กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้างกระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นฝรั่ง ผลไม้ สมุนไพร วิตามินซีสูง ต้นฝรั่งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของฝรั่งเป็นอย่างไรฝรั่ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฝรั่ง ( Guava ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ Psidium guajava L. ชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น ย่าหมู มะก้วย มะก้วยกา มะกา มะจีน  มะมั่น ยะมูบุเตบันยา ยะริง ยามุ ย่าหวัน สีดา เป็นต้น ถิ่นกำเนิดของฝรั่งอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง และ หมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก และมีการแพร่เข้าสู่ประเทศไทย สมัยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากพ่อค้าชาวโปรตุเกส และ สเปน

ฝรั่งในปะเทศไทย

สำหรับฝรั่งในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการปลูกฝรั่งในเชิงพาณิชย์ เพื่อการบริโภคในประเทศเป็นผลไม้สด เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นิยมนำมารับประทานผลฝรั่งสด หรือ นำมาแปรรูป เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น

แหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบันปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร และ ฝรั่งสามารถให้ผลผลิตได้ทั้งปีอีกด้วย

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง คือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชในตระกลูเดียวกันกับชมพู่ สามารถขยายพันธ์โดยการ เพาะเมล็ดพันธ์ การต่อกิ่ง การตอนกิ่ง และ การติดตา โดยลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นของฝรั่ง ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบฝรั่ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นทรงรี ปลายใบมน ขอบใบเรียบ สีเขียว ท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกฝรั่ง ดอกเป็นดอกเพศสมบูรณ์ ดอกออกตามซอกใบ สีขาว
  • ผลฝรั่ง เจริญเติบโตจากดอกฝรั่ง ลักษณะกลม มีเนื้ออ่อน สีขาว ผลสีเขียวอ่อน ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดฝรั่ง ลักษณะเล็ก กลม สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแข็งมาก เมล็ดมีจำนวนมากอยู่ภายในผลฝรั่ง

สายพันธุ์ของฝรั่ง

สำหรับฝรั่งที่นิยมนำมารับประทาน มีหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธ์ฝรั่งที่นิยมนำมาปลูกเพื่อการค้า มีดังนี้

  • ฝรั่งสายพันธ์เวียดนาม ลักษณะผลใหญ่
  • ฝรั่งสายพันธ์กิมจู ลักษณะพิเศษ คือ ไร้เมล็ด ผลสีนวลสวย รสหวานอร่อย เนื้อกรอบ
  • ฝรั่งสายพันธ์กลมสาลี่ เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูก
  • ฝรั่งสายพันธ์แป้นสีทอง คือ สายพันธ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลโต เนื้อขาว กรอบ
  • ฝรั่งสายพันธ์ไร้เมล็ด ลักษณะผลยาว ไม่มีเมล็ด นิยมใช้ทำน้ำฝรั่ง เนื่องจากมีเนื้อฉ่ำ

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

สำหรับผลฝรั่ง มีวิตามินซีสูง นักโภชนาการได้ศีกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลฝรั่ง ขนาด 165 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 8.9 กรัม โปรตีน 4.2 กรัม ไขมัน 1.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม วิตามินเอ 1030 IU วิตามินซี 377 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.8 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 81 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 688 มิลลิกรัม และ ธาตุทองแดง 0.4 มิลลิกรัม

ในผลฝรั่งมีสารสำคัญ คือ สารเพคติน ( pectin ) ซึ่งเป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide ) ประเภท heteropolysaccharide ทำให้หน้าการยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายแข็งแรงขึ้น

สรรพคุณของฝรั่ง

สำหรับการใช้ประโยชนจากฝรั่ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค าสามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ผล และ ราก โดย สรรพคุณของฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฝรั่ง สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง บรรเทาอาการอักเสบ รักษาเหงือกบวม แก้ปวด บรรเทาอาการปวดฟัน บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันลำไส้อักเสบ ป้องกันยุง รักษาโรคน้ำกัดเท้า
  • รากของฝรั่ง สรรพคุณใช้รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล ช่วยห้ามเลือด
  • ผลของฝรั่ง สรรพคุณ บำรุงผิวพรรณ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคอหิวาตกโรค รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน บำรุงหัวใจ บำรุงเหงือกและฝัน ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ เป็ยยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยล้างพิษในร่างกาย

โทษของฝรั่ง

สำหรับการกินฝรั่ง หากบริโภคอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการบริโภคฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดของฝรั่ง อาจทำให้เมล็ดตกค้างในไส้ติ่ง ทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบได้ ไม่ควรรับประทานฝรั่งทั้งเมล็ด
  • การปลูกฝรั่ง มีการใช้สารเคมีป้องกันการทำลายของศัตรูพืช ทำให้ผลฝรั่งอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนำฝรั่งมารับประทาน ควรทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างที่ผิวของผลฝรั่ง
  • ผลฝรั่ง มีคาร์โบไฮเดรตสูง สำหรับ สตรีมีครรภ์หากรับประทานผลฝรั่งในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย ทำให้เป็นอันตรายต่อครรภ์

ต้นฝรั่ง ผลไม้ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร วิตามินซีสูง ลักษณะของต้นฝรั่ง เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง ประโยชน์และสรรพคุณของฝรั่ง เช่น บำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค โทษของฝรั่ง เป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย