แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพร ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณของแก้วมังกร เช่น ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ  Hylocereus undatus  นิยมรับประทานผลแก้วมังกร เป็น ผลไม้ เนื่องจากรสชาติอร่อยไม่หวานมากเกินไป ชุ่มฉ่ำ แก้กระหาย รักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย

แก้วมังกร มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกากลาง เป็นพืชตระกูลกระบองเพชร ปัจจุบัน แก้วมังกร สามารถปลูกได้ทั่วในประเทศไทย แหล่งปลูกแก้วมังกรของประเทศไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม ผลผลิตแก้วมังกรจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

สายพันธ์ของแก้วมังกร

สำหรับสายพันแก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายันีธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ สายพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง รายละเอียด ดังนี้

  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า แก้วมังกรสายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร พืชล้มลุก ตระกูลกระบองเพชร สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้

  • รากแก้วมังกร ลักษณะเป็นรากฝอย รากขนาดเล็ก และ แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นแก้วมังกร คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
  • ดอกแก้วมังกร ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
  • ผลแก้วมังกร ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรจะใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลแก้วมังกร นักโถชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม กลูโคส 5.70 กรัม ฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3.0 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในผลแก้วมังกร พบมีหลายสาร ใน เปลือกของผล และ เนื้อของแก้วมังกร ดังนี้

  • เนื้อผลสุก มี mucilage และ สารกลุ่ม betalains , betanin , isobetanin , phyllocactin , isophyllocactin , hylocerenin และ isohylocerenin
  • เปลือกของผล มี betanin , isobetanin และ phyllocactin

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นจะใช้ประโยชน์จากผลแก้วมังกร สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีความสดใสและชุ่มชื่น
  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • บำรุงกระดูกและฟัน
  • ลดความอ้วน ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

โทษของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคแก้วมังกร  มีดังนี้

  • สรรพคุณของแก้วมังกร ทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย หากกินมากเกินไป อาจทำให้มือเท้าเย็นและท้องเสียง่าย
  • สตรีที่อยู่ในขณะมีประจำเดือน ควรงดการกินแก้วมังกร ความเย็นของแก้วมังกร อาจทำให้เลือดเสียจับตัวเป็นก้อน และ ทำให้ประจำเดือนขัดได้

เก๊กฮวย สมุนไพรเมืองหนาว ดอกเก๊กฮวยมีประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก็กฮวยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับสารพิษ เป็นยาเย็น โทษของเก็กฮวยเก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย ภาษาอังกฤษ เรียก Chrysanthemum ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก็กฮวยขาว คือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๊กฮวยเหลือง คือ Chrysanthemum indicum L. ชื่อเรียกอื่นๆของเก็กฮวย เช่น เบญจมาศ เบญจมาศหนู ดอกขี้ไก่ เป็นต้น คุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวย คือ มีกลิ่นฉุน รสขมและหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ลักษณะของต้นเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย เป็นไม้ล้มลุก ต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเก็กฮวย มีดังนี้

  • ลำต้นเก็กฮวย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม กิ่งก้านมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบเก็กฮวย ใบเดี่ยว แบบเรียงสลับกัน ใบรูปไข่ บริเวณโคนใบและปลายใบแหลม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ดอกเก็กฮวย ดอกออกเป็นช่อกระจุกตัว ดอกออกตามงามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน

โดยทั่วไปเก็กฮวย มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ดอกมีสีขาว เมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอม อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง กลีบดอกมีสีเหลือง รสขมกว่าสายพันธ์ดอกขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเก็กฮวย

สำหรับ ดอกเก๊กฮวย มีสารสำคัญ ประกอบด้วย สารพวกฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอะดีนีน ( Adenine )  สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยจากดอกเก็กฮวย บำรุงหัวใจ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

สรรพคุณของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านสมุนไพร จะใช้ประโยชน์จากดอกเก็กฮวย สามารถนำมาต้มน้ำรับประทาน สรรพคุณของเก็กฮวย มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น
  • ขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  • ต้านเชื้อโรคและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ ช่วยลดไข้ แก้ไอ เป็นยาเย็น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเส้นเลือดตีบ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี แก้ปวดหัว
  • บำรุงสายตา ช่วยแก้ตาบวม แก้ตามัว รักษาอาการตาอักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม
  • รักษาแผล รักษาฝี แผลหนอง
  • บำรุงเส้นผม ช่วยอาการผมร่วง

โทษของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำเก็กฮวย หากเติมน้ำตาลมากเกินไป และ ดื่มน้ำเก้กฮวยที่หวานๆนานๆและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือด และ เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
  • น้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม ( Pyrethrum ) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง หากเกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา หรือ จมูก ให้หยุดการใช้ทันที
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย