กระเจี๊ยบเขียว Lady’s finger รับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus (L.) Moench สำหรับชื่อเรียกอ่อนๆของกระเจี๊ยบเขียว เช่น ถั่วเละ (ภาคอีสาน)  กระต้าด (สมุทรปราการ) มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ ทวาย มะเขือทะวาย  (ภาคกลาง) มะเขือพม่า มะเขือมอญ มะเขือขื่น มะเขือละโว้ มะเขือมื่น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย

สำหรับกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ โดยแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย คือ เขตหนองแขม กทม นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรีราชบุรี จันทบุรี ตราด สระแก้ว และ สมุทรสาคร มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 2000 ไร่ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น มากถึง ร้อยละ 95 ปริมาณการส่งออกในปี 2535 ส่งออกกระเจี๊ยบเขียวสด 2436 ตัน มูลค่ารวม 113 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกรองจากญี่ปุ่น คือ ยุโรป ส่งออกไปยัง เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ มีการส่งออกเป็นกระเจี๊ยบเขียวกระป๋อง ด้วย

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น นิยมรับประทานฝักอ่อน โดยนำมาลวก และ รับประทานเป็นผัก ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน และ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • รากกระเจี๊ยบเขียวมีระบบรากแก้ว และ รากฝอย ลึกลงใต้ดิน 30 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นไม้เนื้ออ่อน ตังตรง สูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย และมีกิ่งสั้นๆ
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นชนิดใบเดี่ยว สีเขียว ใบทรงกลม เป็นแฉกๆ ปลายใบแหลม ใบหยักคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเป็นรูเว้าเหมือนหัวใจ ผิวใบหยาบ และ สากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีม่วง และดอกจะพัฒนาเป็นฝักอ่อนในเวลาต่อมา
  • ฝักและเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตมาจากดอก ลักษณะของฝักยาวเรียว ปลายฝักแหลม มีสีเขียว ภายในฝักมีเมล็ด สีขาว

สายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกัน สายพันธ์กระเจี๊ยบที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 3 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ของไทย เป็นสายพันธ์ที่ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธ์ที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ ลักษณะเด่น ฝักสีเขียวเข้ม ปลายฝักไม่มีงอยยาว สายพันธ์นี้ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมาก
  • กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ผสมจากต่างประเทศ เช่น สายพันธ์เคลมสัน สายพันธ์สปายน์เลส ลักษณะเด่น คือ ฝักกลมป้อม ใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว มีการนำฝักอ่อน และ เมล็ดของกระเจี๊ยบเขียวมาศึกษา โดยผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.215 มิลลิกรัม
วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม แร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแห้งกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 21.18% ไขมัน 33.53% โปรตีน 25.28% โพแทสเซียม 328.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 152.42 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 323.67 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเจีี๊ยบเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เมล็ด และ ผล สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรคุณช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลพุพอง รักษาโรคซิฟิริส ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้พอกแผลรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกระเจี๊ยเขียว นำมาตากแห้งบดผสมนม ใช้รักษาอาการคัน
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาไข้หวัด ป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยล้างสารพิษตกค้างในลำไส้ เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด รักษาโรคหนองใน ช่วยบำรุงตับ รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดอาการอักเสบปวดบวม ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

ในเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่

 

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) พืชมหัศจรรย์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น บำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

มะลิ สุมนไพร พืชท้องถิ่น ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นำดอกมาร้อยมาลัย ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะลิ ( jasmine) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum sambac (L.) Aiton สำหรับมะลิมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หม้อลี่ฮวา มะลิหลวง มะลิขี้ไก่  มะลิป้อม มะลิมะลิลา มะลิซ้อน เตียมูน บักหลี่ฮวย ข้าวแตก เซียวหน่ำเคี้ยง เป็นต้น

มะลิในประเทศไทย

ดอกมะลิ ในสังคมไทย เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาร้อยมาลัย ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ อยู่คู่สังคมมาช้านาน ความหอมของดอกมะลินำมาแต่งกลิ่นอาหาร ร้อยมาลัยสำหรับบุชาพระ ไหว้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ต้นมะลิ ยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดของต้นมะลิอยู่ในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตอนกิ่งและการปักชำ ชอบดินร่วนซุย แสงแดดจัด ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลักษณะลำต้นกลม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ดอกมะลิ ลักษณะดอกออกเป็นกระจุก ในหนึ่งกระจุกมีหลายดอก มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • ใบมะลิ ใบสีเขียว ลักษณะเหมือนขนนก รูปไข่รี ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน เป็นใบประกอบ ออกเรียกสลับกันตามกิ่งก้าน

สรรพคุณของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ สรรพคุณของมะลิ มีดังนี้

  • ดอกมะลิ สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • รากมะลิ สรรพคุณช่วยขับลม ขับประจำเดือน  แก้ร้อนใน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลฟกชำ ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง

โทษของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากมะลิ ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือ ใส่ในอาหาร หรือ ขนม เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์
  • รากของมะลิ มีความเป็นพิษ หากกินรากมะลิ อาจทำให้สลบได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย