ส้มโอ ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ ต้นส้มโอ คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ เช่น ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงกำลัง โทษของส้มโอมีอะไรบ้างส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณส้มโอ

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. เป็นพืชตระกูลส้ม  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มโอ เช่น มะขุน มะโอ (เหนือ) โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร)  ลีมาบาลี (ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง) เป็นต้น ส้มโอ มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ เป็นพืชชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นผลไม้ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง ประเทศไทยถือว่าเป็นที่มีการปลูกส้มโอที่มากที่สุดในโลก และ มีสายพันธ์ส้มโอที่มีมากที่สุดในโลกเช่นกัน แหล่งปลูกส้มโอของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ จังหวัดชุมพร นครปฐม นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และ เชียงราย

สายพันธุ์ส้มโอ

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกส้มโอ และ มีสายพันธ์ส้มโอที่หลากหลาย ซึ่งแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญ คือ ที่ราบลุมภาคกลาง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย รายละเอียด ดังนี้

  • ส้มโอสายพันธุ์ทับทิมสยาม เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อส้มโอสีแดงเข้ม รสหวาน กลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เปลือกบาง
  • ส้มโอสายพันธุ์ทองดี เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ลักษณะพิเศษ คือ ผลโต กลม ไม่มีจุก รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อเป็นสีชมพู
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ลักษณะพิเศษ คือ ผลใหญ่ กลมสูง และ ก้นเรียบ
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวใหญ่ เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อขาวอมเหลือง รสเปรี้ยวอมหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวพวง สายพันธ์นี้เป็นสายพันธ์ดังเดิม ลักษณะพิเศษ คือ ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง และ มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวา เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดชัยนาท ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง และ เนื้อสีขาว
  • ส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย เป็นส้มโอสายพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร
  • ส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย เป็นส้มโอของทางภาคใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากส้มโอจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความอุดมณ์สมบรู์ ดินดี น้ำดี จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน จะใช้ส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ นอกจากนั้น ส้มโอ เป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ อีกด้วย

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร สำหรับการขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีดังนี้

  • ลำต้นส้มโอ ลักษณะของลำต้นเป็นทรงไม่แน่นอน เหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย มีขนปกคลุมตามลำต้น ลำต้นเป็นทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว
  • ใบส้มโอ ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ เรียงสลับกันตามกิ่ง ใบส้มโอมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบหนา และเป็นมัน รูปร่างคล้ายรูปไข่ยาว ปลายใบมน และ ใบมีรอยเว้าตรงกลางเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย มีขนนุ่มปกคลุม
  • ดอกส้มโอ ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกเดี่ยว ดอกออกบริเวณปลายกิ่งอ่อน ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีขาว กลีบดอกมีรูปหอก กลีบดอกหนา ดอกส้มโอจะออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมของทุกปี
  • ผลส้มโอ เจริญเติบโตจากดอกส้มโอ ผลส้มโอสามารถเก็บผลผลิดประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี ลักษณะผลค่อนข้างกลม ผลมีขนาดใหญ่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา มีต่อมน้ำมันจำนวนมาก  ส่วนเนื้อผลแบ่งออกเป็นกลีบๆเรียงติดกันเป็นวงกลม ภายในกลีบจะฉ่ำน้ำให้รสหวานอมเปรี้ยว
  • เมล็ดส้มโอ อยู่ในผลส้มโอ เมล็ดส้มโอลักษณะแบน เปลือกเมล็ดมีสีเขียวอมเหลือง และเป็นร่องลึก

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

สำหรับการรับประทานส้มโอเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อของผลส้มโอ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของส้มโอขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลส้มโอ เปลือกส้มโอ ใบส้มโอ รากส้มโอ เมล็ดส้มโอ และ ดอกส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ ดังนี้

  • ผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเหงือและฟัน แก้เมาสุรา แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม
  • เปลือกส้มโอ สรรพคุณแก้ไอ แก้เวียนหัว ขับเสมหะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ใบส้มโอ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดบวม
  • รากส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • เมล็ดส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ดอกส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง

โทษของส้มโอ 

สำหรับส้มโอ เปลือกส้มโอมีน้ำมันมาก ไม่สามารถรับประทานได้ หากน้ำมันหอมระเหยเข้าตาทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา หากรับประทานทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้ รวมถึงเมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทย ลักษณะของต้นกล้วยเป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษเรียก Cultivated Banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’ สำหรับชื่อเรียกอ่ื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า จัดเป็น ยาอายุวัฒนะ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน ด้วยรสชาติอร่อย ราคาถูก ทานง่าย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ต่างๆ

กล้วยน้ำว้า เป็นสายพันธ์หนึ่งของกล้วย เกิดจากการผสมพันธ์ระหว่างกล้วยตานีกับกล้วยป่า กล้วยน้ำว้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย คือ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาว และกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้า สามารถรับประทานผลได้ ทั้งผลสุกและผลดิบ มีการนำเอากล้วยน้ำว้ามาทำอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

กล้วยน้ำว้าในสังคมไทย

กล้วยน้ำว้าอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน และ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประเพณีต่างๆในสังคมไทย เราสามารถแบ่งความสำคัญของกล้วยน้ำว้าต่อสังคมไทยในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อ มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้า มากมาย เช่น สตรีมีครรภ์หากรับประทานกล้วยแฝด จะทำให้ได้ลูกแฝด เชื่อว่าในต้นกล้วยมีผีนางตานีสิงอยู่ เป็นต้น
  • ด้านยารักษาโรค มีการนำเอากล้วยมารักษาโรคหรือใช้เป็นส่วนประกอบในการรักษาโรค เช่น ใบกล้วยใช้รองนอน สำหรับผู้ป่วยมีแผลผี หรือ แผลไฟไหม้ ผลกล้วยใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
  • ด้านอาหาร กล้วยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล้วยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน มีผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากกล้วยหลายชนิด เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน เป็นต้น
  • ด้านประเพณีและพิธีกรรม ต้นกล้วยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบูชา ในพิธีกรรมต่างๆของคนไทย เช่น ต้นบายศรี กล้วยในงานแต่งงาน กาบกล้วยแทงหยวกในงานเผาศพ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร สามารถรับประทานผลสุกและผลดิบ เป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 85 แคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม ะาตุแคลเซียม 8 กรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้น ใบ ยางจากใบ ผลสุก ผลดิบ และ หัวปลี สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • รากกล้วย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ลำต้นกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคไส้เลื่อน
  • ใบกล้วย สรรพคุณใช้รักษาแผลสุนัขกัด ช่วยห้ามเลือด
  • ยางจากใบกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด สมานแผล
  • ผลกล้วยดิบ สรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยาระบาย
  • ผลกล้วยสุก สรรพคุณเป็นยาระบาย
  • หัวปลี สรรพคุณช่วยขับน้ำนม

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร หรือ ใช้ในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมาตลอด ลักษณะของต้นกล้วย เป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผล บำรุงระบบทางเดินอาหาร โทษของกล้วยน้ำว้า มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย