มะเร็งหลอดอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไรมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่หลอดอาหาร ส่งผลต่ออวัยวะที่ทำหน้าที่ส่งอาหารจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งการแบ่งเซลล์ผิดปรกติหากลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งชนิดของโรคตามลักษณะของเซลล์มะเร็งได้ 3 ลักษณะ คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา และ  มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ ลักษณะดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดสะความัส ( Squamous Cell Carcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดขึ้นที่ชั้นผิวของหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนบน หรือ ส่วนกลาง เป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบมากที่สุด
  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา ( Adenocarcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดทที่เซลล์ของต่อมผลิตเมือก มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
  • มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ลักษณะที่แตกต่างจาก 2 ลักษณะแรก แต่ไม่พบมะเร็งลักษณะนี้บ่อย

สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคงมะเร็งหลอดอาหาร วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ทราบว่าเกิดจากการผิดปรกติของดีเอ็นเอบริเวณหลอดอาหาร แต่มีปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มีปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์ร่างกายผิดปรกติ ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่หลอดอาหาร
  • การได้รับสารเคมีที่หลอดอาหารอย่างรุนแรง เช่น การดื่มน้ำกรด การดื่มยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • โรคกรดไหลย้อนแบบเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารที่ผสมสารกันบูด กินอาหารที่เผ็ดจัด เป็นต้น
  • การดื่มสุรา
  • การบุหรี่
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะแสดงอาการของโรคที่ลำคอ เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร และ อาการของโรคจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารลำบาก มีอาการสำลักบ่อยๆ และ มีอาการไอระหว่างรับประทานอาหาร
  • มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ และ ลำคอ
  • มีก้อนตรงลำคอ และ มีอาการคอบวม
  • เสมหะมีปนเลือด
  • อาเจียนมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย
  • เสียงแหบ

ระยะการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหารมีระยะของการเกิดโรค เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้ 

  • มะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่หลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สอง เซลล์มะเร็งลุกลามสู่ภายนอกหลอดอาหาร และ ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เคียง
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง และ ต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายทั่วร่างกายทางกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม ตรวจร่างกายทั่วไป ส่องกล้องตรวจลำคอ ตราจเลือด X-rayปอดและช่องท้อง อัลตราซาวน์ช่องท้อง และ ตรวจกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือ  การผ่าตัด การฉายรังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในการเลือกวิธีการรักษา รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่องให้อาหารโดยทางสายยาง
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายไปที่ผนังหลอดอาหาร เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการวิธีนี้ต้องทำร่วมกับการฉายแสง

การป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหาร ปัจจุบันไม่มีการตรวจคัดกรองโรค ทำให้ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งจนกว่าจะแสดงอาการความผิดปรกติของร่างกาย สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสุบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และ แนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและการรักษาทำอย่างไรมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( colon cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และ อวัยวะเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงร่างกายมีปัญหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรไทย ซึ่งพบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง และ พบมากในคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อลำไส้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ความผิดปรกติของเนื้อเยื่อร่างกาย การกลายพันธุ์ของยีนจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ร่างกาย จนเกิดการเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และ มีกากใยอาหารต่ำ
  • พันธุกรรม ในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อายุ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาศเกิดโรคนี้สูง
  • การอักเสบของลำไส้แบบเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงความผิดปรกติภายในช่องท้อง และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ระบบขับถ่ายทำงานผิดปรกติ เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ซึ่งเป็นแบบเรื้อรังไม่หายขาด
  • อุจจาระผิดปรกติ โดยอุจจาระเป็นเลือด และ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดอุจจาระบ่ายๆ
  • มีอาการปวดท้อง แน่นอึดอัดเหมือนมีแก๊สในท้อง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวลงโดยไม่มีสาเหตุ ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้ปรกติ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงอาการของโรคเป็น 4 ระยะ และ จะเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ในระยะนี้มีก้อนเนื้อขนาดเล็ก แต่ยังไม่ลุกลามที่ถึงผนังสำไส้ ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้โอกาสหายได้ถึง ร้อยละ 75 ถึง 80
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สอง ในระยะนี้จะมีก้อนเนื้อลุกลามออกมาถึงเยื่อหุ้มชั้นนอกผนังลำไส้ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 40 ถึง 70
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สาม ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ระบบน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 20 ถึง 60
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย ในระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายทั่วร่างกายผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 10

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ การส่องกล้องตรวจ และ การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูช่องท้อง

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็ว โดยการรักษาใช้การผ่าดัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซี่งแพทย์จะตัดชื้นเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งการคีโมจะใช้รักษาหลังการผ่าตัด
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) โดยการฉายรังสีเข้าไปบริเวณที่มีก้อนมะเร็ง เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกเล็กลงวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • อาการผมร่วง ตัวซีด คลื่นไส้อาเจียน
  • มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ แผลจะหายช้า และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณช่องท้อง
  • ส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่าย เนื่องจากลำไส้ใหญ่ถูกตัดให้สั้นลง

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทางการแพทย์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หากิจกรรมต่างๆเพื่อทำให้ไม่เครียด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย