ผักบุ้ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณบำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้างผักบุ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นผักบุ้ง ( Swamp morning glory ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักบุ้ง คือ Ipomoea aquatica Forssk. ชื่อเรียกอื่นๆของผักบุ้ง เช่น ผักทอดยอด ผักบุ้งไทย ผักบุ้งแดง ผักบุ้งน้ำ ผักบุ้งนา กำจร เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมนำผักบุ้งมาประกอบอาหาร หลายเมนูอาหาร เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง สุกี้ แกงส้ม แกงเทโพ เป็นต้น

ผักบุ้งในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นั้น นิยมรับประทานผักบุ้งเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายเมนูอาหาร ที่มีผักบุ้งเป็นส่วนประกอบ รวมถึงการรับประทานผักบุ้งเป็นผักสด ผักบุ้ง จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกผักบุ้งเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคภายในประเทศ แหล่งปลูกผักบุ้ง จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับสายพันธ์ผักบุ้ง ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีผักบุ้ง 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา และ ผักบุ้งจีน โดยรายละเอียดของสายพันธ์ผักบุ้ง ที่ควรรู้จักจะกล่าวในเนื้อหาถัดไป

สายพันธุ์ผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้ง มีหลายสายพันธ์ุ แต่ มี 3 สายพันธ์ุ ที่นิยมปลูกและรับประทานในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน และ ผักบุ้งน้ำ รายละเอียดแต่ละสายพันธุ์ มีดังนี้

  • ผักบุ้งไทย หรือเรียกอีกชื่อว่า ผักบุ้งน้ำ เป็นผักบุ้งที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ ใบยาว เรียว ลำต้นมีขนาดเล็ก นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง
  • ผักบุ้งจีน คือ ผักบุ้งที่มีขนาดของใบและลำต้นใหญ่ ปลูกบนดิน เป็นผักบุ้งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า
  • ผักบุ้งนา คือ ผักบุ้งพันธุ์พื้นบ้าน ลำต้นเล็ก มีสีเขียวบนแดง หรือ สีแดงน้ำตาล นิยมนำมากินเป็นผักสด แนมกับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ ส้มตำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักบุ้ง

สำหรับผักบุ้งนั้น จัดอยู่ในพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สามารถขึ้นในน้ำและดินได้ สำหรับการขยายพันธ์ผักบุ้ง สามารถขยายพันธ์ โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธุ์ ลักษณะของต้นผักบุ้ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักบุ้ง เป็นลักษณะปล้องๆ กลม เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ มีสีเขียว ภายในลำต้นกลวง และ มีรากออกตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักบุ้ง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีสีเขียว ใบจะออกมาจากปล้องของลำต้น
  • ดอกผักบุ้ง ดอกออกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายรูประฆัง สีขาวหรือม่วงอ่อน ดอกผักบุ้งออกได้ตลอดปี
  • เมล็ดของผักบุ้ง เมล็ดผักบุ้งพัฒนามาจากดอกผักบุ้ง ลักษณะกลมรี สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

สำหรับการบริโภคผักบุ้งนั้น นิยมบริโภคผักบุ้งทั้งสด หรือ นำมาลวก ผ่านความร้อน ซึ่งบริโภคทั้งต้นทุกส่วนของผักบุ้ง ยกเว้นรากของผักบุ้ง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผักบุ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 19 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม วิตามินซี 55 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม

สรรพคุณของของผักบุ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักบุ้ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของผักบุ้ง ตั้งแต่ รากผักบุ้ง ดอกผักบุ้ง ใบผักบุ้ง หรือ ทั้งต้นของผักบุ้ง โดย สรรพคุณของผักบุ้ง มีดังนี้

  • ดอกผักบุ้ง สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ แก้อักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
  • รากผักบุ้ง สรรพคุณแก้ไอ รักษาโรคหืด รักษาอาการตกขาว ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการบวม
  • ใบผักบุ้ง สรรพคุณใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ทำให้อาเจียน ใช้ถอนพิษยาเบื่อ ป้องกันมะเร็ง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ทั้งต้นของผักบุ้ง สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร้ง แก้ร้อนใน ช่วยคลายร้อน บำรุงระบบประสาท ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดหัว แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน รักษาแผลร้อนใน รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการฟกช้ำ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

โทษของผักบุ้ง

สำหรับการกินผักบุ้งนั้น มีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่การกินผักบุ้งต้องกินอย่างปลอดภัย และ กินในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับข้อควรระวังในการบริโภคผักบุ้ง มีดังนี้

  • ผักบุ้งนิยมปลูกเชิงพาณิชย์ ซึ่งในผักบุ้งอาจเจือปนสารเคมี ยาฆ่าแมลงได้ ก่อนนำผักบุ้งมารับประทานต้องทำความสะอาดให้ดีก่อน หากล้างไม่สะอาด อาจทำให้มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย และ ทำให้ท้องเสียจากการกินอาหารไม่สะอาด
  • ใบสดของผักบ้ง นำมาคั้นนำสดๆ กลิ่นเหม็นเขียวของผักบุ้ง ทำให้เกิดอาการอาเจียน สำหรับคนที่ไม่ต้องการอาเจียน ให้หลีกเลี้ยงการกินน้ำใบผักบุ้งตั้นสด แต่ การอาเจียน สามารถช่วยรักษาอาการเป็นพิษจากการเบื่ออาหาร หรือ แก้เมาได้

ผักบุ้ง คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นผักบุ้งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง สรรพคุณของผักบุ้ง เช่น บำรุงสายตา มีกากใยอาหาร ช่วยการขับถ่าย โทษของผักบุ้ง มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำมาปรุงรสชาติอาหารให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอักเสบ โทษของมะนาวมะนาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle มะนาวเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับส้ม (RUTACEAE) ชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น

มะนาว จัดว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ พืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการใช้สูง จากการศึกษาสารในมะนาว พบว่า น้ำมะนาว มีสารฟลาโวนอยด์ สูง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบ และ รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปรกติ สำหรับการนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสชาติ ให้รสเปรี้ยว มีการนำเอามะนาวมาแปรรูปเป็นอาหารหลายรูปแบบ เช่น มะนาวดองเปรี้ยวหวาน มะนาวแช่อิ่ม มะนาวผง และ น้ำมะนาวสำเร็จรูป

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย สำหรับการปลูกมะนาวนั้น สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

สายพันธุ์ของมะนาว

สำหรับมะนาวมีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ คือ มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวหนัง และ มะนาวทราย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะนาวไข่ ลักษณะเปลือกบาง ผลกลม หัวท้ายยาว สีอ่อนคล้ายไข่เป็ด
  • มะนาวแป้น ลักษณะผลใหญ่กลม เปลือกบาง มีน้ำมะนาวมาก นิยมใช้บริโภคเชิงพาณิชย์ โดยสายพันะุ์ พันธุ์แป้นรำไพ และแป้นดกพิเศษ นิยมปลูกมากที่สุด
  • มะนาวหนัง ลักษณะผลกลม เปลือกหนา สามารถเก็บรักษาได้นาน
  • มะนาวทราย ไม่นิยมนำมาบริโภค เนื่องจากน้ำมะนาว มีรสขม นิยมนำมาปลุกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นมะนาวทรายลักษณะเป็นพุ่มสวน ให้ผลตลอดปี

สำหรับ มะนาวสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น มะนาวตาฮิติ มะนาวหวาน มะนาวปีนัง มะนาวโมฬี มะนาวพม่า มะนาวเตี้ย เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับมะนาว นิยมใช้ประโยชนืจากน้ำมะนาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

น้ำมะนาว มีสารเคมีสำคัญเป็รส่วนประกอบ คือ กรดมาลิค ( Malic Acid ) กรดแอสคอร์บิก ( Ascorbic Acid ) และ กรดซิตริค ( Citric Acid )

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับ มะนาว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลากหลาย และ สามารถใช้ได้แทบบทุกส่วนของต้น ทั้ง ใบมะนาว รากมะนาว เปลือกผลมะนาว น้ำมะนาว โดย สรรพคุณของมะนาว มีรายละอียด ดังนี้

  • ใบมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้เวียนหัว รักษาหูด
  • น้ำมะนาว สามารถช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว สามารถช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่ายขึ้น ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาว อย่างปลอดภัยต้องบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะนาวอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดอันตราย และ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากมะนาว โดยข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาว มีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • ความเปรี้ยวจากน้ำมะนาว ช่วยลดกลิ่นคาว และ กำจัดแบคทีเรีย แต่การกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

มะนาว พืชพื้นบ้าน นิยมนำน้ำจากผลมะนาว มาปรุงรสชาติอาหาร ให้รสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะนาว เป็นอย่างไร ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของมะนาว สรรพคุณของมะนาว เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงเลือด ลดอาการอักเสบ เป็นต้น โทษของมะนาว มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย