เปลือกไข่ไก่มีประโยชน์มากมาย เปลือกไข่นำมาบดเป็นผง นำไปหุงปนกับข้าวสาร เพิ่มคุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยได้

เปลือกไข่ไก่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สารอาหารสำคัญในเปลือกไข่ไก่ คือ แคลเซียม ในการสร้างเปลือกไข่ไก่จะใช้แคลเซียม ที่ผิวของเปลือกไข่ไก่มีรูเล็กจำนวนมาก วัตถุประสงค์ช่วยระบายความชื้นและรับอากาศเข้าไป ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเป็นตัวของลูกไก่ สำหรับเปลือกไข่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้หลากหลาย

ประโยชน์เปลือกไข่ไก่

  • เปลือกไข่ไก่ไล่มดได้ นำเปลือกไข่ไปไปเผาไฟ และ บดให้ละเอียดผสมกับน้ำ สามารถใช้ไล่มดได้  โดยนำไปฉีดพ่น หรือ ราดบริเวณรังมด
  • เปลือกไข่ไก่ ใช้ซักผ้าทำให้ผ้าขาวสะอาด เปลือกไข่ไก่ห่อผ้าเอาไว้ และนำไปต้มกับผ้าขาว จากนั้นนำไปขยี้ตามปกติ ผ้าจะดูขาวขึ้น เปลือกไข่ไก่บดละเอียดผสมกับโซดา นำมาซักผ้าใช้แทนผงซักผ้าได้
  • เปลือกไข่ไก่ สามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงได้ ทุบเปลือกไข่จนแตกละเอียด นำมาใต้ฟืนจะทำให้ไฟแรงขึ้น
  • กินเปลือกไข่ ช่วยเพิ่มแคลเซียม ในเปลือกไข่มี ธาตุเหล็ก และ แคลเซียม นำเปลือกไข่ไก่ล้างให้สะอาด นำมาบดเป็นผง นำไปหุงปนกับข้าวสาร เพิ่มคุณค่าทางอาหาร
  • เปลือกไข่ไก่ นำมาทำเครื่องมือทำความสะอาด เหลือกไข่ไก่ใช้ขัดอ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ และ เครื่องใช้เซรามิค
  • เปลือกไข่ไก่ ใช้เป็นปุ๋ย เพิ่มแคลเซียมในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยให้พืชเจริญเติบโตงดงาม
  • เปลือกไข่ไก่ ใช้แทนยาฆ่าแมลง นำเปลือกไข่ไก่ทุบหยาบๆ และโรยไว้ตามใบของต้นไม้ ช่วยป้องกันศัตรูพืชบางประเภทได้ เช่น ตัวหนอน

เปลือกไข่ไก่ มีประโยชน์มากมาย นำมาใช้ประโยชน์ได้ ไข่ คือ อาหารยอดนิยมของมุษย์ชาติ ไม่ใช้แค่คนไทยที่ชอบกินไข่ไก่ การกินไข่จะกินส่วนด้านในของไข่ และ เปลือกไข่ไก่ส่วนใหญ่ก็ทิ้ง ไม่นำไปใช้ประโยชน์ ประโยชน์ของเปลือกไข่มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • Agricultural Marketing Service. “How to Buy Eggs”. Home and Garden Bulletin. United States Department of Agriculture (USDA) (264): 1.
  • Howe, Juliette C.; Williams, Juhi R.; Holden, Joanne M. (2004). “USDA Database for the Choline Content of Common Foods” (PDF). United States Department of Agriculture (USDA). p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2012.
  • Montagne, Prosper (2001). Larousse Gastronomique. Clarkson Potter. pp. 447–448. ISBN 978-0-609-60971-2.
  • Roux, Michel; Martin Brigdale (2006). Eggs. Wiley. p. 8. ISBN 978-0-471-76913-2.
  • Stadelman, William (1995). Egg Science and Technology. Haworth Press. p. 1. ISBN 1560228547.
    “Food and Agriculture Organization article on eggs”. Fao.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10.
  • “Vitamin A, RAE Content of Selected Foods per Common Measure, sorted by nutrient content” (PDF). United States Department of Agriculture (USDA). 2005. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2012.
  • “University Science article on eggs and cholesterol”. Unisci.com. 29 ตุลาคม 2001. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2010.
  • “Eggs and fetal brain development”. Pdrhealth.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2010.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์และสรรพคุณของม้ากระทืบโรง บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ของม้ากระทืบโรง คือ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. ชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร พญานอนหลับ มาดพรายโรง เดื่อเครือ บ่าบ่วย เป็นต้น

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เลื้อย ทรงไม้พุ่ม มักพบตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นม้ากระทืบโรง มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก มีปุ่มคล้ายหนาม เนื้อไม้เป็นสีขาว  ลำต้นมีน้ำยาง สีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามเถา ลักษณะของใบรูปไข่
  • ดอกม้ากระทืบโรง ดอกออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นช่อ ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกของผลม้ากระทืบโรง มีสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนากการของม้ากระทืบโรง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของม้ากระทืบโรง พบว่าเถาของม้าประทืบโรง มีสารเคมีต่างๆ ประกอบด้วย

  • สารเคมีกลุ่ม eudesmane sesquiterpene  ประกอบด้วย  foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol , 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารเคมีกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารเคมีกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

สำหรับต้นม้ากระทืบโรง มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยใช้ส่วน ทั้งต้น เถา เนื้อไม้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง  แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มความต้องการทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

สารเคมี foveolide A ในลำต้นของม้ากระทืบโรง มีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ม้ากระทืบโรง คือ พืชประเภทไม้เลื้อย สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง สรรพคุณของม้ากระทืบโรค ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

แหล่งอ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
  • “ไม้ดีมีประโยชน์ – “ม้ากระทืบโรง” บำรุงความกำหนัด”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย