ฟักเขียว ฟักแฟง พืชท้องถิ่น ผลฟักเขียวนำมาทำอาหาร ต้นฟักเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง โทษของฟักเขียว มีอะไรบ้างฟักเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ภาษาอังกฤษเรียก Winter melon ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักเขียว เช่น Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักเขียว เช่น มะฟักหอม ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัก ฟัก ฟักขาว ฟักเขียว ฟักเหลือง ฟักจีน แฟง ฟักแฟง ฟักหอม ฟักขม ขี้พร้า ตังกวย ดีหมือ ลุ่เค้ส่าหลู่ซะ หลู่สะ หลึกเส่ สบแมง และ ฟักหม่น เป็นต้น

ฟัก เป็นพืชล้มลุก ประเภทเดียวกับ บวบ มะระ และ แตงชนิดต่างๆ ฟักเขียวมีถิ่นกำเนิดไม่ชัดเจน ซึ่งเปฌนพืชที่พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียใต้

ลักษณะของต้นฟักเขียว

ต้นฟักเขียว พืชล้มลุกอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฟักเขียว มีรายละเอีนด ดังนี้

  • ลำต้นฟักเขียว ลักษณะลำต้นสีเขียว มีขนปกคลุมทั่วทั้งต้น ลำต้นยาว เลื้อยตามที่ต่างๆ ลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบฟักเขียว ลักษณะใบคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ผิวใบหยาบ มีขนทั่วใบทั้งสองด้าน ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกฟักเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามใบ ดอกเป็นสีเหลือง ดอกมีขนปกคลุมหนาแน่น
  • ผลฟักเขียว ลักษณะผลกลมยาว ผลอ่อนมีขน ผลแก่ผิวผิวเรียบ เปลือกแข็ง สีเขียว เนื้อในของผลฟักเขียวสีขาว เนื้อหนาแน่น ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดฟักเขียว ลักษณะเมล็ดรีแบน ผิวเรียบ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

สำหรับฟักเขียว นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ทั้งผลสดและผลสุก โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียวสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 13 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.133 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.035 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.058 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 111 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.61 มิลลิกรัม

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับฟักเขียว สามารถใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จาก ผลฟักเขียว เปลือกฟักเขียว เมล็ดฟักเขียว เถาฟักเขียว ใบฟักเขียว และ รากฟักเขียว

  • ผลฟักเขียว สรรพคุณป้องกันมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง บำรุงระบบประสาท ลดความดันโลหิต แก้เจ็บคอ รักษาหลอดลมอักเสบ บำรุงเลือด ลดไข้ บำรุงปอด  แก้หอบหืด ลดไข้ แก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน แก้บวม แก้อักเสบ
  • เปลือกผลฟักเขียว สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดไข้ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้บวม แก้อักเสบ
  • เมล็ดฟักเขียว สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ ลดความดันโลหิต รักษาวัณโรค บำรุงปอด ลดไข้ แก้ไอ แก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ รักษาลำไส้อักเสบ เป็นยาระบาย ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน แก้อักเสบ
  • ใบฟักเขียว สรรพคุณลดไข้ แก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ แก้ปวดท้อง รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากฟักเขียว สรรพคุณแก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ รักษาโรคหนองใน ถอนพิษ
  • เถาฟักเขียว สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผล

โทษของฟักเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักเขียว มีข้อห้ามในการรับประทานฟักเขียว ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีอาการแน่นหน้าอก ไม่ควรรับประทานฟักเขียว
  • สำหรับคนที่ีมีอาการท้องเสีย ไม่ควรรับประทานฟักเขียว

ฟักเขียว ฟักแฟง พืชท้องถิ่น ผลฟักเขียว นำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นฟักเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว เช่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง โทษของฟักเขียว มีอะไรบ้าง

กระเทียม หัวกระเทียมนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ต้นกระเทียมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้างกระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม เช่น หอมเทียม หอมขาว เทียม เป็นต้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลพลับพลึง

กระเทียมในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจ แหล่งปลูกกระเทียมของประเทศไทย อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมคุณภาพดีที่สุด คือ กระเทียมของศรีสะเกษ กระเทียม สามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากสภาพดินและอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระเทียม

ลักษณะของต้นกระเทียม

ต้นกระเทียม จัดเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • หัวกระเทียม อยู่ใต้ดิน ภายในหัวกระเทียมมีเนื้อสีขาวเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นของกระเทียมออกมาจากหัวกระเทียม ตพต้นกระเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
  • ใบกระเทียม มีลักษณะยาว ซ้อนอยู่รอบๆลำต้นของกระเทียม ใบมีสีเขียวเข้ม ยาว เหมือนต้นหอม แต่มีขนาดใหญ่กว่า

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับกระเทียม นิยมนำหัวของกระเทียมมาทำอาหาร ซึ่งหัวกระเทียมมีกลิ่นฉุน แต่หากผ่านความความร้อนกระเทียมจะมีรสหวานมากขึ้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตานบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

หัวของกระเทียม มีสารกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน แอลลิอิน ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ คูมาริน และ เอส-แอลลิลซีสเตอีน เป็นต้น และ ยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีสารต่างๆมากกว่า 200 ชนิด

กระเทียม สรรพคุณสำคัญ คือ มีสารช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเหงื่อ และ ขับปัสสาวะ

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม เสียเป็นส่วนใหญ่ สรรพคุณของกระเทียม สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสขภาพผิวที่สมบูรณ์ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดน้ำมูก ป้องกันหวัด
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต
    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยในการขับพิษในเม็ดเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย แก้อาการเวียนหัว ลดอาการปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเพศให้สมดุล ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ ช่วยแก้ปัญหาผมบาง
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลม ช่วยยับยั้งเชื้อที่ทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ ปอดบวม วัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ช่วยขับของเสีย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ ช่วยในการขับลม รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  • บรรเทาอาการปวดและอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม มีความปลอดภัยสูง หากกินกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสม แต่ การกินกระเทียมมีผลข้างเคียง ข้อควรคำนึง และ โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมมากเกินไป ทำให้มีกลิ่นปากและกลิ่นตัวแรง
  • การกินกระเทียมสดๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ปาก ทำให้แสบร้อนบริเวณปาก และ กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้
  • หากนำกระเทียมสด มาทาที่ผิวของเด็ก อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวได้ เนื่องจากผิวเด็กอ่อน
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียมฉุนจัด หากสูดดมนานๆ หรือ รับประทานแบบสดๆ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

กระเทียม พืชสวนครัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ ลดความดัน โทษของกระเทียม มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย