ม้ากระทืบโรง สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์และสรรพคุณของม้ากระทืบโรง บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ของม้ากระทืบโรง คือ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. ชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร พญานอนหลับ มาดพรายโรง เดื่อเครือ บ่าบ่วย เป็นต้น

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เลื้อย ทรงไม้พุ่ม มักพบตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นม้ากระทืบโรง มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก มีปุ่มคล้ายหนาม เนื้อไม้เป็นสีขาว  ลำต้นมีน้ำยาง สีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามเถา ลักษณะของใบรูปไข่
  • ดอกม้ากระทืบโรง ดอกออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นช่อ ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกของผลม้ากระทืบโรง มีสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนากการของม้ากระทืบโรง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของม้ากระทืบโรง พบว่าเถาของม้าประทืบโรง มีสารเคมีต่างๆ ประกอบด้วย

  • สารเคมีกลุ่ม eudesmane sesquiterpene  ประกอบด้วย  foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol , 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารเคมีกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารเคมีกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

สำหรับต้นม้ากระทืบโรง มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยใช้ส่วน ทั้งต้น เถา เนื้อไม้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง  แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มความต้องการทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

สารเคมี foveolide A ในลำต้นของม้ากระทืบโรง มีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ม้ากระทืบโรง คือ พืชประเภทไม้เลื้อย สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง สรรพคุณของม้ากระทืบโรค ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

แหล่งอ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
  • “ไม้ดีมีประโยชน์ – “ม้ากระทืบโรง” บำรุงความกำหนัด”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.

ตุ๊กแก Gecko สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง กินแมลงเป็นอาหาร คนจีนนิยมนำตุ๊กแกมาเป็นยาบำรุง สรรพคุณของตุ๊กแก ช่วยบำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาเบาหวาน แก้หอบหืด

ตุ๊กแก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ตุ๊กแก นั้นนิยมบริโภคเฉพาะในคนจีน แต่ปัจจุบันตุ๊กแกจีนมีน้อย แต่ความต้องการ จึงมีการซื้อตุ๊กแกจากประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เป็นจำนวนมากปีละหลายสิบล้านตัว ในรูปแบบตุ๊กแกตากแห้ง ตุ๊กแกถูกใช้เป็นยามาตั้งแต่โบราณ แพทย์แผนจีนใช้เป็นยาแก้โรคหอบ บำรุงปอด บำรุงไต และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ส่วนในตำรายาไทย จะถลกหนังเอาแต่เนื้อทั้งตัว เอาไส้ในออก ตำเกลือ พริกไทย กระเทียม ทาปิ้งให้เด็กกิน ถือว่าเป็นยาบำรุงร่างกายแก้ซางขโมย หรือนำเอาส่วนหางไปบดและใช้กวาดคอเพื่อแก้อาการเจ็บคอ

ลักษณะของตุ๊กแก

ตุ๊กแก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีสีสันหลายหลาย มีลายจุดสีส้มทั่วตัว สามารถปรับสีได้ตามสภาพแวดล้อม ดวงตามีสีเขียว ความยาวของลำตัวประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืน กินแมลงต่างๆ เป็นอาหาร ตุ๊กแกพบได้ในประเทศเขตร้อน ทั่วไป ตุ๊กแกจะอาศัยตามป่าและบริเวณบ้านคน ชอบหลบอยู่ตามที่มืด ออกลูกเป็นไข่ ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ชอบกัดกันเอง  มีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันด้วย ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่หน้าตาน่ารังเกียจ น่ากลัว

ความเชื่อเกี่ยวกับตุ๊กแกในสังคมไทย

ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อยู่ในความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณ เช่น เชื่อว่าตุ๊กแกมักถูกงูเขียวเข้ามากินตับ โดยอ้าปากให้งูเข้าไปกินถึงในท้อง แท้ที่จริงแล้ว งูเขียวเมื่อหาอาหารไม่ได้จะบังคับให้ตุ๊กแกอ้าปากเพื่อเข้าไปกินเศษอาหารที่ติดตามซอกปากของตุ๊กแก นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าเสียงร้องของตุ๊กแกยังเป็นการบอกถึงโชคลางของผู้ที่ได้ยินอีกด้วย ตามเวลาและจำนวนครั้งที่ต่างกัน เช่น 1 ครั้ง เชื่อกันว่า ผู้ได้ยินจะเสียเงินทองโดยไม่เต็มใจ แต่ถ้าได้ยินเสียงตุ๊กแกร้อง 3 ครั้ง เชื่อว่า คนในบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข พบกับความเจริญรุ่งเรือง หรือ ตุ๊กแกร้องตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาจนถึงเที่ยง เชื่อว่า จะได้รับข่าวดี เป็นต้น

ประโยชน์ของตุ๊กแก

ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่กินแมลงเป็นอาหาร เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร ช่วยรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติ ช่วยกำจัดศัตรูพืช เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นตุ๊กแกถูกใช้เป็นยามาตั้งแต่โบราณ แพทย์แผนจีนใช้เป็นยาแก้โรคหอบ บำรุงปอด บำรุงไต และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ส่วนในตำรายาไทย จะถลกหนังเอาแต่เนื้อทั้งตัว เอาไส้ในออก ตำเกลือ พริกไทย กระเทียม ทาปิ้งให้เด็กกิน ถือว่าเป็นยาบำรุงร่างกายแก้ซางขโมย หรือนำเอาส่วนหางไปบดและใช้กวาดคอเพื่อแก้อาการเจ็บคอ

สรรพคุณของตุ๊กแก

สำหรับการนำตุ๊กแกมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย จะนำตุ๊กแกมาตากแห้ง และ นำมาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคตามแผนโบราณ ทัั้งในรูปแบบ ยาดอง นำมาผสมอาหาร เป็นต้น สรรพคุณของตุ๊กแก มีรายละเอียด ดังนี้

  • เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี  ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร
  • ตำรับยาจีน นำตุ๊กมาทำยาเป็นส่วนผสมในยาจีนแผนโบราณ ช่วยบำรุงไต บำรุงปอด รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รักษาโรคเบาหวาน แก้หอบหืด รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันมะเร็ง
  • ประเทศเวียดนาม นำเนื้อตุ๊กแกมาทำอาหาร เช่น การต้ม การย่าง
  • ตำราแพทย์แผนไทย นำเอาตุ๊แกมาผ่าท้อง เอาเครื่องในออก แล้วนำตุ๊กแกไปปิ้งย่าง หรือ ตากแห้ง นำมาดองเหล้า ใช้บำรุงร่างกาย แก้โรคปวดข้อ รักษาโรคตานขโมย และ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดี

ตุ๊กแก ( Gecko ) คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง กินแมลงต่างๆเป็นอาหาร รูปร่างน่ากลัว เป็นสัตว์ที่มีความต้องการสูง นำไปบริโภค นำยาบำรุงร่างกาย คนจีนนิยมนำตุ๊กแกมาเป็นยาบำรุง สรรพคุณของตุ๊กแก ช่วยบำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาเบาหวาน แก้หอบหืด

แหล่งอ้างอิง

  • Lwin, K.; Neang, T.; Phimmachak, S.; Stuart, B.L.; Thaksintham, W.; Wogan, G.; Danaisawat, P.; Iskandar, D.; Yang, J.; Cai, B. (2019). “Gekko gecko”. IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T195309A2378260. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T195309A2378260.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  • “Appendices | CITES”. cites.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  • Gekko gecko ที่คลังข้อมูลสัตว์เลื้อยคลาน Reptarium.cz
  • ตุ๊กแก..น่าขยะแขยง แต่มากสรรพคุณทางยา โดย ไทยรัฐ 22 พ.ค. 50
  • หน้า 142-144 คอลัมน์ Exotic Pets ตอน “ราคาตุ๊กแกสิบล้าน ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม” โดย กองบรรณาธิการ นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับเดือนกรกฎาคม 2011
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย