หม่อน หรือ มัลเบอร์รี ใบหม่อนใช้เลี้ยงตัวไหม ต้นหม่อนอายุยาวนานถึง 100 ปี ผลหม่อน คุณค่าทางโภชนาการสูง ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหม่อน โทษของหม่อนหม่อน มัลเบอร์รี่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สำหรับการเลี้ยงไหม ใบหม่อมมีความสำคัญ ใบหม่อนเป็นอาหารของหนอนไหม หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ( Mulberry ) ยังเป็นผลไม้ คุณค่าทางโภชนาการสูงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ชาใบหม่อนเป็นสมุนไพรชั้นยอด

ต้นหม่อน หรือ ต้นมัลเบอร์รี่ ( Mulberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ Morus alba Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของหม่อน เช่น มอน ( อีสาน ) ซึงเฮียะ ซึงเอียะ (แต้จิ๋ว) ซางเย่ (จีน) เป็นต้น

ชนิดของต้นหม่อน

สำหรับต้นหม่อนมี 2 ชนิด คือ หม่อนกินผล เรียก Black Mulberry ผลโต ผลสุกสีดำ รสเปรี้ยวอมหวาน และ หม่อนเลี้ยงไหม เรียก ( White Mulberry ) เป็นหม่อนใบใหญ่ ใบหม่อนนำมาให้หนอนไหมรับประทาน เพื่อนำเส้นใยไหมมาใช้ประโยชน์นำมาทำสิ่งทอ

ลักษณะของหม่อน

ต้นหม่อน ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีนตอนใต้ และ เทือกเขาหิมาลัย เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทย และ ต้หม่อนกินใบปลูกมาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของต้นหม่อน มีดังนี้

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 2 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มาก เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลแดง มีเส้นแตกที่เปลือกผิว
    ต้นหม่อน
  • ใบหม่อน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมยาว สีเขียว ขอบใบหยักเว้าเป็นพู ใบค่อนข้างหนา หลังใบสากระคายมือ
  • ดอกหม่อน ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกสีขาว
  • ผลหม่อน เจริญเติบโตจากดอก ผลออกเป็นกระจุก ตามซอกใบ ลักษณะผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อผลนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

สำหรับประโยชน์ของหม่อนด้านการบริโภค นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบหม่อนและผลหม่อน โดยคุณค่าทางโภชนาการของหม่อน มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบหม่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  มี กรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

คุณค่าทางโภชนาการของผลวหม่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.68 กรัม คาร์โบไฮเดรต 21.35 กรัม ไขมัน 0.47 กรัม กากใยอาหาร 2.03 กรัม แคลเซียม 0.21 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 0.07 มิลลิกรัม เหล็ก 43.48 มิลลิกรัม วิตามินซี 25 มิลลิกรัม วิตามินเอ 50.65 มิลลิกรัม วิตามินบี1 3.66 มิลลิกรัม วิตามินบี2 930.10 มิลลิกรัม วิตามินบี6 6.87 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 3.42 มิลลิกรัม

สารสำคัญต่างในหม่อน มีมากมาย ดังนี้

  • ผลหม่อน มีสารanthocyanin
  • ใบหม่อน มีสารต่างๆ เช่น flonoid phytoestrogen , triterpene , ceramide , mulberroside , kuwanon L , ulberrofuran A , sangenone C
  • กิ่งและลำต้นหม่อน มีสารต่างๆ เช่น 2-oxyresveratrol , mulberroside F

สรรพคุณหม่อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหม่อน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ กิ่งและลำต้น สรรพคุณของหม่อน มีดังนี้

  • ผลหม่อน สรรพคุณช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน แก้กระหายน้ำ ป้องกันมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหาร
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ รักษาไข้หวัด แก้ปวดหัว แก้เวียนศรีษะ แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง ป้องกันมะเร็ง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย
  • กิ่งและลำต้นของหม่อน สรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้าเป็นตะคริว

โทษของหม่อน

สำหรับหารใช้ประโยชน์จากหม่อน มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน
  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด

 

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี พืชพื้นเมือง ใบหม่อนใช้เลี้ยงตัวไหม ต้นหม่อนอายุยาวนานถึง 100 ปี ผลหม่อน ก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหม่อน โทษของหม่อน

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย ต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษมีอะไรบ้าง

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรางจืด หรือ ต้นว่านรางจืด ( Laurel clockvine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของรางจืด คือ Thunbergia laurifolia Lindl. ชื่อเรียกอื่นๆของรางจืด เช่น รางเย็น , คาย , ดุเหว่า , ทิดพุด , ย่ำแย้ , แอดแอ , น้ำนอง , จอลอดิเออ , ซั้งกะ , ปั้งกะล่ะ , พอหน่อเตอ  , กำลังช้างเผือก , ยาเขียว , เครือเขาเขียว , ขอบชะนาง , ว่านรางจืด เป็นต้น ต้นรางจืด มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ พบมากตามป่าดงดิบ หรือ ป่าดิบชื้น นิยมนำมาปลูกตามบ้านเรือนทั่วไปของประเทศไทย

รางจืดในประเทษไทย

สำหรับต้นรางจืด นั้นภูมิปัญญาอีสาน ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันพิษ ลดความดัน และ รักษาโรคผิวหนัง การปรุงอาหารที่ได้จากป่า ให้ใส่ใบรางจืดและดอกรางจืด เข้าไปด้วย จะช่วยป้องกันพิษของอาหารได้ หมอสมุนไพร ใช้ยอดและดอกของรางจืด ทำอาหารสุขภาพ เพื่อลดความดันโลหิต รักษาอาการแพ้ที่ผิวหนัง และ รักษาผดผื่นคัน ได้

ชนิดของรางจืด

สำหรับ รางจืดที่ใช้ในตำรายาสมุนไพร แบ่งรางจืด ออกเป็น 3 ชนิด คือ รางจืดเถา รางจืดต้น และ ว่างรางจืด รายละเอียด ดังนี้

  • รางจืดเถา มีลักษณะเป็นเถายาวเลื้อย ซึ่งรางจืดเถา มี 3 ชนิด คือ รางจืดชนิดดอกสีม่วงอ่อน รางจืดชนิดดอกสีเหลือง รางจืดชนิดดอกสีขาว
  • รางจืดต้น ( Milica kityana ) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง รากรางจืดต้นสามารถแก้ยาพิษได้
  • ว่านรางจืด จัดอยู่ในกลุ่มว่าน ลำต้นอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวสีขาว มีกลิ่นหอม

ลักษณะของต้นรางจืด

ต้นรางจืด เป็นพืชเถา รางจืด เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ต้นรางจืดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ลักษณะของต้นรางจืด มีดังนี้

  • ลำต้นรางจืด ลักษณะเป็นเถา ยาวและเลื้อยเกาะตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อไม้แข็ง ลักษณะกลมเป็นปล้อง ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นไม่มีขน
  • ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบมีสีเขียว
  • ดอกรางจืด เป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า ดอกมีน้ำหวานภายในหลอด
  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝัก กลม ปลายผลจะเป็นงอย ผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

สารที่พบในรางจืด

สารเคมีที่พบในรางจืด มีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ( polyphenol ) และ ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) รายละเอียด ดังนี้

  • กรดฟีนอลิค ( phenolic acid ) คือ กรดแกลลิก ( gallic acid ) กรดคาเฟอิค ( caffeic acid ) และ กรดโปรโตคาเทคซูอิค  ( protocatechuic acid )
  • ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) ได้แก่ อาพิจินิน (apigenin) และ อาพิจินิน กลูโคไซด์ ( apigenin glucoside ) ซึ่งอาพิจินิน เป็นสารสำคัญสามารถยับยั้งพิษของสารหนูได้
  • อนุกรมวิธานของรางจืด ประกอบด้วย Kingdom : Planatae ,  Phylum : Magnoliophyta , Class: Magnoliopsida , Order : Scrophulariales , Family : Acanthaceae , Genus : Thunbergia และ Species : Laurifolia Linn.

สรรพคุณของรางจืด

การใช้ประโยชน์จากรางจืด ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบรางจืด รากรางจืด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบและรากของรางจืด สรรพคุณใช้รักษาแผล นำมาพอกแผล ทำเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร พิษเบื่อเมา แก้อาการเมาค้าง
  • ใบของรางจืด สรรพคุณใช้ถอนพิษไข้ แก้พิษเบื่ออาหาร
  • รากรางจืด สรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ลดอาการแพ้ที่ผิวหนัง รักษาผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ รักษาพิษสุราเรื้อรัง ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย ถอนพิษเบื่อเมา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

โทษของรางจืด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้ในปริมาณมากและไม่ใช้ติดต่อกันนานเกินไป โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรางจืด มีดังนี้

  • ไม่ควรดื่มน้ำที่คั้นจากรางจืด ติดต่อกันนานเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รางจืดจะเป็นพิษต่อร่างกายก็ตาม การรับประทานยาสมุนไพรชนิดใดๆ ก็ตามติดต่อกันเป็นเวลานานควรตรวจเลือด ค่าตับและไตด้วย
  • หากมีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานรางจืด อย่างน้อย 14 วัน
  • รางจืด สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด การรับประทานรางจืด ควรระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด อย่าให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • รางจืด อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย สรรพคุณช่วยขับพิษ บำบัดอาการติดยาเสพติด ลักษณะของต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของรางจืด สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษของรางจืดมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย