ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร นิยมนำหัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ มีอะไรบ้าง

กวาวเครือขาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกวาวเครือขาว ( Pueraria mirifica ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว คือ Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกวาวเครือขาว เช่น กวาว กวาวหัว กวาวเครือ เครือขาว จานเครือ ตานเครือ ทองเครือ ทองกวาว จอมทอง ตานจอมทอง โพ้ต้น และ โพะตะกู เป็นต้น ซึ่งชืื่อเรียกของกวาวเครือ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศและการใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะต้นกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือ เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว มีหัวอยู่ใต้ดิน พบมากตามป่าเบญจพรรณ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร พบมากในเขตภูเขาของประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยใช้การเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ลำต้นกวาวเครือขาว ลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงลักษณะยาว ความยาวประมาณ 5 เมตร
  • ใบของกวาวเครือขาว เป็นในประกอบ มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับกันที่ปลายใบ ใบเป็นทรงรีปลายใบแหลม เนื้อใบเรียบ ด้านล่างของในมีขนสั้นๆ
  • ดอกกวาวเครือขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง กลีบดอกลักษณะคล้ายกัน คือ งอนโค้งคล้ายปีกนก
  • ผลกวาวเครือขาว ออกผลเป็นฝัก ลักษณะแบน มีขน ฝักมีสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดกลม เมล็ดแก่จะมีลายสีเขียวปนม่วง หรือ สีน้ำตาลปนม่วง
  • หัวของกวาวเครือขาว ลักษณะเหมือนมันแกว หัวอยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมของอาหารต่างๆ มีสรรพคุณุสูง มีฤทธิ์ทางยามากยิ่งหัวมีอายุมากขนาดก้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักได้มากถึง 20 กิโลกรัม หัวกวาวเครือมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อหัวกวาวเครือสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นมาก มีน้ำมาก

กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์สำหรับบำรุงเพศ ทั้งหญิงและชาย กระตุ้นฮอร์โมนหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระทรวงสาธารณสุขของไทย จัดให้กวาวเครือขาวเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และ ยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์

คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาวมีประโยชน์หลายอย่าง มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกวาวเครือขาวแห้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 308 แคลลอรี่ มีสารอาหารต่างๆประกอบด้วย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน แคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก

ด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหัวกวาวเครือขาว พบว่าในกวาวเครือขาวมีสารเคมีต่างๆ แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

  • สารกลุ่มคูมารินส์ ( Coumarins ) ได้แก่ Coumestrol , Mirificoumestan , Mirificoumestan Glycol และ Mirificoumestan hydrate
  • สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) หัวกวาวเครือขาวมีสารจำพวก lsoflavonoid หลายชนิด เช่น Genistain , Daidzein , Daidzin , Puerarin , Puerein-6-monoacetate , Mirificin , Kwakhurin และ Kwakhurin hydrate
  • สารกลุ่มโครมีน ( Chromene ) ได้แก่ Miroestrol เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน พบในปริมาณ 0.002 – 0.003 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักหัวกวาวเครือขาวแห้ง หรือ 15 มิลลิกรัม ต่อ กวาวเครือขาวแห้ง 1 กิโลกรัม
  • สารกลุ่มสเตียรอยด์ ( steroids ) ได้แก่ B-sitosterol , Stigmasterol , Pueraria และ Mirificasterol

สรรพคุณของกวาวเครือขาว

การนำเอากวาวเครือขาวมาใช้ประโยชน์นั้นจะนิยมใช้ประโยชน์จากหัวกวาวเครือขาวแห้งนำมาบดเป็นผง และนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของกวาวเครือขาว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้เต่งตึง ผิวใสดูเปล่งปลั่ง เนียนนุ่มสวย
  • ช่วยบำรุงกำลัง เป็นอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยบำรุงสตรี ช่วยขยายทรวงอกให้ใหญ่ขึ้น ทำให้นมโต แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย
  • บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ ทำช่วยผมขาวกลับคืนสภาพปกติ รักษาผมร่วง
  • ช่วยลดความมันบนใบหน้า รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ ช่วยสมานริ้วรอยบนใบหน้าจากความหยาบกร้าน
  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารอร่อยขึ้น
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาฟาง ป้องกันต้อกระจก
  • ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มสมรรภภาพทางเพศ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน แก้อาการหมดประจำเดือนในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนที่มีอาการบกพร่องของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยใช้ช่องคลอดไม่แห้ง ช่วยกระชับช่องคลอด
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และ ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • สำหรับคนมีบตรุยาก ทำให้มีลูก

โทษของกวาวเครือขาว

ต้นกวาวเครือขาว มีความเป็นพิษหากรับประทานหรือใช้ประโยชน์ในปริมาณที่มากเกินไป โดยข้อห้ามใช้ประโยชน์จากกวาวเครือขาว ตามตำราแผนโบราณ ประกอบด้วย

  • ห้ามคนวัยหนุ่มสาวกิน รวมถึง หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะ อาจทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ และ ระบบประจำเดือน
  • เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  • สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาว ห้ามกินรวมกับของดองหมักดอง ของเปรี้ยว ของเค็ม และ ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา และ ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทาน
  • กวาวเครือขาวไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  • การรับประทานกราวเครือขาวอาจทำให้ประจำเดือนมากกว่าปกติ แต่การที่ประจำเดือนมามากก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  • การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาดเป็นอันตราย ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน

กวาวเครือขาว คือ สมุนไพรประเภทหนึ่ง พืชล้มลุก นิยมใช้หัวมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง นมโต กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้กระชุ่มกระชวย จัดเป็นยาอายุวัฒนะ ต้นกวาวเครือเป็นอย่างไร โทษของกวาวเครือ สารเคมีในกวาวเครือมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย