ตำลึง พืชสวนครัว สารพัดประโยชน์ ทำความรู้จักกับผักตำลึง

ตำลึง พืชสวนครัว นิยมนำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู รับประทานเป็นผักสด สมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต ทำความรู้จักกับต้นตำลึงผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Ivy gourd  และชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท ผักแคบ ผักตำนิน แคเด๊าะ เป็นต้น พืชท้องถิ่นของไทยนิยมปลูกริมรั้วบ้าน นำมาทำอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอาหาร ทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด

ประโยชน์ของตำลึง 

สำหรับตำลึงนั้นนอกจากจะใช้รับประทานเป็นอาหารแล้วยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ประกอบด้วย

  • ใช้เป็นยาดับกลิ่นกาย ช่วยทำให้ไม่มีกลิ่นกายเหม็น  นำมาตำผสมกับปูนแดงให้เข้ากัน แล้วทาบริเวณรักแร้ หรือจุดซ่อนเร้น ที่ทำให้เกิดกลิ่นอับ
  • ใช้เป็นครีมทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าสดใส ดูเต่งตึง โดยใช้ยอดตำลึงครึ่งกำมือ และ ผสมกับน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย แล้วปั่นให้ละเอียดในโถ แล้วนำมาพอกที่หน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
  • ใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก นอกจากนั้นใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว และเมนูอื่นๆอีกมากมาย
  • ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน
  • ใช้เป็นยารักษาตาไก่ ที่เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ มาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางอาหารของตำลึง 

เนื่องจากตำลึง นิยมใช้ส่วนใบมาบริโภคและใช้ประโยชน์ คุณค่าทางอาหารส่วนใบ 100 กรัม ทั้งในใบและยอดอ่อน ประกอบด้วย พลังงาน 35 Kcal โปรตีน กากใย วิตามินA วิตามินB1 วิตามินB2 วิตามินB3 วิตามินC ธาตุCa ธาตุP และธาตุFe สารเบตาแคโรทีน  ช่วยชะลอวัย และต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณของตำลึง

นอกจาก ตำลึง จะเป็นผักที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถทำเมนูอาหารต่างๆได้มากมาย เช่น แกง ผัด ต้มต่างๆ ยังมีสรรพคุณที่เป็นสมุนไพรไทย ได้แก่

  • มีสารชะลอความแก่ โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์เกิดการเสื่อมช้าลง ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย
  • มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อให้หายจากการอักเสบ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี
  • มีสรรพคุณเป็นรักษาโรคเบาหวานได้ดี โดยใช้ต้มให้ได้น้ำตำลึง หรือ บีบคั้นสดทำให้น้ำตำลึงออกมา ใช้ดื่มเช้าเย็นวันละสองรอบ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาก ป้องกันการเกิดเบาหวานได้ดี
  • เนื่องจากตำลึงมีธาตุเหล็กสูงจึงสามารถช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โดยการบริโภคใบ หรือ ดื่มน้ำใบตำลึกก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
  • ช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ ลดการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือ เส้นเลือดในสมองแตกได้ดี
  • ในใบตำลึงมีธาตุแคลเซียมสูงทำให้ผู้บริโภคมีความแข็งแรงของกระดูกและฟัยมากขึ้น
  • พบว่ามีวิตามินเอมาก ทำให้ดีต่อระบบสายตา การมองเห็น บำรุงประสาทจอรับภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม แก้อาการตาฝ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ และสายตาอ่อนล้าจากการใช้งานสายตาในที่กลางแจ้งนาน
  • บำรุงระบบเลือดและการไหลเวียนโลหิต สร้างความแข็งแรงกับหลอดเลือดเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเลือดไปเปราะแตกได้ง่าย ลดการตีบตันได้ดี
  • ลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันเพราะมีวิตามินซีสูง
  • แก้อาการร้อนใน ดับร้อนภายในร่างกายได้ดี ลดอาการไข้  เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ใช้ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
  • แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วินเวียนศีรษะ
  • บรรเทาอาการตาแดง แสบตา เจ็บตา ปวดรอบๆดวงตา
  • แก้อาการแพ้อาหารเพราะรับประทานของผิดสำแดง โดยใช้เถาต้มเป็นยาดื่มลดอาการได้ดี
  • ลดอาการผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง แก้โดยการรับประทานใบสด ช่วยลดอาการได้ดี
  • ใช้ส่วนเปลือกรากและ หัว เพื่อเป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้องได้ดี
  • ขับสารผิดในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้
  • ใช้ส่วนใบสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้ดี ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ
  • ช่วยลดอาการแพ้ ลดอาการผื่นบริเวณผิวหนัง โดยใช้ใยสดตำมาทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • บรรเทาอาการคันหรืออักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือจากพืชที่ทำให้เกิดอาการคัน อาการแพ้ระอองเกสรพืชต่างๆ เกิดผื่นที่ผิวหนัง ใช้ใบสดหนึ่งกำมือตำและใช้ทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • แก้ฝีพิษและฝีแดง แก้อักเสบ ดับพิษต่าง ๆ
  • ใช้รักษาแผลสด แผลผุพอง ใช้ใบสดและรากตำและประคบบริเวณที่มีแผล บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ใช้แก้โรคหิด โดยใช้เมล็ดตำลึง ตำผสมน้ำมันมะพร้าว นำมาทาบริเวณที่เป็น ลดอาการได้ดี
  • สามารถใช้รักษาโรคงูสวัด และโรคเริม โดยใช้ใบสด 2 กำมือ (ล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้) ผสมให้เข้ากันกับพิมเสน หรืออาจจะใช้ดินสอพองแทนก็ได้ 1 ต่อ 4 ส่วน นำมาพอกบริเวณที่เกิดอาการ ช่วยบรรเทาและทำให้หายเร็วขึ่น
  • รับประทานตำลึงเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ดี

โทษของตำลึง

การรับประทานตำลึงเป็นอาหาร เนื่องจากสรรพคุณของตำลึงเป็นยาเย็น การรับประทานมากเกินไปอาจไม่ดีต่อร่างกาย โทษของตำลึง มีดังนี้

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

Last Updated on March 18, 2021