มะเร็งปอด Lung cancer ภาวะเกิดเนื้อร้ายที่ปอด มักเกิดกับคนสุบบุหรี่ อาการน้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุและแนวทางการรักษาโรคทำอย่างไรมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง โรคจากบุหรี่

โรคมะเร็งปอด ( Lung cancer ) การสูบบุหรี่ หรือ สูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการทำลายปอด และ ระบบทางเดินหายใจ โรคนี้นังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน โรคมะเร็งปอดพบมากในผู้ชายแต่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ สำหรับการเกิดมะเร็งปอดสามารถแบ่งชนิดของเซลล์มะเร็งที่ปอดได้ 2 ชนิด คือ

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small Cell Lung Cancer) พบอัตราการเกิดได้บ่อยถึง 80-85%
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 10%-15% อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่เราพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายปอดและ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม จากสถิติพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติพี่น้องที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งปอด มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดเช่นกัน
  • อายุ โรคนี้พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • สภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่สูดเข้าปอดส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ปอดโดยไม่ต้องสงสัย

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด จะแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนที่ระบบการหายใจ และ สภาพร่างกายที่อ่อนแอ ซึ่งเราสามารถระบุอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคด้วยตนเอง ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
  • มีอาการเหนื่อยง่ายๆ
  • มีภาวะโรคปอด เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ
  • เสียงพูดผิดปรกติ พูดได้ไม่เต็มเสียง เสียงแหบ
  • ไอเป็นเลือด รวมถึงไอไม่หยุด และ มีเสมหะจากการไอจำนวนมาก
  • มีอาการแน่นหน้าอก ปวดหน้าอก
  • เสียงหายใจเป็นเสียงนกหวัด หายใจได้ไม่เต็มปอด

ระยะของโรคมะเร็งปอด

สำหรับโรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งปอดได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียดของระยะโรคมะเร็งปอดต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งปอดระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่พบอาการผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แต่พบเพียงเซลล์มะเร็งขนาดเล็กที่ปอด เท่านั้น ระยะนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบว่าเกิดโรคมะเร็งปอด
  • มะเร็งปอดระยะสอง เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลือง ขั้วปอด รวมถึงผนังทรวงอก
  • มะเร็งปอดระยะที่สาม เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปทั่วทรวงอก และ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
  • มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งจากปอดกระจายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด แพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยใช้การตรวจต่างๆ รายละเอียดดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจทรวงอก ( thorocoscopy ) ใช้กล้องส่องเข้าที่ผนังทรวงอกเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การตรวจช่องกลางทรวงอก ( mediastinoscopy ) โดยการผ่าเปิดกระดูกทรวงอกส่วนบน สอดกล้องเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ และ น้ำเหลือง เพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
  • การเจาะช่องทรวงอกถึงชั้นเยื่อหุ้มปอด ( thoracentesis ) การเก็บของเหลวบริเวณเยื่อหุ้มปอด เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม ( bronchoscopy ) ใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าหลอดลมเพื่อเข้าสู่ปอด โดยดูดของเหลว และ ตัดชิ้นเนื้อ นำมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • ตรวจชิ้นเนื้อ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านทางช่องอกไปยังปอด เพื่อ ดูดของเหลว และ เนื้อเยื่อมาวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็ง
  • การทำซีทีแสกน ( CT scan ) หรือ ทำเอ็มอาร์ไอ ( MRI ) เพื่อดูตำแหน่งก้อนเนื้อมะเร็ง และ ดูความผิดปกติของปอด
  • การฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ทราบตำแหน่ง และ ขนาดของเซลล์มะเร็งที่เกิดได้อย่างชัดเจน

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ ต้องใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกับ แต่มะเร็งปอดหากพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตันนำเซลล์มะเร็งออก สามารถรักษาได้ผลดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะต้นๆ ที่พบเซลล์มะเร็งขนาดเล็ดและยังไม่แพร่กรจาย
  • การทำเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสี ใช้แสงรังสีเพื่อการทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้ต้องทราบตำแหน่งมะเร็งที่ชัดเจน การรักษาวิธีนี้มีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองตามผิวหนัง อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร
  • การใช้ยาเจาะจงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นภัยต่อระบบการหายใจ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
  • หมั่นตรวจร่างกายประจำปี และ หากพบอาการผิดปกติต่างๆของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ทันที

โรคมะเร็งปอดLung cancer ) ภาวะเกิดเนื้องอกที่ปอด โรคจากการสุบบุหรี่ หากมีอาการ น้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุของมะเร็งปอด และ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ อาการปวดหัวรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยและการรักษาทำอย่างไรโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม้ติดต่อ การรักษาโรคความดัน

สถานการณ์ของโรคความดันสูง มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนมนุษย์ทั่วโลกมากถึง 9.4 ล้านคน และ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อายุมากกว่า 25 ปี มีมากถึร้อยละ 40 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ และ โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่แสดงอาการของโรคล่วงหน้า และ เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้ แต่มีปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกิน ซึ่งการกินอาหารที่เค็ม อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น
  • พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์

อาการของโรคความดันโลหิตสูง 

อาการของโรคความดันสูง นั้นมักไม่แสดงอาการผิดปกติของร่างกายอย่างชัดเจน จะแสดงอาการเมื่อเกิดความรุนแรงของโรคซึ่งเป็นอันตราย ลักษณะอาการที่แสดงออกว่าเป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูง คือ ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เท้าบวม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน เลือดกำเดาไหล หากเกิดอาการลักษณะนี้ต้องส่งตัวพบแพทย์ด่วน โรคความดันสูงเป็นฆาตกรเงียบ ( Silent Killer ) ทำให้เสียชีวิตได้อย่างกระทันหัน

ระดับความดันโลหิตปกติของร่างกาย คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท แต่คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คือวัดค่าความดันได้ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิตที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • 120-139/80-89 มม.ปรอท อันตรายไม่มากควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การดื่ม
  • 140-159/90-99 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • 160/100 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
  • 180/110 มม.ปรอทขึ้นไประยะอันตรายมาก ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะไต สมอง หัวใจล้มเหลว
  • 220/140 มม.ปรอทขึ้นไประยะวิฤต ต้องพบแพทย์โดยทันที

การตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูค่าของเลือดและการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิต สามารถรักษาได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การพักผ่อน การออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆข้างเคียง

แนวทางการปฎิบัตตนสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเกิดอาการกำเริบอย่างกระทันหันได้ โดยการปรับพฤติกรรมและการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการปฏิบัติตนของ

  1. ลดภาวะเครียด
  2. เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยลดการกินอาหารพวกไขมันมาก ของทอด แป้ง น้ำตาล อาหารเค็ม
  6. หากมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เท้าบวม เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน ต้องส่งตัวให้แพทย์ด่วน

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงรักษาอยาก แต่การป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า แนวทางการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  1. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
  2. ผ่อนคลาย ลดภาวะเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

โรคความดันโลหิตสูง ภาวะระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปรกติ หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นโรคความดัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย