กล้วย สมุนไพร ผลไม้ รับประทานง่าย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยงาช้าง กล้วยหิน กล้วยให้พลังงานสูง มีแร่ธาตุและวิตามินครบ

กล้วย สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณกล้วย

ประโยชน์ของกล้วย นอกจากกล้วยจะเป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมายแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้วยอีกมากมาย ได้แก่ ผลกล้วยใช้เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว โดยนำมาเป็นส่วนประกอบของครีมมาร์กหน้า มีการนำเปลือกกล้วย มาแก้ผื่นคัน ตรงบริเวณที่ยุงกัด ใบกล้วยนำมาใช้เป็นเครื่องใช้บรรจุอาหารภายในบ้าน เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้ โดยต้องเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

ต้นกล้วย ภาษาอังกฤษ เรียก banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วย คือ Musa balbisiana Musa acuminata กล้วยที่กล้วยกินผลสดได้ เช่น  กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และ กล้วยที่ต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด ซึ่งแต่ละชนิดพบแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะของต้นกล้วย

ต้นกล้วย เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วย ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วย เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางอาหารของกล้วย 

การรับประทานกล้วย 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 89 กิโลแคลอรี ซึ่งมากจากน้ำตาล และ คาร์โบไฮเดรต ประเภทแป้งกล้วย มีไฟเบอร์ ไขมัน โปรตีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี1, 2, 3, 5, 6 และ 9 วิตามินซี แร่ธาตุต่างๆ Fe, Mg, Mn, P, K, Na และ Zn

สรรพคุณของกล้วย 

นอกจากกล้วยจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง และ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ได้แก่

  • บำรุงร่างกายโดยรวม เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอความแก่ หน้าเด็กกว่าวัย
  • ลดความอ้วน โดยรับประทานกล้วยแทนขนมจุกจิก ทำให้อิ่มท้อง ไม่อยากรับประทานมากเกินความจำเป็น
  • ช่วยอาการนอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย โดยรับประทานกล้วยก่อนนอน
  • ลดอาการหงุดหงิด จากความเครียด หรือ จากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ตามรอบเดือนของสตรี
  • แก้อาการเมาค้าง ช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำตาลของร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกินไป
  • แก้อาการท้องผูกเพราะมีเส้นใยมาก ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี
  • บรรเทาอาการของริดสีดวงทวารช่วยให้อาการปวดลดลงขณะขับถ่าย
  • ลดกรดในกระเพาะ ลดอาการแสบท้องจากกรดในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง เพราะในผลกล้วยมีธาตุเหล็กสูง
  • สรรพคุณรักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตก
  • รักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง ช่วยลดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร
  • สรรพคุณรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด ช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี
  • ลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่อง
  • บรรเทาอาการแพ้ท้อง
  • บรรเทาอาการนิ่วในไตได้ดี

โทษของกล้วยน้ำว้า

ถึงแม้ว่ากล้วยจะมีประโยชน์สามารถรับประทานและใช้ประโยชน์ได้มาก แต่หากใช้ส่วนที่เป็นพิษหรือรับประทานมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกล้วย มีดังนี้

  • ไม่ควรกินยางกล้วบ เนื่องจากยางกล้วยมีความเป็นพิษ คือ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์
  • การกินผลกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ มีแก๊สในลำไส้

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทย ลักษณะของต้นกล้วยเป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษเรียก Cultivated Banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’ สำหรับชื่อเรียกอ่ื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า จัดเป็น ยาอายุวัฒนะ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน ด้วยรสชาติอร่อย ราคาถูก ทานง่าย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ต่างๆ

กล้วยน้ำว้า เป็นสายพันธ์หนึ่งของกล้วย เกิดจากการผสมพันธ์ระหว่างกล้วยตานีกับกล้วยป่า กล้วยน้ำว้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย คือ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาว และกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้า สามารถรับประทานผลได้ ทั้งผลสุกและผลดิบ มีการนำเอากล้วยน้ำว้ามาทำอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

กล้วยน้ำว้าในสังคมไทย

กล้วยน้ำว้าอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน และ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประเพณีต่างๆในสังคมไทย เราสามารถแบ่งความสำคัญของกล้วยน้ำว้าต่อสังคมไทยในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านความเชื่อ มีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้า มากมาย เช่น สตรีมีครรภ์หากรับประทานกล้วยแฝด จะทำให้ได้ลูกแฝด เชื่อว่าในต้นกล้วยมีผีนางตานีสิงอยู่ เป็นต้น
  • ด้านยารักษาโรค มีการนำเอากล้วยมารักษาโรคหรือใช้เป็นส่วนประกอบในการรักษาโรค เช่น ใบกล้วยใช้รองนอน สำหรับผู้ป่วยมีแผลผี หรือ แผลไฟไหม้ ผลกล้วยใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
  • ด้านอาหาร กล้วยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล้วยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน มีผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากกล้วยหลายชนิด เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน เป็นต้น
  • ด้านประเพณีและพิธีกรรม ต้นกล้วยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องบูชา ในพิธีกรรมต่างๆของคนไทย เช่น ต้นบายศรี กล้วยในงานแต่งงาน กาบกล้วยแทงหยวกในงานเผาศพ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร สามารถรับประทานผลสุกและผลดิบ เป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 85 แคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม ะาตุแคลเซียม 8 กรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้น ใบ ยางจากใบ ผลสุก ผลดิบ และ หัวปลี สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • รากกล้วย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ลำต้นกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคไส้เลื่อน
  • ใบกล้วย สรรพคุณใช้รักษาแผลสุนัขกัด ช่วยห้ามเลือด
  • ยางจากใบกล้วย สรรพคุณช่วยห้ามเลือด สมานแผล
  • ผลกล้วยดิบ สรรพคุณรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยาระบาย
  • ผลกล้วยสุก สรรพคุณเป็นยาระบาย
  • หัวปลี สรรพคุณช่วยขับน้ำนม

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร หรือ ใช้ในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย

กล้วยนน้ำว้า สมุนไพรไทย พืชท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมาตลอด ลักษณะของต้นกล้วย เป็นอย่างไร สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผล บำรุงระบบทางเดินอาหาร โทษของกล้วยน้ำว้า มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย