หนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้ประดับ กันยุงได้ สรรพคุณและประโยชน์ของหนุมานประสานกาย เช่น ขับพิษ ห้ามเลือด รักษาแผล โทษของหนุมานประสานกายเป็นอย่างไรหนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้กันยุง สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

ต้นหนุมานประสายกาย ภาษาอังกฤษ คือ Edible-stemed Vine ชื่อวิทยาศาสตร์ของหนุมานประสานกาย คือ Schefflera leucantha R.Vig. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ว่านอ้อยช้าง ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง ต้นหนุมานประสานกาย พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกเป็น สมุนไพร ประจำบ้าน และ กันยุง มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย สามารถเจริญได้ดีพื้นที่ร้อนชื้น ทนแดด สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ช่วยรักษาแผลสด แก้ไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาวัณโรค แก้ร้อนใน ขับเสมหะ แก้อาการตกเลือด รักษาอาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย

นอกจากจะใช้ หนุมานประสานกาย เป็น ยาสมุนไพร ยังสามารถ ใช้ประโยชน์อื่นๆอีก ได้แก่

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะ เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ดอกมีความความสวยงาม ผลเมื่อสุกสีแดงสด สวย สามารถปลูกในกระถางได้ ไม่ต้องกานพื้นที่มาก ทนแดดได้ดี สามารถปลูกกลางแจ้งได้
  • ปลูกเพื่อป้องกันยุง สามารถนำใบของ หนุมานประสานกาย มาทำเป็นยากันยุงได้ โดย ตากใบให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับน้ำมะพร้าว สัดส่วน 1 ต่อ 1 ต้มด้วยไฟแรง ประมาณ 5 นาที กรองเอากากออก ทิ้งไวจนเย็น สามรถนำมาทาเป็นยากันยุงได้ดี ออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง เหมาะสำหรับ ผู้ที่แพ้ยากันยุงที่ทำมาจากสารเคมี ใช้ทดแทนกันได้ดี
  • ใช้เป็น สมุนไพรยาสามัญประจำบ้าน แก้เจ็บคอ แก้ไอ เด็ดใบเคี้ยว สะดวก ไม่ต้องผ่านการต้ม

ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย 

หนุมานประสานกาย สามารถขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นไม้พุ่ม ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ลำต้น ความสูงไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นกลม เรียบ ไม่มีหนาม
  • ใบ ใบกระจายแบบนิ้วมือ มีประมาณ 8 ใบ รูปยาวรี ปลายแหลม แต่ละใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 ซม. และ มีความยาวประมาณ 5-8 ซม. ผิวใบเรียบมัน
  • ดอก มีเป็นช่อ แต่ละดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เหลืองนวล ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว
  • ผล ผลรูปทรงกลม ขนาดเล็ก มีน้ำมาก มีความกว้างประมาณ 4-5 มม. และ มีความยาวประมาณ 5-6 มม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สุก จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

ตัวยาสำคัญในหนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย มีตัวยา ที่ถูกนำมาวิเคราะห์ทางเคมี และ แยกสารสำคัญออกมาแล้ว สารประกอบเชิงซ้อน ได้แก่ Butulinic acid, D-glucose, D-Xylose, Oleic acid, L-rhamnose และ สารซาโปนิน ( Saponins ) ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากใบหนุมานประสานกาย มีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่ไปกดหัวใจ เป็นสารต้านทำหน้าที่ลดการหลั่ง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และ เร่งการหดตัวของบาดแผล ทำให้แผลปิดสนิทและหายเร็วขึ้น

สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหนุมานกาย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค  สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น และ ใบ ซึ่งสรรพคุณของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ทั้งต้นของหนุมานประสานกาย สรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ใบหนุมานประสานกาย สรรพคุณรักษาหืดหอบ รักษาวัณโรค แก้ไอ รักษาไข้หวัด แก้เจ็บคอ รักษาแผลในช่องปาก ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับพิษ ช่วยแก้อาการตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตรของสตรี ช่วยสมานแผล ช่วยห้ามเลือด แก้อาการอักเสบบวม ช่วยแก้ช้ำใน

โทษของหนุมานประสานกาย  

หนุมานประสานกายไม่ได้มีแต่คุณประโยชน์ แต่ยังมีโทษด้วย หากไม่ระมัดระวังการใช้ประโยชน์ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหนุมานประสานกาย เพราะ อาจะส่งผลถึงทารกในครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานยาที่มีส่วนผสมของหนุมานประสานกาย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่มีไข้สูง เพราะ อาจจะทำให้ไข้ไม่ลด เพราะ ไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป
  • หลังออกกำลังกาย ไม่ควรกินหนุมานประสานกาย เพราะ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป
  • ไม่ควรใช้ หนุมานประสานกาย ตัวเดียว เป็นยาเดี่ยว ติดต่อกันนานเกินไป เมื่ออาการหายดี ควรหยุดใช้ หากต้องการใช้เป็นยาดื่มบำรุง จะต้องใช้ตามตำรับ ยาสมุนไพรไทย เพราะ จะได้มีฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดอื่น มาลดทอนฤทธิ์ซึ่งกันและกัน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

หญ้าหวาน แทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักขาดหวานไม่ได้หญ้าหวาน สมุนไพร ลดความอ้วน สรรพคุณของหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน ( Stevia ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย และมีการปลูกทั่วโลกบริเวณเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมีการปลูกมากในภาคเหนือตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา หญ้าหวานชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร โดยในใบหญ้าหวาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า เรียกว่า สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) แต่ไม่ได้ให้พลังงาน ทำให้เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก ที่ขาดการกินหวานไม่ได้

ประโยชน์ของหญ้าหวาน มีการนำหญ้าหวานมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณ โดยในปัจจุบันมีการนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลในอุตสหกรรมต่างๆ ได้แก่ ใช้แทนน้ำตาลในการประกอบอาหาร เป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารคนที่ต้องการลดน้ำหนัก นำมาสกัดเป็นสารให้ความหวาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชาเขียว ขนมปังเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอมหวาน หมากฝรั่ง ซอสปรุงรสต่างๆ ใช้แทนน้ำตาลในกระบวนการผลิตยาสีฟันที่มีรสหวานสำหรับเด็ก

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

หญ้าหวาน ชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร เป็น สมุนไพรไม้พุ่ม มีอายุประมาณ 3 ปี เป็นพืชล้มลุก ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและชำกิ่ง ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน มีความสูงไม่มาก ประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นสีเขียวอ่อน ตรงและค่อนข้างแข็ง แตกยอดชี้ขึ้น
  • ใบหญ้าหวาน ลักษณะใบ เป็นประเภทใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแต่หัวกลับ ขอบใบมีหยักคล้ายกับฟันเลื่อย โดยมีรสหวานมาก ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ มีความหวานมากกว่าน้ำตาล
  • ดอกหญ้าหวาน ลักษณะดอก เป็นช่อที่ออกปลายกิ่ง สีของดอกมีสีขาว ขนาดดอกเล็ก กลีบเป็นรูปคล้ายไข่ มีสีขาวเล็กมาก มีเกสรเพศผู้ เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาจากกลีบดอกเล็กน้อย

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าหวานด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีการนำหญ้าหวานมีใช้เป็นสมุนไพร สรรพคุณของหญ้าหวาน  มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า
  • บำรุงช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ สมองแล่นทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี นิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยสามารถบริโภคหวานได้แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในร่างกาย
  • ช่วยลดไขมันในเลือด ให้มีระดับปกติ โดยลดระดับไขมันเลว ( LDL ) และช่วยเพิ่มไขมันดี ( HDL )  ทำให้ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพฤกอัมพาต
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงระบบการขับสารพิษออกจากร่างกายที่ตับ
  • ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ทั้งแผลสดและแผลแห้ง ให้หายได้เร็วขึ้น

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

หญ้าหวาน พืชให้ความหวานแทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักที่ขาดการกินหวานไม่ได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย