ชะมวง พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใบชะมวงรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นชะมวง สรรพคุณของชะมวงเช่น บำรุงเลือด เป็นยาระบาย ช่วยขับเสมหะ โทษของชะมวง มีอะไรบ้างชะมวง สมุนไพร ใบชะมวง สรรพคุณของชะมวง

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa พืชตระกูลมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น

ต้นชะมวง พืชท้องถิ่น ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า มาเลเชีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเชีย และไทย ชะมวงสามารถพบได้ทั่วไป แต่มีมากในภาคใต้ ชะมวง ชอบดินชื้น ใกล้แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง ใบชะมวง ในสังคมไทย นิยมใช้นำมาทำอาหาร หลากหลายเมนู เช่น หมูชะมวง ต้มเนื้อชะมวง เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กและขนาดกลาง ชอบอากาศร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนสูงตลอดปี ชะมวงจึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคตะวันออกและภาคใต้ ของประเทศไทย ชะมวงสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้นชะมวง เป็นทรงพุ่มรูปกรวย ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นผิวเกลี้ยง แตกเป็นสะเก็ด ลำต้นแตกกิ่งก้านทางตอนบนของต้น เปลือกสีน้ำตาลดำ เปลือกด้านในสีชมพูแดง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองขุ่น
  • ใบชะมวง เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวอมม่วง ใบแก่เสีเขียวเข้ม ใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา แค่เปราะ
  • ดอกชะมวง ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นกระจุก ออกดอกตามซอกใบ และ ออกดอกตามกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกหนาและแข็ง ดอกชะมวงจะออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลชะมวง ผลเจริญเติบโตจากดอก ลักษณะของผลกลม เป็นแฉกๆเหมือนรูปดาว ผิวของผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง ผลชะมวงสุกรสเปรี้ยว สามารถใช้รับประทาน แต่ผลชะมวงมียางทำให้ติดฟันได้ ผลชะมวงออกผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของชะมวง

สำหรับชะมวงสามารถนำมารับประทานได้ทั้งใบและผล นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวงและสารต่างๆในชะมวง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม น้ำ 84.1 กรัม วิตามินเอ วิตามินบี1 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 29 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

สารเคมีที่พบในใบชะมวง พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิดC-glycoside ได้แก่ vitexin , orientin และ สารกลุ่มสเตียรอยด์ ได้แก่ beta-sitosterol ใบชะมวงมีสารชะมวงโอน ( Chamuangone ) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี มีการนำไปทดสอบกับ เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว เป็นต้น

ประโยชน์ของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง นอกจากด้านอาหารและการรักษาโรค มีดังนี้

  • เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปได้ ใช้ในงานก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน เครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง
  • ต้นชะมวง นำมาปลูก เพื่อเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงา สร้างความร่มรื่น
  • เปลือกของต้นชะมวง นำมาทำสีย้อมผ้า
  • ยางของชะมวงนำมาทำสีเหลือง สำหรับนำมาย้อมผ้า และ ยางนำมาผสมน้ำมันใช้ขัดเงาได้

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับสรรพคุณของชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ เปลือก เนื้อไม้ ดอก ราก และ ยาง สรรพคุณของชะมวง มีดังนี้

  • ผลชะมวง สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย
  • ใบชะมวง  สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับระดู
  • ดอกชะมวง สรรพคุณช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
  • รากชะมวง สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง
  • เนื้อไม้ชะมวง สรรพคุณขับเสมหะ เป็นยาระบาย

โทษของชะมวง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้อย่างเหมาะสม และ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง มีดังนี้

  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน
  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

อ้อย พืชเศรษฐกิจ ให้ความหวาน สมุนไพร ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สรรพคุณของอ้อย เช่น บำรุงกำลัง รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร ทำให้มีบุตร โทษของอ้อย มีอะไรบ้างอ้อย สมุนไพร สรรพคุณของอ้อย

ต้นอ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane พืชตระกูลหญ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. ชื่อเรียกอื่นๆของอ้อย เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง กะที เก่อที อำโป โก้นจั่ว กำเซี่ย กำเจี่ย และ ชุ่งเจี่ย เป็นต้น

ต้นอ้อย พืชที่ปลูกง่าย ทนต่อความแห้งแล้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ต้นอ้อยมีแหล่งปลูกมากถึง 70 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดีย เป็นต้น

สายพันธุ์อ้อย

สำหรับสายพันธ์อ้อยมีหลายพันธุ์ และ แตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธ์ แต่สายพันธุ์อ้อยที่นิยมในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ  อ้อยเคี้ยว และ อ้อยทำน้ำตาล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อ้อยเคี้ยว ลักษณะเปลือกและชานอ้อยจะนิ่ม มีรสหวานปานกลาง สามารถเคี้ยวได้ เป็นสายพันธ์ที่นำมารับประทานแบบสดๆ ซึ่ง อ้อยเคี้ยว มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยพันธ์สิงคโปร์ อ้อยพันธุ์มอริเชียส อ้อนพันธุ์บาดิลาสีม่วงดำ เป็นต้น
  • อ้อยทำน้ำตาล เป็นสายพันธ์ลูกผสม ปลูกเพื่อการผลิตน้ำตาล สำหรับประเทศไทย มี 20 สายพันธุ์ ที่ปลูกเพื่อการค้า เช่น อ้อยพันธ์บี 4098 อ้อยพันธ์ซีบี 38-22 อ้อยพันธ์ซีโอ 419 อ้อยพันธ์ซีโอ 421 อ้อยพันธืเอฟ108 อ้อยพันธ์เอฟ 134 อ้อยพันธ์เอฟ 137 อ้อยพันธ์เอฟ 138 เป็นต้น

อ้อยในประเทศไทย

แหล่งปลูกในประเทศไทย มีทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้ภูมิอากาศไม่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ประเทศไทยส่งเสริมการปลูกอ้อยเป็นพืชทางเศรษฐกิจ มีสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปริมาณการผลิตอ้อยมากที่สุดอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก ความสูงไม่เกิน 3 เมตร ลำต้นมีความหวาน สามารถขยายพันธ์โดยกานแตกหน่อ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นอ้อย มีดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นข้อปล้องจำนวนมาก ลำต้นมีน้ำมาก รสหวาน ลำต้นผิวแข็ง เรียบ
  • ใบอ้อย ลักษณะแผ่นใบยาว เหมือนใบข้าว ปลายใบแหลม สีเขียว กาบใบ โอบรอบลำต้น แผ่นใบ มีแกนตรงกลาง ลักษณะแข็ง
  • ดอกอ้อย ดอกเป็นช่อ สีขาว ดอกเล็กๆที่ติดกันเป็นคู่ แต่ละดอกจะมีขนสีขาว
  • ผลของอ้อย คล้ายผลเมล็ดข้าว ขนาดเล็ก เมล็ดอ้อยสามารถนำมาเพาะพันธ์ได้

สรรพคุณของอ้อย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอ้อย ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น ลำต้น แก่น ราก น้ำอ้อย เปลือกลำต้น สรรพคุณของอ้อย มีดังนี้

  • ทั้งต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยให้มีบุตร
  • รากอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้มีบุตร
  • แก่นอ่อย สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเมาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน แก้ปวดประจำเดือน
  • ลำต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการเพ้อ ลดไข้ ช่วยขับเสมหะ รักษาไซนัสอักเสบ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเทาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาแผลพุพอง
  • ตาอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นอ้อย สรรพคุณรักษาตานขโมย รักษาแผลในปาก รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาแผลกดทับ
  • ชานอ้อย สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง  รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง

การปลูกอ้อย

สำหรับการปลูกอ้อย นั้นอ้อยชอบ ดินร่วนปนทราย มีความชื้น สำหรับการเจริญเติบโตของอ้อย แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะงอก ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้อง และ ระยะแก่สุก รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะงอก (germination phase) คือ ระยะเริ่มต้นการปลูกจนกระทั่งหน่อโผล่พ้นดิน ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • ระยะแตกกอ (tillering phase) คือ ระยะหลังจากการปลูกประมาณ 60 วัน โดยการแตกกออ้อย ให้มีจำนวนข้อที่เหมาะสม
  • ระยะย่างปล้อง (stalk elongation phase) คือ ระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 3 – 4 เดือน
  • ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase) คือ การสะสมน้ำตาลจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคอ้อย น้ำอ้อยมีความหวาน หากรับประทานน้ำอ้อย ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ซึ่งหากน้ำตาลในเส้นเลือดมากเกินไป จะทำให้เป็นเบาหวาน และ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ตามมาได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย