บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

ขมิ้น สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมใช้เหง้ามาทำประโยชน์ สรรพคุณของขมิ้น เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงระบบเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล ลดการอักเสบ แก้ท้องอืด บำรุงสมองขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ต้นขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นมีกลิ่นหอมที่มีความเฉพาะตัว นิยมใช้ตกแต่งกลิ่นและสีของอาหาร อาหารไทยนิยมใช้ขมิ้นมาทำอาหารหลายเมนูอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ ปลาต้มขมิ้น เป็นต้น

ขมิ้นมีประวัติการนำเอาขมิ้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากกว่า 5000 ปี ทั้งการนำมาทำเป็นยาและอาหาร ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าและหัวอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ขมิ้นชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนิยมใช้ประโยชน์จากเหง้าขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของเหง้าขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • บำรุงผิวพรรณ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • ช่วยสมานแผลทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น

โทษของขมิ้น 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้น หถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคขมิ้นต้องระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจจะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้น มีดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย