เก๊กฮวย สมุนไพรเมืองหนาว ดอกเก๊กฮวยมีประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก็กฮวยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับสารพิษ เป็นยาเย็น โทษของเก็กฮวยเก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย ภาษาอังกฤษ เรียก Chrysanthemum ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก็กฮวยขาว คือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๊กฮวยเหลือง คือ Chrysanthemum indicum L. ชื่อเรียกอื่นๆของเก็กฮวย เช่น เบญจมาศ เบญจมาศหนู ดอกขี้ไก่ เป็นต้น คุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวย คือ มีกลิ่นฉุน รสขมและหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ลักษณะของต้นเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย เป็นไม้ล้มลุก ต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเก็กฮวย มีดังนี้

  • ลำต้นเก็กฮวย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม กิ่งก้านมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบเก็กฮวย ใบเดี่ยว แบบเรียงสลับกัน ใบรูปไข่ บริเวณโคนใบและปลายใบแหลม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ดอกเก็กฮวย ดอกออกเป็นช่อกระจุกตัว ดอกออกตามงามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน

โดยทั่วไปเก็กฮวย มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ดอกมีสีขาว เมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอม อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง กลีบดอกมีสีเหลือง รสขมกว่าสายพันธ์ดอกขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเก็กฮวย

สำหรับ ดอกเก๊กฮวย มีสารสำคัญ ประกอบด้วย สารพวกฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอะดีนีน ( Adenine )  สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยจากดอกเก็กฮวย บำรุงหัวใจ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

สรรพคุณของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านสมุนไพร จะใช้ประโยชน์จากดอกเก็กฮวย สามารถนำมาต้มน้ำรับประทาน สรรพคุณของเก็กฮวย มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น
  • ขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  • ต้านเชื้อโรคและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ ช่วยลดไข้ แก้ไอ เป็นยาเย็น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเส้นเลือดตีบ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี แก้ปวดหัว
  • บำรุงสายตา ช่วยแก้ตาบวม แก้ตามัว รักษาอาการตาอักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม
  • รักษาแผล รักษาฝี แผลหนอง
  • บำรุงเส้นผม ช่วยอาการผมร่วง

โทษของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำเก็กฮวย หากเติมน้ำตาลมากเกินไป และ ดื่มน้ำเก้กฮวยที่หวานๆนานๆและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือด และ เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
  • น้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม ( Pyrethrum ) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง หากเกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา หรือ จมูก ให้หยุดการใช้ทันที

งาดำ ธัญพืช สมุนไพร นิยมนำเมล็ดงาดำมาบริโภค ต้นงาดำเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม และ บำรุงกระดูก โทษของงาดำ มีอะไรบ้างงาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. พืชตระกูลงา ต้นงาดำ เป็นพืชในเขตร้อน พืชท้องถิ่นของเอเชีย และ ทวีปแอฟริกา

งาดำ มีประโยชน์มากมาย นิยมรับประทานเป็นอาหาร เพื่อสุขภาพ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

การเลือกซื้อเมล็ดงาดำ

สำหรับการเลือกซื้อเมล็ดงาดำที่มีคุณภาพ เพื่อนำมารับประทาน ต้องเลือกงาดำที่สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน ให้สังเกตุจากการเก็ยรักษาต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด และ ไม่ควรเลือกซื้องาดำแบบบดสำเร็จ เพราะ อาจมีเชื้อราปนอยู่

การเก็บรักษางาดำ ให้เก็บในขวดที่สะอาด ปิดฝามิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

สำหรับการรับประทานงาดำ จะใช้ประโยชน์จาก เมล็ดในฝักของงาดำ นำมาปรุงอาหาร ให้กลิ่นหอม นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดงาดำ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม และ มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9

น้ำมันงาดำ

เมล็ดงาดำสามารถสกัดเอาน้ำมันงาดำได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยนำเมล็ดงาไปตำให้ละเอียดจากนั้นนำไปต้มน้ำร้อนจนน้ำมันแยกออกจากน้ำ และทำการแยกน้ำมันบริสุทธิ์ออกมาใช้ประโยชน์

สรรพคุณงาดำ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาดำ และ น้ำมันงาดำ สรรพคุณของงาดำ มีดังนี้

  • เมล็ดงาดำ สรรพคุณป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอความแก่ บำรุงระบบประสาทและสมอง บำรุงร่างกาย แก้อาการเมื่อยล้า ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดความอ้วน ช่วยบำรุงตับ ช่วยลดไขมัน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบเลือดหมุนเวียนดี ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ แก้ท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันโรคคอพอก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • น้ำมันงาดำ สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาผดผื่นคัน และ บำรุงเส้นผม

โทษของงาดำ

สำหรับงาดำ มีประโยชน์มากมายก้จริง แต่การใช้ประโยชน์ต้องเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เพื่อความปลอดภัยไม่ควรใช้นานเกินกว่า 20 วัน ข้อควรระวังในการรับประทานงาดำ มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์และสตรีที่กำลังให้นมบุตร สามารถรับประทานงาดำได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อรักษาโรค
  • งาดำมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานอยู่ หากกินงาดำร่วม อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป รวมถึงผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด ควรงดการกินงาดำ
  • งาดำสรรพคุณทำให้ความดันต่ำลง สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ อาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำเกินไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย