ลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ มักเกิดกับเด็ก อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสี่ยงหัวใจล้มเหลว อันตรายถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ การรักษาและป้องกันอย่างไรลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะความผิดปรกติในของการทำงานของลิ้นหัวใจ การเกิดจากกล้ามเนื้อที่ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ไม่ปรกติ ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตอย่างสูง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับโรคนี้สาเหตุของการเกิดโรคมาจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น ความผิดปรกติของลิ้นหัวใจเอง หรือ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตัน เป็นต้น ซึงสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ลิ้นหัวใจมีคราบหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม
  • ภาวะแทรกซ็อนจากโรคหัวใจรูมาติด
  • การติดเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

อาการผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับการแสดงอาการของโรค อาการจะค่อยๆแสดงอาการ ซึ่งในระยะแรกไม่แสดงอาการให้รู้ แต่เมื่ออายุมากจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย และ ไม่มีแรง ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง
  • เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • ไอ มีเสมหะปนเลือด
  • เท้าบวม ขาบวมกดบุ๋ม ท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ สอบถามลักษณะอาการที่แสดงออก และ ทำการการตรวจคลื่นเสียงสะท้อน ตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยโรค

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการรักษาหากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดมีดังนี้

  • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ( Vale Repair ) ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้  ซึ่งสามารถทำได้บางรายเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ( Valve Replacement ) หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมา ทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจโลหะ และ ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ ซึ่งลิ้นหัวใจโลหะมีความคงทน แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ผู้ป้วยใช้ลิ้นหัวใจโลหะต้องกินยาตลอดชีวิต แต่สำหรับลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี

แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

เนื่องจากสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจร่วม มีทั้งสาเหตุจากอาการโดยกำเนิด และ ภาวะความผิดปรกติของลิ้นหัวใจจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว จึงมีแนวทางดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรถ์ ควรดูแลทารกในครรภ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  • หลีกเลี่ยง ภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน เพื่อป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาการที่มีประโยชน์

แนวทางการดูแลตนแองสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องรู้ตนเอง และ ขีดความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงจำเป็นต้องให้คนรอบข้างรับรู้ถึงเรามีปัญหาโรคลิ้นหัวใจรั่ว แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีดังนี้

  • ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือ หักโหม เกินไป
  • เลิกดื่มสุรา
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม เกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ เกิดมากในเด็ก ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรค และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเร็งหลอดอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไรมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่หลอดอาหาร ส่งผลต่ออวัยวะที่ทำหน้าที่ส่งอาหารจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งการแบ่งเซลล์ผิดปรกติหากลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งชนิดของโรคตามลักษณะของเซลล์มะเร็งได้ 3 ลักษณะ คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา และ  มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ ลักษณะดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดสะความัส ( Squamous Cell Carcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดขึ้นที่ชั้นผิวของหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนบน หรือ ส่วนกลาง เป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบมากที่สุด
  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา ( Adenocarcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดทที่เซลล์ของต่อมผลิตเมือก มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
  • มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ลักษณะที่แตกต่างจาก 2 ลักษณะแรก แต่ไม่พบมะเร็งลักษณะนี้บ่อย

สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคงมะเร็งหลอดอาหาร วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ทราบว่าเกิดจากการผิดปรกติของดีเอ็นเอบริเวณหลอดอาหาร แต่มีปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มีปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์ร่างกายผิดปรกติ ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่หลอดอาหาร
  • การได้รับสารเคมีที่หลอดอาหารอย่างรุนแรง เช่น การดื่มน้ำกรด การดื่มยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • โรคกรดไหลย้อนแบบเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารที่ผสมสารกันบูด กินอาหารที่เผ็ดจัด เป็นต้น
  • การดื่มสุรา
  • การบุหรี่
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะแสดงอาการของโรคที่ลำคอ เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร และ อาการของโรคจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารลำบาก มีอาการสำลักบ่อยๆ และ มีอาการไอระหว่างรับประทานอาหาร
  • มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ และ ลำคอ
  • มีก้อนตรงลำคอ และ มีอาการคอบวม
  • เสมหะมีปนเลือด
  • อาเจียนมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย
  • เสียงแหบ

ระยะการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหารมีระยะของการเกิดโรค เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้ 

  • มะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่หลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สอง เซลล์มะเร็งลุกลามสู่ภายนอกหลอดอาหาร และ ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เคียง
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง และ ต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายทั่วร่างกายทางกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม ตรวจร่างกายทั่วไป ส่องกล้องตรวจลำคอ ตราจเลือด X-rayปอดและช่องท้อง อัลตราซาวน์ช่องท้อง และ ตรวจกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือ  การผ่าตัด การฉายรังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในการเลือกวิธีการรักษา รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่องให้อาหารโดยทางสายยาง
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายไปที่ผนังหลอดอาหาร เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการวิธีนี้ต้องทำร่วมกับการฉายแสง

การป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหาร ปัจจุบันไม่มีการตรวจคัดกรองโรค ทำให้ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งจนกว่าจะแสดงอาการความผิดปรกติของร่างกาย สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสุบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และ แนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย