นเห็ดราชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนเห็ดราก็จะงอกออกมา เป็นเส้นตรง เราจะเรียกว่า ถั่งเช่า หรือ เห็ดถั่งเช่า

สรรพคุณเด่นของถั่งเช่า คือ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาอาการนกเขาไม่ขัน รักษาโรคมะเร็ง เห็ดถั่งเช่า มีความต้องการสูง และ ราคาแพงมาก นำมาเป็นส่วนผสมของยาจีนหลากหลาย เป็นยาบำรุงร่างกาย

สายพันธ์ถั่งเช่า

สำหรับสายพันธ์ของถั่งเช่าที่นิยมนำมาทำสมุนไพร มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธ์สีทอง และ สายพันธ์ทิเบต โดยคำแนะนำในการบริโภค ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ถั่งเช่าทิเบต เป็นถั่งเช่าแท้ๆ จากแหล่งธรรมชาติ ควรบริโภคไม่เกินวันละ 8 กรัมต่อวัน
  • ถั่งเช่าสีทอง เป็นถั่งเช่าจากการเพาะเลี้ยง ควรบริโภคไม่เกินวันละ 3 กรัมต่อวัน

ลักษณะของต้นถั่งเช่า

ถั่งเช่า ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นหนอน และช่วยฤดูร้อนเป็นหญ้า ลักษณะของตัวหนอน เป็น ตัวหนอนผีเสื้อ ที่มีเห็ดชนิดหนึ่ง ชื่อ วิทยาศาสตร์ Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. โดยหนอนชนิดในฤดูหนาวจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินที่ภูเขาหิมะ และ เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน น้ำแข็งละลาย สปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใย งอกออกจากตัวหนอน เห็ดเหล่านี้จะงอกขึ้นสู่พื้นดิน โดยลักษณะคล้ายไม้กระบอก ถั่งเช่า ก็คือ ตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง

ถั่งเช่าที่มีคุณภาพดี ลักษณะของตัวหนอนต้องมีสีเหลืองสดใส และ ยาว ขนาดสมบูรณ์ ส่วนที่เป็นเห็ด ต้องมีสีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า พบว่าในถั่งเช่า มีสารสำคัญ คือ Cordycepin เป็นสารที่มีสรรพคุณหลากหลาย เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการใช้พลังงานและปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานของไต และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบทางเดินหายใจ

สรรพคุณของถั่งเช่า

สำหรับการนำเอาถั่งเช่ามาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร บำรุงร่างกายและยารักษาโรค พบว่า สรรพคุณของถั่งเช่า มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ช่วนบำรุงผิวพรรณ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย
  • บำรุงประสาทและสมอล ช่วยระงับประสาท ทำให้ผ่อนคลาย ช่วยเพิ่มความจำ ป้องกันสมองเสื่อม
  • บำรุงหลอดเลือด ลดความดันโลหิต รักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรัล กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ บำรุงปอด ลดอาการเจ็บหน้าอก แก้ไอเรื้อรัง รักษาถุงลมโป่งพอง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด รักษาวัณโรค ช่วยละลายเสมหะ
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  • บำรุงตับ บำรุงไต
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • ลดอาการอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้มีบุตรง่าย ช่วยปรับประจำเดือน ช่วยทำให้อสุจิแข็งแรง

โทษของถั่งเช่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่งเช่า ต้องใช้ในประมาณที่เหมาะสม และ ใช้อย่างถูกต้อง โดยข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องระวังการใช้งาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หากกินยาเบาหวานด้วยอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปรกติ
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับเกล็ดเลือด ต้องระวังเนื่องจากถั่งเช่า มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

ถั่งเช่า มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน คือ สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ลักษณะของต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร สรรพคุณของถั่งเช่า คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย